14 มี.ค.2567 - พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ รักษาราชการแทน อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษและคณะ เดินทางลงพื้นที่จังหวัดภูเก็ตตรวจสอบข้อเท็จจริงและบูรณาการทำงานกับหน่วยงานในพื้นที่กรณีการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวพุทธศักราช 2542 และกรณีการบุกรุกที่สาธารณะตรวจสอบการออกเอกสารสิทธิ์ในที่ดินโดยมิชอบพื้นที่แหลมยามู ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
พ.ต.ต.ตรียุทธนา แพรดำ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เป็นประธานการประชุมร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ กรณีมีการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวพุทธศักราช 2542 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย คณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ กองคดีความมั่นคง กรมสอบสวนคดีพิเศษ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมการท่องเที่ยว กองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยวและสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง โดยมี พลเรือตรี ทินกร กาญจนเตมีย์ รองผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดภูเก็ต เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดภูเก็ต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
พ.ต.ต.ยุทธนา กล่าวภายหลังการประชุมฯ ว่า "กรมสอบสวนคดีพิเศษได้ร่วมบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมการท่องเที่ยว ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองและตำรวจท่องเที่ยว เพื่อปฏิบัติการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว โดยประชุมร่วมกันดำเนินการตามแผนวงรอบปกติ และ ในช่วงบ่ายวันนี้ มีการตรวจพื้นที่และตรวจธุรกิจในพื้นที่จำนวน 9 แห่ง แบ่งเป็น 2 สาย นอกจากความผิดตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจของคนต่างด้าวแล้ว ยังมีกฎหมายเรื่องท่องเที่ยวและมัคคุเทศก์ด้วย
การตรวจสอบตามเอกสารที่มีการแสดงเอกสารถูกต้องในสัดส่วนการถือหุ้นของชาวต่างชาติ ไม่เกิน 49% คนไทย 51% แต่ในส่วนของคนไทยที่ถือหุ้นต้องไปพิสูจน์ว่ามีการถือหุ้นแทนหรือนอมินีหรือไม่ ต้องตรวจสอบเอกสารการเงินการครอบงำกิจการและหลายส่วนประกอบกัน เพื่อชี้ชัดว่าธุรกิจนี้เป็นคนต่างด้าวประกอบธุรกิจหรือไม่โดยใช้คนไทยเป็นนอมินีซึ่งเป็นธุรกิจที่หวงห้ามไว้สำหรับคนไทย ซึ่งปัจจุบันชาวต่างชาติเข้ามาประกอบธุรกิจมากมายทำให้มูลค่าสินค้าบริการมีมูลค่าสูงขึ้น อาจเกิดผลกระทบกับคนไทยได้ เป็นหน้าที่ของ DSI ตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ
ใน 9 เป้าหมาย วันนี้ เป็นการประกอบธุรกิจนำเที่ยว ส่วนหนึ่งและอีกส่วนหนึ่งใช้กฎหมาย การประกอบธุรกิจคนต่างด้าว กรมพัฒนาธุรกิจ เป็นเจ้าหน้าที่ควบคู่ธุรกิจนำเที่ยว เป้าหมายหลักคือดูในเรื่องการดำเนินการ ที่ได้รับอนุญาตธุรกิจนำเที่ยวถูกต้องหรือไม่ เป็นไปตามเงื่อนไขที่ได้รับอนุญาตหรือไม่ ธุรกิจนั้นมีข้อเท็จจริงอื่นที่เป็นลักษณะนอมินี หรือไม่แต่เป็นเพียงกายภาพเพราะในเชิงลึกต่อไปต้องมีการขยายผล แต่ไม่ใช่ว่าทั้ง 9 เป้านี้กระทำความผิด ซึ่งการประกอบธุรกิจต่างด้าวมีกฎหมายระบุไว้ในบัญชี 3 บัญชีทำงานร่วมกันภายใต้ MOU พอดีภูเก็ตเป็นประเด็น และอยู่ในแผนที่ต้องลงตรวจพอดี ธุรกิจทุกประเภทถ้าเข้าลักษณะต้องห้ามตาม 3 บัญชีท้าย ต้องถูกดำเนินการทั้งหมด
ในจำนวน9เป้าหมายของการตรวจสอบรวมธุรกิจปางช้างGreen Elephant Sanctuary Park และมูลนิธิของนายเดวิด คือ มูลนิธิ Green Elephant Wildlife ต้องเป็นไปโดยไม่แสวงหากำไรตามหลักเกณฑ์ โดย ตรวจสอบการประกอบกิจการธุรกิจปางช้าง ทำอะไรมีหน่วยงานรับผิดชอบกฎหมายในส่วนนี้เข้าไปตรวจสอบด้วย คือ กรมการท่องเที่ยว ตำรวจท่องเที่ยว กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ถือกฎหมายแต่ละส่วนราชการ เข้าร่วมตรวจสอบ
ซึ่งวันนี้ไปดูเบื้องต้นและขอเอกสารบางส่วน และจะตรวจเชิงลึกในเรื่องอื่นๆว่ามีการหลีกเลี่ยงอย่างไร จะต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ก่อนหน้านี้DSI ดำเนินการตรวจสอบนอมินีแล้ว ในจังหวัดภูเก็ตในเรื่องทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป ยังคงทำอยู่ยังมีเส้นแบ่งอยู่ถ้าหากไม่ถึงก็มีอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนท้องที่แต่สิ่งใดที่เข้าเกณฑ์มีการสืบสวนสอบสวนอยู่
จากข้อมูลของผู้อำนวยการกองคดีความมั่นคง ระบุว่า การตรวจปูพรมครั้งนี้ รวม 9 เป้าหมาย ตรวจสอบจากข้อมูลเอกสารทางกายภาพก่อน ซึ่งนายทะเบียนธุรกิจท่องเที่ยวฯ เป็นคนพิจารณาร่วมกัน เพียงแต่ในเชิงลึกว่าจะเข้าลักษณะที่เป็นความผิดประกอบธุรกิจต่างด้าวหรือไม่อย่างไรต้องดูในเชิงลึกของเส้นทางการเงินกับเรื่องอำนาจบริหารจัดการ ซึ่งมีข้อสงสัยอย่างไรในเรื่องโครงสร้างการถือหุ้นที่มีการถือหุ้นที่เป็น holding ขณะเดียวกัน หลังจากนี้ข้อมูลทางการเงิน การบริหารจัดการ ถ้าเป็นลักษณะที่คนต่างด้าวหรือบริษัทต่างด้าวมีอำนาจในการบริหารจัดการ จะเข้าลักษณะที่เป็นนอมินีหรือการประกอบธุรกิจต่างด้าว เราจะดำเนินการต่อ โดยจะมีการขยายผลสืบสวนสอบสวน ซึ่งในวันนี้ยังไม่ลงรายละเอียด
นอกจากนี้ วันนี้(14 มี.ค.) อีกส่วนหนึ่งจะไปดูที่หาดยามู ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งมีผู้ร้องขอให้ตรวจสอบ การออกเอกสารสิทธิ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และแปลงที่ดินที่วิลล่าหรู อยู่ในเขตพื้นที่หวงห้ามของทางราชการหรือไม่ จากการดูแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ มีประเด็นที่ตั้งข้อสงสัยข้อสังเกตไว้ว่า ในพื้นที่ก่อนที่จะขอออกนส. 3 ก.นั้นมีการทำประโยชน์หรือไม่ เจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบพบการผิดปกติในเรื่องการทำประโยชน์ ในแปลงดังกล่าว มีการใช้สค. 1 มาออก นส. 3 ก เมื่อปี 2517 และเมื่อปี 2548 นำมาออกนส. 3 ก
แต่ทั้งนี้ การนำสค.1ในช่วงปี 2517 ต้องตรวจสอบว่ามีการทำประโยชน์หรือไม่ สิ่งที่ต้องพิสูจน์ยืนยันคือแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ โดยให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้อ่านแปรภาพถ่ายทางอากาศ แต่เท่าที่ดูด้วยตาเปล่าด้วยตนเอง เห็นว่าเป็นป่าสมบูรณ์ ยังไม่เห็นร่องรอยการทำประโยชน์ จึงตั้งข้อสังเกตไว้ นอกจากดูการยืนยันของผู้เชี่ยวชาญแล้ว ต้องสอบพื้นที่ข้างเคียงโดยรอบ ถึงความเป็นมาบริเวณนั้นเป็นอย่างไร ในเบื้องต้นขอดูทั้งหาดยามูก่อนในที่ดิน 106 ไร่และตรวจสอบพื้นที่บริเวณข้างเคียงด้วย"
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ออกหมายจับแล้ว! DSI บุกรวบตัวแม่ ไร้เงา 'สามารถ'
ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เจ้าหน้าที่ได้คุมตัวมารดาของนายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช หลังออกหมายจับ
ตั้งกก.สอบผกก.บางซื่อ ทนายปาเกียวเล็งทิ้งตั้ม
“ดีเอสไอ” เตรียมสรุปสำนวนคดี 18 บอสดิไอคอนเสนออัยการคดีพิเศษภายใน 20 ธ.ค.นี้
DSI จ่อสรุปสำนวนคดี '18 บอสดิไอคอน' เสนออัยการคดีพิเศษ
พ.ต.ต.วรณัน ศรีล้ำ ผอ.กองคดีธุรกิจการเงินนอกระบบ และในฐานะโฆษกกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เปิดเผยความคืบหน้าคดี 18 บอสดิไอคอน ว่า การประชุมเมื่อวันศุกร์ที่ 22 พ.ย.ที่ผ่านมา ของคณะ
‘18บอส’นอนตะรางยาว! สายไหมไม่รอดเจอข้อหา
18 บอสดิไอคอนนอนคุกยาว ดีเอสไอยื่นฝากขังผัด 4 พ่วงแจ้งข้อหาใหม่โทษหนักคุก 10 ปี
ข่าวดี ผู้เสียหายคดีดิไอคอนกรุ๊ป 'ปปง.' เปิดให้ยื่นขอคุ้มครองสิทธิรับคืนหรือชดใช้คืนทรัพย์สิน
ตามที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)ได้นำส่งมอบทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการสืบสวนและสอบสวนคดีพิเศษที่ 119/2567 กรณี บริษัท
โฆษกดีเอสไอ โต้ทนายบอสพอล อุปสรรคคดีอยู่ที่ฝ่ายผู้ต้องหาเอง ไม่ใช่ DSI
ร.ต.อ.สุรวุฒิ รังไสย์ ผอ.กองคดีความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ หรือกองคดีฮั้วประมูล ในและฐานะโฆษกดีเอสไอ พร้อมด้วยคณะพนักงานสอบสวนคดี