ฟาดกลับ 'รมต.อุตสาหกรรม' ชาวบ้านอุดรฯยืนหยัดต้าน 'รัฐบาล-นายทุน' ขุดแร่ใต้ถุนบ้านขาย

กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี ประกาศสวนกลับ รมต.อุตสาหกรรมไฟเขียวเหมืองแร่ พร้อมปักหลักสู้ไม่ยอมให้ทั้งรัฐบาลและนายทุน ขุดแร่ขายทิ้งกองเกลือ สร้างผลกระทบไว้ชั่วลูกหลาน

3 ธ.ค.2566 – กลุ่มประชาชนในนาม กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี ออกแถลงการณ์ประกาศ พร้อมเดินรณรงค์คัดค้านโครงการเหมืองแร่โปแตช ภายหลัง น.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าตรวจเยี่ยมและ  รับฟังการบรรยายสรุปความก้าวหน้าการดำเนินโครงการเหมืองแร่โพแทช จังหวัดอุดรธานี จากบริษัท เอเซีย แปซิฟิค โปแตช คอร์ปอเรชั่น จำกัด (APPC) ซึ่งเป็นผู้ได้รับประทานบัตรในการทำเหมืองเมื่อเดือนตุลาคม 2565 และประกาศเดินหน้าโครงการ ว่า  นับตั้งแต่คณะรัฐมนตรีของรัฐบาลเผด็จการทหาร “พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา” มีมติเห็นชอบ อนุมัติโครงการเหมืองแร่โปแตช จ.อุดรธานี เมื่อปี 2565 เพื่อเปิดทางให้นายทุนเข้ามาขุดเอาแร่ใต้ถุนบ้านเราไปขาย บนเนื้อที่กว่า 26,000 ไร่ ใน 5 ตำบล ได้แก่ ต.หนองไผ่, ต.โนนสูง, ต.หนองขอนกว้าง อ.เมืองอุดรธานี ต.ห้วยสามพาด และต.นาม่วง อ.ประจักษ์ศิลปาคม ด้วยข้ออ้างเพียงว่าจะทำให้ ‘ราคาปุ๋ยถูกลง’ ท่ามกลางเสียงคัดค้านต่อต้านของชาวบ้านในพื้นที่ ที่มีมาตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี และยังมีคดีค้างคาอยู่ที่ศาลปกครอง

หลังจากการเลือกตั้งปี 2566 ประเทศไทยได้รัฐบาลที่บอกกับนานาชาติว่าเป็นประชาธิปไตย โดยมีนักธุรกิจใหญ่เป็นนายกรัฐมนตรีชื่อ “เศรษฐา  ทวีสิน” ซึ่งมาพร้อมกับการผลักดันโครงการเหมืองแร่โปแตช อย่างออกนอกหน้า โดยสั่งการเร่งรัดผู้ได้รับสัมปทานเหมืองแร่โปแตช ทั้ง 3 ราย ประกอบด้วย 1.) บริษัท อาเซียนโปแตชชัยภูมิ จำกัด (มหาชน) ผู้รับประทานบัตรโครงการทำเหมืองแร่โปแตช อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ 2.) บริษัท ไทยคาลิ จำกัด ผู้รับประทานบัตรเหมืองแร่โปแตช ในพื้นที่ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา และ3.บริษัท เอเซีย แปซิฟิค โปแตช คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้รับประทานบัตรในโครงการเหมืองแร่โปแตช จ.อุดรธานี

‘ให้ดำเนินการขุดเจาะแร่โปแตช เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีบริษัทใดสามารถขุดแร่ไปขายได้เลย และหากทำไม่ได้ ก็ให้หาผู้รับประมูลรายใหม่เข้ามาแทน’

ทั้งนี้ ในวันนี้ ( 3 ธ.ค.) น.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้มาลงพื้นที่เพื่อติดตามความคืบหน้าโครงการเหมืองแร่โปแตช จ.อุดรธานี เพื่อจะนำไปรายงานต่อที่ประชุมครม.สัญจร ซึ่งจะจัดขึ้นที่ จ.หนองบัวลำภู ในวันพรุ่งนี้ (4 ธ.ค.) จึงเป็นการส่งสัญญาณอย่างชัดเจนให้ผู้รับประทานบัตรเร่งขุดแร่ขึ้นมาขาย

พวกเราในนามกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี ขอประกาศว่า เรายึดมั่นในสิทธิชุมชนที่ปกป้องวิถีเกษตรกรรม ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจชุมชนที่ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น เราจะคัดค้านการทำเหมืองจนถึงที่สุด โดยไม่ยอมให้รัฐบาลและนายทุนหน้าไหนเข้ามาขุดเอาแร่ใต้ถุนบ้านเราไปขาย แล้วทิ้งไว้เป็นโพรงและกองเกลือมหาศาล ซึ่งจะเป็นผลกระทบไปจนชั่วลูกหลานสืบไป.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'พิมพ์ภัทรา' นำทีมบุกญี่ปุ่น ศึกษาโมเดล 'นิคมอุตสาหกรรม Circular' มาปรับใช้กับไทย

“พิมพ์ภัทรา”นำทีมเยือนญี่ปุ่น 21 - 27 กรกฎาคม 2567 ปักหมุดดูงานพัฒนาการจัดตั้ง “นิคมอุตสาหกรรม Circular” พร้อมหารือกับองค์การพัฒนาพลังงานใหม่และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่น และองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan External Trade Organization : JETRO) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมของไทย ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลก ที่มุ่งเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน เศรษฐกิจหมุนเวียน และความเป็นกลางทางคาร์บอน

‘พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล’หวังกระทรวงอุตฯเป็นที่พึ่งของทุกคนอย่างแท้จริง

การเข้ามานั่งเป็นรัฐมนตรีว่าการประจำกระทรวงต่างๆ ในประเทศไทยนั้นต้องผ่านด้านการบริหารงานมาเข้มข้น และยังต้องเป็นผู้มีวิสัยทัศน์อย่างจริงจัง

'เซลส์แมนนิด'จ้อยาวบอก 'แลนด์บริดจ์' สำคัญกว่าซื้อ 'เรือดำน้ำ-เครื่องบินรบ'

'เศรษฐา' เปิดงาน SUBCON Thailand 2024 ย้ำความเป็นกลาง จุดยืนทางการเมืองไทย ไม่เป็นคู่ขัดแย้ง ลั่นยึดมั่นความสงบสุข มุ่งค้าขายอย่างเดียว เข็นบิ๊กโปรเจกแลนด์บริดจ์ ชี้สำคัญกว่าซื้อเรือดำน้ำ - เครื่องบินรบ