นักวิชาการแนะแก้ 'แม่น้ำสาย' ขุ่นขาว หวั่นเปื้อนสารพิษ ติดตั้งจุดตรวจร่วมไทย-เมียนมา

กรณีประปาแม่สาย จังหวัดเชียงราย ที่มีปัญหาขุ่นขาวและมีความกังวลว่าจะสารพิษหรือโลหะหนักเจือปน อยู่ระหว่างการตรวจสอบของการประปาส่วนภูมิภาค นักวิชาการแนะนำแก้ไขปัญหาระยะยาวร่วมกันในการติดตั้งจุดตรวจวัดร่วมกันของสองประเทศ เพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน

6 กุมภาพันธ์ 2567 - ดร.ธนพล พิมาน หัวหน้าฝ่ายการบริหารการจัดการน้ำ/นักวิจัยอาวุโสสถาบันสิ่งแวดล้อมสตอกโฮล์ม(SEI) กล่าว การแก้ไขปัญหาระยะยาวของประปาของอำเภอแม่สายควรเป็นความร่วมมือของ 2 ประเทศที่ควรจะมีการติดตั้งจุดตรวจวัดคุณภาพน้ำร่วมกัน เนื่องจากแม่น้ำสายมีต้นทางมาจากประเทศเมียนมาผ่านมายังชายแดนไทย-เมียนมา ก่อนที่จะไหลลงแม่น้ำโขง สถานีสูบน้ำประปาภูมิภาคแม่สาย อยู่เหนือเมืองท่าขี้เหล็กโดยปกติมีปัญหาทั้งเรื่องน้ำแห้งในหน้าแล้ง ต้องการมีการทำฝายเพื่อที่ประปาจะสูบน้ำได้ และการมีตะกอนทรายในหน้าฝน ฤดูน้ำหลาก อย่างไรก็ตามเท่าที่เคยลงพื้นที่ศึกษาเก็บข้อมูล แหล่งน้ำประปาจากน้ำสาย การปนเปื้อน และน้ำเสียจะมีที่มาจากโรงแรม ชุมชน ซึ่งปัจจุบันมีการขยายตัวของชุมชนและที่พักร้านอาหาร สถานบันเทิง และอีกแหล่งหนึ่งคือพื้นที่เกษตรที่มีการใช้สารเคมีแบบเข้มข้นที่ต้องทำระบบบำบัดน้ำเสีย

ดร.ธนพลกล่าวว่า ส่วนเรื่องสารเคมี และโลหะหนักจากเหมืองแร่นั้น เท่าที่เคยลงพื้นที่ยังไม่มีข้อมูลเชิงลึกในเรื่องแหล่งที่มาว่าจะเป็นจุดไหนตรงไหน เพราะฉะนั้นคำแนะนำ มี 2 แนวประกอบกัน คือ แก้ในประเทศ และการแก้ร่วมกัน ซึ่งการแก้ในประเทศโดยการหาข้อมูลจากระบบในประเทศที่ทำได้ทันคือการเช็คน้ำดิบน้ำธรรมชาติก่อนเข้าสู่การผลิตของประปาภูมิภาค และน้ำหลังการกรองจากโรงบำบัดการกรอง ว่าแตกต่างกันอย่างไรบ้าง และการตรวจวัดในแต่ละจุดที่น้ำออกมาที่ประชาชนนำมาใช้ในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้เห็นว่าระบบประปามีข้อผิดพลาด ท่อรั่วและเสียหาย มีสิ่งปนเปื้อนตรงไหนหรือไม่ ส่วนการแก้ร่วมกันของ 2 ประเทศ คือ การพูดคุยกันผ่านเวที TBC ไทย-เมียนมา

“หากเหตุที่เกิดเกินกว่าอำนาจรัฐบาลท้องถิ่น และหน่วยงานท้องถิ่น ก็ต้องนำเสนอต่อกระทรวงต่างประเทศ และรัฐบาลส่วนกลาง ซึ่งต้องมีการบันทึกสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปสู่การเจรจาในการแก้ปัญหา ทั้งแบบทวิภาคี หรือเวทีร่วม เช่น เวทีความร่วมมือ อิรวดี เจ้าพระยา แม่น้ำโขง ในการทำข้อตกลงร่วมกัน”นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมกล่าว

ดร.ธนพลกล่าวว่า แนวทางการดำเนินการที่เกินอำนาจท้องถิ่น สามารถผลักดันได้ 2 แนวทาง ในการแก้ไขอย่างยั่งยืน แนวทางแรก คือ การเสนอผ่านหน่วยงานปกครองท้องที่ ผ่านตำบล อำเภอ จังหวัด ไปยังส่วนกลาง และอีกแนวทางหนึ่ง คือ การนำเสนอปกครองท้องถิ่น ที่เสนอไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และหากเกี่ยวกับแม่น้ำระหว่างประเทศ ก็เสนอไปยัง สทนช.(สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ)ได้ ที่สุดท้ายทั้ง 2 แนวทาง จะมีปลายทางที่สำนักนายกรัฐมนตรี เพราะการที่จะแก้ปัญหาระยะยาวได้คือการทำจุดติดตั้งการตรวจสอบคุณภาพน้ำ แต่ละจุด จะทำให้รู้ว่า การปนเปื้อนมาจากแหล่งใดได้ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อประชาชนทั้งสองฝั่งแม่น้ำสาย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชาวบ้าน ผู้นำท้องถิ่น 3 อำเภอริมโขงเชียงราย แสดงพลังค้านเขื่อนปากแบง

ที่โฮงเฮียนแม่น้ำของ อ.เชียงของ จ.เชียงราย ชาวบ้าน ตัวแทนชุมชน ผู้นำสตรี และผู้นำท้องถิ่น อาทิ ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน นายกเทศมนตรี ตัวแทนองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)

เปิดโปรแกรมทัวร์ 'ครม.สัญจรอิ๊งค์' นัดแรกที่เมืองเหนือ

เปิดโปรแกรม 'ครม.สัญจรอิ๊งค์' นัดแรก จัดที่แม่ริม เชียงใหม่ 29 พ.ย. ก่อนถก 'คลังสัญจร' เชียงราย ฟื้นฟูพื้นที่เศรษฐกิจ พร้อมพบประชาชน

'ครูแดง' ชี้มติ ครม. ลดขั้นตอนให้สัญชาติ 4.8 แสนคน ปฏิรูประบบสถานะบุคคลครั้งสำคัญ

"ครูแดง" ชี้มติ ครม.ลดขั้นตอนให้สัญชาติ 4.8 แสนคน ถือว่าปฎิรูประบบพัฒนาสถานะบุคคล จี้ "สมช.-มท." ออกกฎหมายเร่งช่วยคนเฒ่าไร้สัญชาตินับแสนคนที่กำลังเปราะบาง

วางคิว ‘นายกฯอิ๊งค์’ ลงพื้นที่แม่สายเดือนพ.ย. ก่อนประชุม ครม.สัญจรครั้งแรก จ.เชียงใหม่

ในเดือนหน้า นายกฯมีกำหนดลงพื้นที่ตรวจราชการที่ จ.เชียงราย และเป็นประธานประชุม ครม.สัญจร ที่จ.เชียงใหม่ ซึ่งถือเป็นการประชุม ครม.สัญจรนัดแรกของรัฐบาลชุดนี้

‘ภูมิธรรม’ เตรียมส่งคืนพื้นที่แม่สาย 28 ต.ค. ขอ ‘อปท’ รับช่วงฟื้นฟูระยะต่อไป

นายกฯ ขอบคุณศปช.ส่วนหน้า สำเร็จตามเป้าหมาย พรุ่งนี้ มอบ ‘ภูมิธรรม’ ส่งคืนพื้นที่พร้อมขอ อปท.ฟื้นฟูระยะต่อไป