'ไอกรน' ระบาดชายแดนใต้ ทารกอายุ 18 วัน ติดเชื้อเสียชีวิต ปัตตานีพบเด็กป่วย 72 ราย

29 พ.ย.2566 - สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี นายแพทย์อนุรักษ์ สารภาพ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปัตตานี ได้ให้ข้อมูลกับผู้สื่อข่าวว่า ตั้งแต่เดือนกันยายน 2566 จนถึงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 ขณะนี้จังหวัดปัตตานีมีผู้ป่วยไอกรนแล้ว จำนวน 72 ราย ซึ่งกระจายในหลายอำเภอ และมีผู้เสียชีวิต 1 ราย เป็นเด็กทารกอายุ 18 วัน ซึ่งร่างกายยังไม่มีภูมิคุ้มกัน ได้รับเชื้อมาจากผู้อาศัยร่วมภายในบ้าน

โดยโรคไอกรน เป็นโรคติดต่อในระบบทางเดินหายใจชนิดหนึ่งที่มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย บอร์เดเทลลา เพอร์ทัสซิส หลังติดเชื้อในช่วงแรกจะมีอาการคล้ายเป็นหวัด เช่น ไอ มีไข้ น้ำมูกไหล หลังจากนั้น ผู้ป่วยจะมีอาการไอต่อเนื่องอย่างรุนแรงและมีเสียงไอที่เป็นเอกลักษณ์หรือเสียงดัง (ไอมีเสียงที่เกิดจากการ หายใจลําบาก) จึงมีอีกชื่อเรียกว่า Whooping Cough เป็นที่มาของชื่อไอกรนในภาษาไทย ในทารกหรือเด็กเล็ก อาจไม่พบอาการไอ แต่จะมีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจเป็นหลัก ไอกรนเป็นโรคติดต่อจากคนสู่คน โดยเชื้อสามารถ แพร่กระจายได้จากการไอหรือจาม ทารกและเด็กเล็กจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากที่สุด ซึ่ง อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

ซึ่งการป้องกันไอกรนโรคไอกรนเป็นโรคที่ป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน แพทย์จะฉีดวัคซีนรวม คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน โดยเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 7 ปี เริ่มฉีด 3 เข็มแรกเมื่อเด็กที่มีอายุ 2 เดือน 4 เดือน 6 เดือน และเข็มที่ 4 เมื่อเด็กมีอายุ 18 เดือน จากนั้นควรฉีดวัคซีนกระตุ้น (Booster Dose) เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันหลังฉีด ครบชุด 4 ครั้งแรกแล้ว ตอนอายุ 4-6 ปี และเด็กที่มีอายุมากกว่า 7 ปี ผู้ใหญ่ที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วนแล้ว แนะนําให้ฉีดวัคซีนกระตุ้นทุก 10 ปี เนื่องจากวัคซีนที่ได้รับในวัยเด็กจะหมดลงในช่วงวัยรุ่น และในผู้ที่กําลัง ตั้งครรภ์ แพทย์จะแนะนําให้ฉีดวัคซีนในช่วงสัปดาห์ที่ 27 และ 36 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งอาจช่วยปกป้องทารก จากโรคไอกรนในช่วง 2-3 เดือนแรกหลังการคลอดอีกด้วย

อย่างไรก็ตามแนวโน้มการติดเชื้อยังคงสูงขึ้น สาเหตุหนึ่งเกิดจากการอัตราการรับวัคซีนของเด็กในพื้นที่จังหวัดปัตตานี น้อยอยู่มาก ทั้งโรคไอกรนและอีกหลายๆโรคเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผวา! ไข้หวัดใหญ่พุ่ง ดับแล้ว 1 ราย เร่งฉีดวัคซีน 7 กลุ่มเสี่ยง

ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ดร.ทรงยศ คำชัย หัวหน้ากลุ่มงาน ควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเปิดให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง

ปัตตานีอุกอาจ! ยิงทหารพรานดับในคลองชลประทาน

พ.ต.อ.พัฒนชัย ปาละสุวรรณ ผกก.สภ.หนองจิก จ.ปัตตานี ได้รับแจ้งพบศพบริเวณคลองชลประทาน ม.1 ต. คอลอตันหยง อ.หนองจิก หลังได้รับแจ้งจึงรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ

คนร้ายประกบยิงลูกจ้าง อบต. ดับคาที่

พ.ต.อ.พัฒนชัย ปาละสุวรรณ ผกก.สภ.หนองจิก ได้รับแจ้งเกิดเหตุยิงกัน มีผู้เสียชีวิต 1ราย เหตุเกิดที่ม. 1 ต.คอลอตันหยง อ.หนองจิก จ.ปัตตานี หลังรับแจ้งจึงจัดกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุทันที