ชาวบ้านโวยโดนกดราคา ค่าเวนคืนที่ดินสร้างรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ

ชาวเชียงของโวยค่าเวนคืนที่ดินสร้างรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ต่ำกว่าความเป็นจริง กว่า 300 รวมตัวยื่นหนังสือ เผยหลายแปลงไม่มีเอกสารสิทธิทำกินหลายชั่วอายุคนแต่ถูกกดราคา

29 ม.ค.2567 - ที่ว่าการอำเภอเชียงของ อ.เชียงของ จ.เชียงราย นายพิเชฐ เชื้อเมืองพาน รองประธานรัฐสภา และส.ส.เชียงราย พร้อมผู้แทนการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) นายอุดม ปกป้องวรกุล นายอำเภอเชียงของ ผู้แทนศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดเชียงราย ได้ร่วมกันชี้แจ้งให้กับประชาชนที่ไม่พอใจค่าเวนคืนโครงการการรถไฟ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ โดยมีประชาชนเข้ารับฟังกว่า 300 คน จากพื้นที่ ต.ห้วยซ้อ ต.สถาน ต.ศรีดอนชัย ต.เวียง อ.เชียงของ และจากพื้นที่ อ.เมือง จ.เชียงราย จ.พะเยาบางส่วน

ทั้งนี้ชาวบ้านได้ยื่นคำร้องขอให้ทบทวนการจ่ายค่าทดแทนการเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของการก่อสร้างรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ โดยนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน ส.ส.เชียงราย กล่าวว่า หลังได้รับการร้องจากประชาชนในพื้นที่ ตนได้ประสาน รฟท. นายอำเภอเชียงของ ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด
เพื่อให้ประชาชนได้รับฟังกระบวนการการเวนคืนจากผู้จัดการโครงการและฝ่ายกฎหมาย โดยให้ชาวบ้านได้รับฟังข้อมูลจากทุกฝ่ายให้จบในรอบเดียว และถ้าเจ้าของที่ดินยังไม่พอใจสามารถดำเนินการอุทธรณ์ภายใน 90 วันหลังการเซ็นสัญญาและรับเงินจาก รฟท. ไปยังกระทรวงคมนาคมที่ใช้เวลา 180 วัน

“หากยังไม่พอใจราคาเวนคืนสามารถดำเนินการฟ้องศาลปกครองได้เป็นทางออกต่อไป โดยได้มอบหมายให้ผู้ช่วย ส.ส.และผู้นำท้องถิ่น และนิติกรช่วยดูแลชาวบ้าน”ส.ส.เชียงราย กล่าว

นายปัฐตพงษ์ บุญแก้ว วิศวกรโครงการ ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง รฟทกล่าวว่า ขณะนี้ประกาศเวนคืนทั้งเส้นทาง 634 แปลง โดยได้ดำเนินการเซ็นสัญญาเวนคืน 550 แปลง คิดเป็น 87% ยังคงเหลือ 84 แปลง ส่วนการดำเนินการก่อสร้างการรถไฟขณะนี้ รฟท.ดำเนินการได้เร็วกว่าแผนงานปกติ 1 % ขบวนการการเวนคืนอยู่ภายใต้กฎหมาย พ.ร.บ.เวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2562 และเงื่อนไข เวลา

เรารับคำร้องพิจารณาทั้งปัญหาบุคคล ที่มีประเด็นแตกต่างกัน การพิจารณาอัตราค่าเวนคืนภาพรวม การให้ราคาเวนคืนเฉลี่ยอยู่ที่ 4.56 เท่าของราคาประเมินของกรมธนารักษ์”นายปัฐตพงษ์ กล่าว

นายเพิ่ม กรรณิการ์ ผู้แทนชาวบ้าน กล่าวว่า ชาวบ้านที่มาร้องด้วยความไม่พอใจที่ราคาการประเมินต่ำมาก และหากจะให้อุทธรณ์จะเอาข้อมูลไหนมาอุทธรณ์ บางคนอยู่บนดอย บางคนมีที่เป็น สปก. จะเอาอะไรมาอ้างอิง ราคาที่ประเมินเป็นราคาโฉนด หลายคนได้แค่หลักพันบาททั้งๆที่ทำกินกันนานแต่กลับชดเชยหลักหมื่น ถ้าอุทธรณ์ไปก็ตกอยู่ในที่ตะกร้ารัฐมนตรี คนที่ทำได้มีทนายอาสามาช่วย ชาวบ้านจะไปเอาเอกสารที่ไหน จึงขอให้คณะกรรมการประเมินราคา และ รฟท.ทบทวนราคาใหม่ ขออย่าต้องให้ชาวบ้านต้องอุทธรณ์ และต้องมีค่าใช้จ่ายหากต้องไปฟ้องศาลปกครอง ชาวบ้านจะเอาเงินที่ไหนจ่าย

นางพิศมัย ชัยสิทธิ์ เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืน กล่าวว่า ตนเป็นชาวบ้านไม่มีความรู้เรื่องกฎหมาย รู้แต่ว่าราคาที่ดินที่ติดกันในการประเมินการเวนคืนเพื่อสร้างศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าด่านพรมแดนเชียงของ ราคา สปก.อยู่ที่ประมาณ 1.5 ล้านต่อไร่ โฉนด 2.5-3.5 ล้านบาท แต่รฟท.แจ้งราคา 4 แสนบาทต่อไร่ ไม่สามารถซื้อมาแทนได้ในราคาปัจจุบัน จึงเรียกร้องให้ รฟท.จัดที่ดินมาทดแทนให้หรือประเมินราคาที่ดินใหม่

นางธนพร ปาละ ผู้แทนชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนกล่าวว่า ในพื้นที่ตำบลห้วยซ้อกลุ่มชาวบ้านที่ถูกเวนคืนหลายรายจะยื่นอุทธรณ์ครั้งนี้ และได้ตั้งตัวแทนจัดการเรื่องเอกสารเพื่อยื่นอุทรณ์เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่มีเอกสารสิทธิ์แต่เป็นพื้นที่ทำกินมาหลายรุ่น แต่ละรายแต่ละครอบครัวเป็นแปลงเล็กๆ เป็นที่ทำกิน และชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่เข้าใจที่ไม่สามารถดำเนินการเองได้ โดยจะรับเรื่องและช่วยชาวบ้านยื่นอุทธรณ์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในที่ประชุมประชาชนยังมีคำถามถึงวิธีการคิดราคาที่มีความเหลื่อมล้ำทั้งการเปรียบเทียบกับการเวนคืนกรมทางหลวงที่มีการสร้างเส้นทางบายพาสเชียงของ และการเปรียบเทียบราคาที่เคยเวนคืนศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้า ที่ดำเนินการภายใต้ พ.ร.บ.เวนคืนฯ ปี 2530 ที่สามารถนำราคาประกาศขายมาเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการประเมินราคาที่ดินได้ ทำให้ราคาในการเวนคืนสูง ขณะที่ราคาประเมิณการเวนคืนทาง รฟท. อ้างอิงราคาในปี 2559-2562 ซึ่งในอำเภอเชียงของมีการซื้อขายที่ดินน้อยมาก และแปลงที่มีการแจ้งราคาซื้อขายต่อที่ดินต่ำกว่าความเป็นจริงมากทำให้ราคาประเมินออกมาต่ำมากกว่าราคาตลาดที่ซื้อขายกันในเวลานี้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผู้เฒ่าไร้สัญชาติสุดเศร้า ตายก่อนได้บัตรประชาชนนับสิบราย เหตุกระบวนการยังล่าช้า

นางเตือนใจ ดีเทศน์ กรรมการผู้ก่อตั้งมูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พชภ.) น.ส.เพียรพร ดีเทศน์ เลขาธิการ พชภ.และคณะเจ้าหน้าที่ด้านสิทธิ พชภ. ได้จัดเวทีกระบวนการเพื่อสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้เฒ่าไร้สัญชา

ชาวบ้านปากอิง ร้องขาดผู้ใหญ่บ้านนานกว่า 2 ปี การพัฒนาติดขัด ประปามีปัญหา

ตัวแทนชาวบ้านบ้านปากอิงเหนือ หมู่ 2 ต.ศรีดอนชัย อ.เชียงของ จ.เชียงราย ได้เข้ายื่นหนังสือร้องทุกข์ต่อนายอำเภอเชียงของ เนื่องจากได้รับความเดือดร้อนเนื่องขาดผู้นำชุมชนในตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านโดยนายบุญจันทร์ จันทร์ทิพย์ ตัวแทนชาวบ้าน กล่าวว่า ชาวบ้านปากอิง หมู่ 2 ได้รับความเดือดร้อนเพราะไม่มีผู้ใหญ่บ้านมาแล้ว 2 ปี ด้วยมีคำสั่งให้ผู้ใหญ่บ้านคนล่าสุดหยุดปฏิบัติหน้าที่ ทำให้ชาวบ้านได้รับผลกระทบและความเดือดร้อนในด้านกิจกรรมของคนในชุมชน ขาดการพัฒนาการจัดตั้งของบประมาณและโครงการต่างๆของภาครัฐ รวมถึงงานประเพณีต่างๆ ขาดการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานราชการ

ชาวเชียงของ เดือดร้อนหนัก ร้องหน่วยงานรัฐระงับเอกชนขนส่งถ่านหินก่อมลพิษฟุ้งกระจาย

ชาวบ้าน 200 คน 2 หมู่บ้านใน อ.เชียงของ สุดทน เดือดร้อนหนัก บ.เอกชนขนถ่านหินจากลาวก่อมลพิษ แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายรอบแต่เงียบ-นายอำเภอสั่งระงับขนชั่วคราวก่อนสอบหาข้อเท็จจริง

สส.เชียงราย จี้สอบชายชุดดำทำลายพื้นที่พิธีกรรมหมู่บ้านกะเหรี่ยง ครูแดงชี้ชุมชนดูแลป่าได้ดี

สส.ก้าวไกลจี้เร่งตั้ง กก.สอบข้อเท็จจริงชายชุดดำทำลายพื้นที่พิธีกรรมหมู่บ้านกะเหรี่ยงห้วยหินลาดใน “ครูแดง” การันตีเป็นชุมชนที่ดูแลป่าเป็นอย่างดี-เชิญ รมว.ทส.ลงพื้นที่

44 ผู้เฒ่าบนดอย ปลื้มได้ถ่ายบัตรประชาชน อีกนับหมื่นรอความหวังเป็นคนไทย

นางเตือนใจ ดีเทศน์ กรรมการที่ปรึกษาและผู้ก่อตั้งมูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา เปิดเผยว่า ขณะที่กลุ่มผู้เฒ่าในจังหวัดเชียงรายอีกนับหมื่นคน ต่างรอคอยความหวังที่จะได้เป็นพลเมืองสัญชาติไทยคือกลุ่มที่มีใบสำคัญถิ่นที่

เผยเหตุแม่น้ำสายขุ่น ฝั่งท่าขี้เหล็กฉีดน้ำแรงดันสูงหาแร่ทอง

พ.อ.ณฑี ทิมเสน ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจทัพเจ้าตาก(ผบ.ฉก.ทัพเจ้าตาก) ในฐานะประธานคณะกรรมการชายแดนส่วนท้องถิ่นไทย-เมียนมา (TBC) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มีประชาชนในอ.แม่สาย จ.เชียงราย กำลังเดือดร้อนจากกรณีที่น้ำในแม่น้ำสาย