ชาวบ้านง้างปาก 'ผู้ว่าฯร้อยเอ็ด' ปกป้องผืนดินข้าวหอมมะลิโลก หรือประเคนที่นายทุนอ้อย

ภาพจากเฟซบุ๊ก ชมรมคนรักษ์โนนสวรรค์

เครือข่ายคนฮักทุุ่งกุลา โยนโจทย์ใหญ่ ผู้ว่าฯร้อยเอ็ด ปกป้องผืนดินข้าวหอมมะลิโลก หรือปล่อยผืนดินทุ่งกุลาเปลี่ยนเป็นไร่อ้อยเกือบ 3 แสนไร่

17 ธ.ค.2566 – ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหว ของกลุ่มประชาชนในนาม เครือข่ายคนฮักทุ่งกุลา นัดพี่น้องรวมพล   ในวันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม 2566  เวลา 08.00 น.  ณ ลานข้างเทศบาลตำบลโนนสวรรค์ เพื่อไปยังหน้าสำนักงานบริษัท สมานฉันท์กรับใหญ่ จำกัด  รวมถึงเรียกร้อง ผู้ว่าฯร้อยเอ็ด ถึงประเด็นการปกป้องผืนดินทุ่งกุลาสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิโลก หรือเปลี่ยนเป็นไร่อ้อย ทำลายทรัพยากรและวิถีชีวิตชาวบ้านในพื้นที่

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า เฟซบุ๊ก ชมรมคนรักษ์โนนสวรรค์ ระบุข้อความช่วงหนึ่งว่า ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การให้ตั้งหรือขยายโรงงานน้ำตาลในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร พ.ศ. 2558’ ที่ออกตามความพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535  โดยให้สามารถตั้งโรงงานขึ้นใหม่และย้ายโรงงานเดิมไปตั้งยังที่อื่น (โดยยังคงกำลังการผลิตเดิมหรือเพิ่มกำลังการผลิตก็ตาม) และเพิ่มกำลังการผลิตของโรงงานเดิมที่ตั้งอยู่ในที่เดิม  ได้ในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร  เมื่อโรงงานที่จะตั้งนั้นมีระยะห่างจากเขตโรงงานที่ได้รับใบอนุญาตไว้แล้วไม่น้อยกว่า 50 กิโลเมตร

ซึ่งขัดกับ ‘ประกาศคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย เรื่อง กำหนดท้องที่ที่เหมาะสมสำหรับการส่งเสริมการปลูกอ้อย พ.ศ. 2548’ ที่ออกตามความพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 ที่กำหนดให้ท้องที่ที่เหมาะสมสำหรับการส่งเสริมการปลูกอ้อยต้องมีรัศมีไม่เกิน 100 กิโลเมตรจากโรงงานน้ำตาลที่ใกล้ที่สุด  เพื่อที่จะทำให้โรงงานและพื้นที่ปลูกอ้อยมีการเพิ่มจำนวนมากขึ้นและเร็วขึ้น 

จึงกำลังสร้างปัญหาใหญ่มากบนผืนดินอีสาน  เช่น  โครงการโรงงานผลิตน้ำตาลทรายและโรงไฟฟ้าชีวมวล ต.โนนสวรรค์ อ.ปทุมรัตต์ จ.ร้อยเอ็ด  ของบริษัท สมานฉันท์กรับใหญ่ จำกัด ก็เกิดขึ้นภายใต้ประกาศฯดังกล่าว  เพื่อหวังจะเปลี่ยนนาข้าวหอมมะลิชั้นเยี่ยมของโลก  พื้นที่กว่า 288,000 ไร่ ให้เป็นไร่อ้อย

ทั้ง ๆ ที่พื้นที่ อ.ปทุมรัตต์และอำเภออื่น ๆ ทั้งใน จ.ร้อยเอ็ดและจังหวัดใกล้เคียงได้กลายเป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิชั้นเยี่ยมของทุ่งกุลา  ซึ่งได้รับการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication : GI) จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา  รวมถึงเป็นพื้นที่เป้าหมายของแผนพัฒนาภาคอีสานของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบเมื่อ 15 พฤศจิกายนปีที่ผ่านมา ให้เป็นพื้นที่เพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์  ด้วยการนำนวัตกรรมมาใช้ในการแปรรูปข้าวหอมมะลิให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นและยกระดับกลุ่มผู้ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาสู่มาตรฐานสินค้าอย่างครบวงจร 

ทุ่งกุลาบ้านของเฮาจึงกำลังถูกคุกคามและกดดันอย่างหนักจากหน่วยงานรัฐและบริษัทดังกล่าวให้เกษตรกรเปลี่ยนนาข้าวเป็นไร่อ้อยให้ได้อย่างน้อย 288,000 ไร่

นี่คืออีกเหตุผลหนึ่งที่พี่น้องเครือข่ายคนฮักทุ่งกุลาขอนัดพี่น้องรวมพล  เพื่อทวงคืนความเป็นธรรม  ในวันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม 2566  08.00 น.  ณ ลานข้างเทศบาลตำบลโนนสวรรค์ ตั้งขบวนเวลา 09.00 น.  เดินจากลานข้างเทศบาลตำบลโนนสวรรค์ไปที่หน้าสำนักงานบริษัท สมานฉันท์กรับใหญ่ จำกัด 

“ผู้ว่าฯร้อยเอ็ดต้องมีคำตอบว่าจะปกป้องผืนแผ่นดินทุ่งกุลาสำหรับเป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิโลก  หรือจะเปลี่ยนเป็นไร่อ้อยเพื่อตอบสนองนายทุนที่ละโมบ  จ้องทำลายความอุดมสมบูรณ์ในผืนดิน ผืนป่า ผืนฟ้า ผืนน้ำบ้านของเฮา”

#ปกป้องทุ่งกุลา

#ปกป้องแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิของโลก.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สหกรณ์บุรีรัมย์ นำข้าวหอมมะลิดินภูเขาไฟ จัดกระเช้าของขวัญปีใหม่ เพิ่มช่องทางการตลาด

สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. บุรีรัมย์ จำกัด นำข้าวสารหอมมะลิดินภูเขาไฟ ที่ได้มีการแปรรูปผลิตภัณฑ์แล้ว และสินค้าทางเกษตรอื่นๆ นำมาห่อจัดเป็นชุดกระเช้า เ

'ชาวบ้านทุ่งกุลา' ยื่นฟ้องศาลปกครองฝังกลบโรงงานน้ำตาล

เครือข่ายฅนฮักทุ่งกุลา จังหวัดร้อยเอ็ด เดินหน้าฟ้องศาลปกครองอุบลราชธานี ยกเลิกสิทธิตั้งโรงงานน้ำตาล– คว่ำอีไอเอฉบับเดิมที่ขาดการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน

อิ๊งค์ฝันปท.สีขาวไร้ยาเสพติด

"นายกฯ อิ๊งค์" ฟิตลงพื้นที่ร้อยเอ็ด สั่งการโมเดลการแก้ไขปัญหายาเสพติด ยกเป็นวาระแห่งชาติ รอวันหมดไปจากประเทศ เผยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยเรื่องนี้เป็นพิเศษ

'นายกฯอิ๊งค์' ยกนิ้วโป้ง! หายป่วย ลงพื้นที่ร้อยเอ็ด

’นายกฯอิ๊งค์‘ นำคณะลงพื้นที่ร้อยเอ็ด แม้เสียงยังแหบ ยกนิ้วโป้งอาการดีขึ้น เปิดตารางงาน ลุยปัญหายาเสพติด พร้อมพบปะชาวบ้าน ก่อนกลับ กทม. ช่วงเย็น