ชาวนาขอนแก่น ประกาศไล่นายกฯลาออกถ้ารัฐบาลไม่จ่ายเงินชาวนาได้หลังถูกแบงก์ชาติออกหนังสือเตือนความเสี่ยง และเอา "ลุงตู่" มาเป็นนายกรัฐมนตรีแทนเพราะการทำนาลงทุนมากกว่ารายรับ
21 พ.ย.2566 - ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่สำรวจความคิดเห็นของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรี ได้เห็นชอบโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2566/67 วงเงินงบประมาณจ่ายขาด 56,321.07 ล้านบาท หรือ จ่ายเงินชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท กลุ่มเป้าหมายเป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2566/67 ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร 4.68 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ส่งหนังสือด่วนที่สุด ถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของ ครม.เรื่องมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ปีการผลิต 2566/67 โดย ธปท.มีความเห็นว่า โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว มีความจำเป็นลดลง เมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากปัจจุบันราคาข้าวสูงขึ้นมาก และราคาปุ๋ยลดลง
นายบัวฮอง สิงห์หาปัด อายุ 72 ปี อยู่บ้านเลขที่ 100 บ้านห้วยโจด ม.11 ต.ห้วยโจด อ.กระนวน จ.ขอนแก่น กล่าวว่า ถ้ารัฐบาลไม่ให้เงินก็คงเสียใจ เพราะเงินที่รัฐบาลช่วยเหลือมานั้น ก็พอแบ่งเบาภาระค่าเกี่ยวค่าปุ๋ยได้ แต่ปีนี้ไม่พูดสักที พูดแต่เงินดิจิทัล พอมีข่าวออกมาว่าจะให้ ก็ถูกแบงค์ชาติคัดค้าน กลัวเสียเสถียรภาพทางการเงิน
“ปีนี้ถ้ารัฐบาลจ่ายให้ไม่ได้ ก็เอา พล.อ.ประยุทธ์มาเป็นนายกรัฐมนตรีเหมือนเดิม ถ้ารัฐบาลชุดนี้บริหารไม่ได้เรื่อง ก็เปลี่ยนคนมาบริหารใหม่ นโยบายต่างๆตอนหาเสียงดีๆทั้งนั้น แต่พอเป็นนายกรัฐมนตรี ไม่สามารถทำได้ เมื่อทำไม่ได้ก็เปลี่ยนเอาพลเอกประยุทธ์กลับมาบริหารเหมือนเดิม”
ขณะที่ นางจิต เวฬุวนาทร อายุ 57 ปี อยู่บ้านเลขที่ 23 ม.11 บ้านโคกท่า ต.หนองตูม อ.เมือง จ.ขอนแก่น กล่าวว่า การทำนาปี ในแต่ละปี ใช้เงินมาก เพราะทั้งปุ๋ย ทั้งเมล็ดพันธ์ข้าว ค่ารถเกี่ยว ค่าจ้างต่างๆ คือค่าใช้จ่ายในการทำนาทั้งหมด แต่ราคาข้าวอยู่ที่ กิโลกรัมละ 8.60 บาทเท่านั้น
“ที่บอกว่า ราคาข้าวดี ค่าปุ๋ยลดลงนั้น ข้าราคาดีก็คงไม่ถึง 10 บาท แต่การทำนากว่าจะได้ข้าวมา ไม้ได้ง่าย ปุ๋ยก็ต้องไปเอามาใส่ข้าว ราคากระสอบละพันบาท ถ้ารัฐบาลช่วยเงินชาวนามา ชาวนาก็จะมีเงินใช้หนี้ ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนได้”
นางจิต กล่าวต่ออีกว่า ปุ๋ยที่ใช้เป็นปุ๋ยที่กู้ยืมมา เมื่อได้เงินที่รัฐบาลช่วยมาจึงจะนำไปจ่าย ในแต่ละปีจะใช้ปุ๋ยประมาณ 20 ประสอบ ตอนนี้ข้าวราคา 8.60 บาท ถ้าเป็นไปได้อยากได้ราคา 13-14 บาท แต่เมื่อราคาข้าวไม่ได้ตามที่ต้องการ และถ้ารัฐบาลช่วยเหลือเกษตรกรชาวนาไร่ละ 1,000 บาทจะได้เป็นเงินก้อน เพื่อไปจ่ายเงินค่าปุ๋ยสำหรับที่นาของตนมี 20 ไร่ ได้ข้าวประมาณ 6 ตัน ก็จะขายไปใช้หนี้ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งจะเก็บไว้กิน
ด้าน นายประมวล นาหนองตูม อายุ 65 ปี อยู่บ้านเลขที่ 59 ม11 บ้านโคกท่า ต.หนองตูม อ.เมือง จ.ขอนแก่น กล่าวว่า โดยส่วนตัวมีที่นาจำนวนน้อย หากรัฐบาลช่วยมาไร่ละ 1,000 บาท ก็จะได้แค่ค่าปุ๋ย ค่ารถเกี่ยวก็หมดแล้ว จึงอยากให้ทางรัฐบาลช่วยเหลือเหมือนเดิม เพราะแต่ละปีทำนาแค่ 3 ไร่ แต่ก็มีค่าใช้จ่ายก็มีทั้งปุ๋ย รถปั่น รถเกี่ยว ขายข้าวได้ก็ต้องจ่ายค่าปุ๋ย แทบจะไม่เหลือกินเหลือเก็บ ที่เพราะปุ๋ยก็มีราคาสูง ที่ผ่านมาชาวนาไทยมีความยากลำบากเรื่องเงินลงทุน กว่าจะปลูกข้าวได้ก็ต้องมีการลงทุนหลายอย่าง ลงทุนไปมากแต่ผลตอบแทนน้อย ก็อยากได้เงินที่รัฐบาลให้มา มาช่วยครอบครัวชาวนาเหมือนเดิม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กระทรวงเกษตรฯ เคาะช่วยชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 10 ไร่! วงเงิน 3.8 หมื่นล้าน
ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จากกรณีมติของที่ประชุมคณะอนุกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติด้านการผลิตครั้งที่
โฆษก กษ. เผยข่าวดี! ปรับเงินช่วยชาวนาเป็น 1000 บาทต่อไร่แล้ว
นายเอกภาพ พลซื่อ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ฝ่ายการเมือง) เปิดเผยผลประ
ชาวนาเฮ! รัฐบาลเคาะแจกไร่ละ 1 พันบาท เล็งปรับโครงสร้างเกษตรทั้งระบบ
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่มี น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน วันนี้ เห็นชอบหลักการช่วยเหลือเกษตรกร ผ่านโครงการจ่ายเงินช่วยเหลือชาวนา ไร่ละ 1,000 บาท
ชาวนารับจ้างอัดก้อนฟางข้าว โกยรายได้งามช่วงหาซื้อยาก ราคาแพง
ชาวนาที่ จ.บุรีรัมย์ นำรถไถนาขนาดใหญ่ มาดัดแปลงติดตั้งเครื่องอัดฟาง ออกบริการรับจ้างอัดก้อนฟางข้าว จากชาวนาเพื่อนบ้าน
ชาวนาต้นทุนกระฉูด! ปุ๋ยคนละครึ่งไม่ตอบโจทย์
บุรีรัมย์ ชาวนา เรียกร้องให้รัฐบาล ช่วยค่าเก็บเกี่ยวไร่ละพัน แบ่งเบาภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้น แต่ยังขายได้ราคาต่ำ
ชาวนาเฮ! กนช. เตรียมประกาศพื้นที่ทำนาปรังรวม 12 ล้านไร่ เกษตรกรได้ปลูกข้าวเพิ่ม
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ครั้งที่ 5/2567