ป่าไม้ลุยทวงคืนสมบัติชาติ นายทุนบุกรุกปิดกั้นหาดนุ้ยภูเก็ต สั่งรื้อถอนใน 30 วัน

12 มี.ค.2567 - นายบรรณรักษ์ เสริมทอง รองอธิบดีกรมป่าไม้ ร่วมกับ พ.ต.อ.ธีรวัฒน์ เลี่ยมสุวรรณ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต นำกำลังตำรวจสภ.กะรน ,ตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต ,ตำรวจภูธรภาค 8 ฝ่ายปกครองจังหวัดภูเก็ต และกำลังเจ้าหน้าที่ป่าไม้ประจำหน่วยป้องกันรักษาป่าที่ภูเก็ต 2 รวมกว่า 100นาย พร้อมหมายศาลจังหวัดภูเก็ต เลขที่ 88/2567 ทำการตรวจค้นพื้นที่หาดนุ้ย ซอยแหลมมุมนอก หมู่ที่ 2 ตำบล กะรน อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต

เมื่อเดินทางถึงจุดเกิดเหตุมีป้ายประกาศไว้ด้านหน้าทางลงหาดนุ้ย เขียนข้อความว่า ที่ดินแปลงนี้เป็นที่ดินของ นายสิงหา เพ็งแก้ว จำนวนเนื้อที่ 18 ไร่ 2 งาน 78 ตารางวา โดยชอบด้วยกฎหมายห้ามบุคคลภายนอกเข้ายุ่งเกี่ยวรบกวนการครอบครองเด็ดขาดผู้ใดฝ่าฝืนจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

จากนั้น พ.ต.ท.วิวัฒน์ ชำนาญกิจ รองผกก.ป.สภ.กะรน ได้นำหมายศาลจังหวัดภูเก็ตเข้าชี้แจงกับ นายธนากร เสียมหาญ ทนายความ ที่อ้างว่าเป็นผู้รับมอบอำนาจในคดีพื้นที่ตรงนี้ เป็นผู้อนุญาตให้ตรวจค้น ซึ่งยินดีให้ความร่วมมือเจ้าหน้าที่และมีหลักฐานในการครอบครองที่ดิน มีเรื่องเดิมที่มีการต่อสู้คดีอยู่ในชั้นศาล

นายบรรณรักษ์ เสริมทอง รองอธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวว่า พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มอบหมายให้ กรมป่าไม้ โดย อธิบดีกรมป่าไม้ ให้ ลงตรวจสอบการบุกรุกพื้นที่สาธารณะโดยเฉพาะในเขตป่าสงวนแห่งชาติและตามพรบ.ป่าไม้ ทั่วประเทศ

"วันนี้(12 มี.ค.) ลงพื้นที่หาดนุ้ย ตำบลกะรน อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ตรวจสอบว่ามีการก่อสร้างบุกรุกเปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างไร ทำบัญชีตรวจยึดว่ามีสิ่งก่อสร้างอะไรบ้างจำนวนเท่าไร นำไปเป็นบัญชีของกลางเพื่อประกอบการดำเนินคดีที่ได้แจ้งความลงบันทึกประจำวันไว้แล้วที่สภ.กะรน ดำเนินคดีอาญาแก่ผู้ยึดถือครอบครองป่าสงวนแห่งชาติป่าเทือกเขานาคเกิด

พื้นที่ตรงนี้ เป็นคดีเดิมที่ได้ยึดจับกุมไว้ตั้งแต่ปี 61 และปี 62 แล้ว มีการรื้อถอนตามมาตรา 25 ของพรบ. ป่าสงวนแห่งชาติ 2507 ในปี 63 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต่อมายังมีผู้เข้ามาบุกรุกใหม่ในที่เดิม ทราบว่าเป็นกลุ่มบุคคลเดิม โดยเข้าไปดำเนินการตรวจสอบพื้นที่ว่ามีการบุกรุกก่อสร้างหรือเปลี่ยนแปลงป่าสงวนแห่งชาติจากเดิมอย่างไรมีจำนวนเท่าไรมีสิ่งก่อสร้างอะไรบ้าง จากนั้นจะแจ้งความเพิ่มเติมต่อพนักงานสอบสวนสภ.กะรน

เนื่องจากได้แจ้งความไว้แล้วตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2567 เรื่องพื้นที่ต่างๆที่ถูกบุกรุกตามคดีเดิม และจะใช้ดำเนินการตามมาตรา 25 ของ พรบ.ป่าสงวนแห่งชาติ 2507 ในการรื้อถอนโดยทำหนังสือให้ผู้ครอบครองทำการรื้อถอนเองก่อน หากผู้ครอบครองไม่ยอมรื้อถอนเองเจ้าหน้าที่จะดำเนินการรื้อถอน โดยคิดค่าใช้จ่ายต่างๆ แก่ผู้ที่ครอบครองในพื้นที่นั้นตามมาตรา 25 ดำเนินการตามกระบวนการทางปกครองทุกอย่าง

โดย พื้นที่ทั้งหมดมี 2 แปลงตั้งแต่ 61 จับกุมไปกว่า 8 ไร่ แปลงที่ 2 ปี 62 กว่า 5 ไร่ และมีพื้นที่สปกรวมอยู่ด้วยประมาณ 1 ไร่ พิสูจน์ชัดแล้วว่าสปก.ไม่ได้เป็นเจ้าของ รวมทั้งหมด ประมาณ 18ไร่ ในพื้นที่ดังกล่าวทั้ง 2 แปลง มีการล้อมรั้วแสดงความเป็นเจ้าของ ปิดกั้นไม่ให้คนเข้า และมีการเก็บเงินค่าผ่านทางเข้าไป เพื่อเดินลงสู่หาดนุ้ย

จากการที่คำพิพากษาของศาลฎีกาในอดีตเพิกถอน เอกสารสิทธิ์นส.3 ในพื้นที่ดังกล่าว ออกไปให้กลับมาเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าเทือกเขานาคเกิด ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 621 ในปี 2566 ซึ่งการสำรวจของการครอบครอง หลังประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ ฉะนั้นไม่มีข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายที่ดินตามมาตรา 4 และมาตรา 6 คือ ผู้ใดครอบครองที่ดินมาก่อนประกาศประมวลกฎหมายที่ดินมีผลบังคับใช้ สามารถใช้เป็นสิทธิ์ครอบครองรวมทั้งการถ่ายโอน หมายความว่าครอบครองก่อนปี 2497 ถือว่ายังมีสิทธิ์ครอบครองต่อไป ตามประมวลกฎหมายที่ดินยกเว้นไว้ให้

แต่รายนี้ มีครอบครองครั้งแรกปี 2501 ฉะนั้นหลังประมวลกฎหมายที่ดินบังคับใช้ ถือว่าเป็นป่า ทุกคนรู้อยู่แล้วว่าพื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่ของรัฐในป่าสงวนแห่งชาติ มีการ นำสค. 1 บิน มาจากที่อื่นแล้วมาสวมตรงนี้พิสูจน์แล้วว่าสค.1 นั้นไม่ใช่บริเวณนี้ ดังนั้น พื้นที่นี้จึงกลับคืนสู่สถานะป่าสงวนแห่งชาติตามเดิม

ซึ่งทราบว่าเป็นกลุ่มบุคคลเดิม ที่แสดงตัวครอบครองและทำประโยชน์ในพื้นที่ จะมีกรอบตามกฎหมายออกประกาศให้ทำการรื้อถอนภายใน 30 วันหรือ 45 วันถ้าครบกำหนดไม่ดำเนินการจะดำเนินการเองกำหนดกรอบเวลาไว้ตามกฎหมาย

จากการตรวจสอบ พบว่า พื้นที่ดังกล่าว มีการบุกรุกชายหาด โดย ชายหาดจะต้องใช้ประโยชน์ร่วมกันไม่สามารถปิดกั้นให้ใครเข้าลง ซึ่งสภาพภูมิประเทศสวยงาม เดินทางเข้ามาลำบากมากถ้าไม่ใช่รถโฟวิลเข้ายาก ถ้าเป็นอดีตเข้ามาทางเรือ มาจอดถ่ายรูปเล่นน้ำและออกไป แต่ถ้ามาทางบกเข้ามาลำบากมาก ดูสภาพพื้นที่ตรงนี้

คือมองเห็นแล้วชัดเจนว่า เหมาะสำหรับเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เป็นพื้นที่ป่าเขาเป็นพื้นที่ชายหาดมีสภาพภูมิประเทศสวยงามเป็นอ่าวส่วนตัวเอาเล็กๆมีโขดหินมีหาดทรายพอสมควร เป็นชายหาดที่สงบธรรมชาติ ควรให้ประชาชนส่วนรวม ใช้ประโยชน์ภายใต้การควบคุม ให้มีการสมดุลและยั่งยืนให้ใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ โดยไม่สามารถเป็นส่วนบุคคลได้ ซึ่งข้างบนมีการก่อสร้าง เป็นบ้านพัก ร้านจำหน่ายอาหารจุดชมวิวต่างๆมีการบริการเซิร์ฟบริการดำน้ำบริการท่องเที่ยวซึ่งไม่สามารถทำได้ตามพรบ.ป่าสงวนแห่งชาติ เนื่องจากสถานะพื้นที่เป็นป่าสงวนแห่งชาติป่าเทือกเขานาคเกิด เป็นกฎหมาย ที่ทุกคนรู้ว่าการบุกรุกไม่ถูกต้อง เป็นหน้าที่ของกรมป่าไม้ต้องเข้ามาดูแล

ส่วนทนายความ ให้ความร่วมมือดีเพียงแต่ถามว่าเราได้รับคำสั่งการจากใคร หรือจากกระแสข่าวเราได้บอกว่าเราดำเนินการมาตลอดตั้งแต่ปลายปี 66 แต่ถูกปิดกั้นไม่ให้เข้ามีการวางแผนการเข้ามาในพื้นที่วันนี้ ทำต่อเนื่องมาตั้งแต่จากการที่รู้แล้วว่าปี 66 มีการบุกรุกการก่อสร้างในพื้นที่เดิมจึงวางแผนปฏิบัติการในวันนี้ดำเนินการตามขั้นตอนไม่ใช่ตามกระแสข่าว แต่เมื่อกระแสข่าวออกมาแล้ว ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้สั่งการมาที่ปลัดกระทรวงฯ และถึงอธิบดีกรมป่าไม้ ให้ลงมาตรวจสอบประสานภูธรภาค 8 และฝ่ายพลเรือน ทุกฝ่ายมาใช้ขั้นตอนตามกฎหมายขอหมายค้นมาเรียบร้อย ทำถูกต้องตามกฎหมายทางผู้ยึดถือครอบครองให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ตรวจสอบ พบว่า มีการก่อสร้างเพิ่มเติมขึ้นมา กว่า 50 รายการ เจ้าหน้าที่ทำการตรวจวัด แต่ละหลังพิกัดกว้างยาว ถ่ายรูปสิ่งก่อสร้างนำไปประกอบดำเนินคดีตามพรบ.ป่าสงวนแห่งชาติ ตามที่แจ้งความไว้ แล้วจะใช้วิธีการ ทางการปกครองออกคำสั่งให้ ผู้ครอบครองดำเนินการรื้อถอนสิ่งก่อสร้างที่บุกรุกป่าสงวนทั้งหมดด้วยตนเองภายในกำหนดเวลาถ้าไม่ดำเนินการเจ้าหน้าที่จะทำการรื้อถอนเองโดยคิดค่าใช้จ่าย จากผู้ครอบครอง เป็นกระบวนการตามกฎหมายที่จะดำเนินการ

นอกจากนี้ กรมป่าไม้อยู่ระหว่างดำเนินการ โครงการพื้นที่ป่านันทนาการเช่นหาด Freedom อยู่ระหว่างการทำประชาพิจารณ์ให้ประชาชนใกล้เคียงได้รับรู้เห็นชอบกับการทำโครงการป่านันทนาการเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ ถ้าตกเป็นส่วนบุคคลจะลงชายหาดไม่ได้ ดังนั้น กรมป่าไม้พยายามจะปรับปรุงรูปแบบการทำงาน ให้ยึดคืนพื้นที่มาได้อย่างถาวรต่อไป"

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แต่งชุด 'เคบายา' ทั้งเมืองภูเก็ต ฉลองยูเนสโกขึ้นมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ร่วมกับจังหวัดภูเก็ตจัดงานเฉลิมฉลองการได้รับประกาศ ต้มยำกุ้ง และ ชุดแต่งกาย เคบายา เป็นรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประเภทบัญชี รายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ

'ทนายอนันต์ชัย' ไล่บี้คนด่า-กล่าวหาพระ ว.วชิรเมธี ออกมาขอโทษ อย่าเงียบเป็นเป่าสาก

นายอนันต์ชัย ไชยเดช ทนายความ มูลนิธิทนายกองทัพธรรม โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กว่า วันนี้ กรมป่าไม้ ชี้แจงแล้ว ท่าน ว.วชิรเมธี ไม่บุกรุกป่าไม้

เคลียร์ชัด! 'กรมป่าไม้' ตรวจสอบแล้ว 'ไร่เชิญตะวัน' พระ ว.วชิรเมธี ไม่บุกรุกป่า

นายบรรณรักษ์ เสริมทอง รองอธิบดีกรมป่าไม้ ในฐานะโฆษกกรมป่าไม้ กล่าวว่า จากกรณีที่สาธารณชนและสื่อมวลชนให้ความสนใจและติดตามข่าวการอนุญาตใช้ประโยชน์และอยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยปุย

ประเพณีถือศีลกินผักภูเก็ต อัตลักษณ์แห่งศรัทธาสืบทอดมา 199 ปี

จังหวัดภูเก็ต พร้อมหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน คณะกรรมการอ๊าม (ศาลเจ้า) และองค์กรต่าง ๆ พร้อมใจกันจัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในงานประเพณีถือศีลกินผักจังหวัดภูเก็ต ประจำปี 2567  โดยมี นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล

โค่นสวนยางพาราทิ้ง 407 ไร่ ในเขตป่าสงวนฯ ตรวจพบตั้งแต่ปี 58 แต่ไม่มีผู้ต้องหา

นายวิทยา ณวิพันธ์ ผอ.สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 4 สาขาพิษณุโลก สั่งการให้ นายธวัชชัย ปุริเกษม ผอ.ส่วนป้องรักษาป่าและควบคุมไฟป่าและนายธีรพล กาญจนโกมล เจ้าพนักงานป่าไม้ชำนาญงาน ทำหน้าที่หัวหน้าชุดปฏิบัติการร่วมกับหัวหน้าหน่วยป้องกันรักษาป่า

ทร. ส่งเรือ ต.111 ช่วยชีวิตนักท่องเที่ยว 143 คน กลับเข้าฝั่งหลังติดเกาะเหตุคลื่นลมแรง

พลเรือตรีภุชงค์ รอดนิกร รองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 พร้อมด้วย นายหลี่ เฉิงหลง (Li Chenglong) หัวหน้าสำนักงานกงสุลจีนประจำจังหวัดภูเก็ตของสถานกงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำสงขลา ให้การต้อนรับ เรือต.111