ชาวร้อยเอ็ด จัดเวทีใหญ่ 2.4 พันคนลงชื่อไม่เห็นด้วยสร้างเขื่อนกั้นน้ำชี

กรมชลฯ ยอมถอยยกเลิกสร้างเขื่อนกั้นน้ำชีหลังชาวบ้านร้อยเอ็ดจัดเวทีใหญ่-กว่า 2.4 พันคนร่วมลงชื่อไม่เอาด้วย รองผวจ.รับปากดำเนินการให้

17 พ.ย.2566 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายนที่ผ่านมา บริเวณศาลาวัดบ้านอีโก่ม ต.เทอดไทย อ.ทุ่งเขาหลวง จ.ร้อยเอ็ด ชาวบ้านลุ่มน้ำชีและเครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชีกว่า 350 คน ได้ร่วมเวทีนำเสนอข้อมูล เพื่อให้กรมชลประทานยกเลิกโครงการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอาคารบังคับน้ำ-ประตูระบายน้ำ(เขื่อน)กั้นแม่น้ำชี ที่มีแผนดำเนินการศึกษาและก่อสร้างบริเวณหมู่บ้านไชยวาน ต.นาเลิง อ.เสลภูมิ และฝั่งบ้านบาก ต.โพนเมือง อ.อาจสามารถ จ.ร้อยเอ็ด โดยมีนายชูศักดิ์ ราชบุรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด มาร่วมรับฟังข้อเสนอและมารับหนังสือจากตัวแทนภาคประชาชนลุ่มน้ำชีและเครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชีโดยมีประชาชนกว่า 2,400 คนร่วมลงชื่อ

ทั้งนี้ก่อนเวที่จะเริ่มขึ้นเจ้าหน้าที่ชลประทานร้อยเอ็ดได้แจ้งว่าตอนนี้ทางสิ่งแวดล้อมสำนักบริหารโครงการ กรมชลประทานได้ประชุมและมีมติจะยกเลิกโครงการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอาคารบังคับน้ำ ประตูระบายน้ำ(เขื่อน) กั้นในแม่น้ำชี จังหวัดร้อยเอ็ด แต่ตอนนี้รอหนังสือจากประชาชนเพื่อส่งไปถึงกรมชลประทานอย่างไรก็ตาม ภาคประชาชนลุ่มน้ำชีและเครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชีเตรียมขึ้นป้ายคัดค้านและจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะมีหนังสือตอบกลับว่ายกเลิกโครงการฯ

นายสิริศักดิ์ สะดวก ที่ปรึกษาภาคประชาชนลุ่มน้ำชีและเครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชี จ.ร้อยเอ็ด กล่าวว่า วันนี้ทางภาคประชาชนลุ่มน้ำชีและเครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชีเพื่อเสนอข้อมูลให้ยกเลิกโครงการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอาคารบังคับน้ำ-ประตูระบายน้ำ (เขื่อน) กั้นในลำน้ำชี ออกจากแผนพัฒนาของกรมชลประทาน เนื่องจากมีแผนการดำเนินโครงการ ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2566 สิ้นสุดสัญญาวันที่ 29 ธันวาคม 2567 รวมระยะเวลาศึกษา 540 วัน ซึ่งไม่มีความเหมาะสม เนื่องจากมี 1.สภาพพื้นที่ในแม่น้ำชี ไม่มีความเหมาะสมที่จะดำเนินแผนโครงการนี้เพราะเมื่อก่อนน้ำในช่วงฤดูน้ำหลากน้ำจะท่วมพื้นที่การเกษตรประมาณ 7-15 วัน น้ำก็ลดเองตามธรรมชาติ แต่ปัจจุบันหลังจากมีเขื่อนร้อยเอ็ด เขื่อนยโสธร-พนมไพร ภายใต้โครงการโขง ชี มูล น้ำก็ท่วมพื้นที่การเกษตรกินระยะเวลายาวนาน 1-4 เดือน และขยายวงกว้างท่วมทั้งในและนอกพนังกั้นน้ำ และยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้

นายสิริศักดิ์กล่าวว่า 2.ถ้ามีอาคารบังคับน้ำ ประตูระบายน้ำ (เขื่อน) กั้นในลำน้ำชีอีก ทั้งพื้นที่การเกษตรและชุมชน จะถูกน้ำท่วมเพิ่มสูงขึ้น และกินระยะเวลายาวนานขึ้น จะยิ่งซ้ำเติมปัญหาเพิ่มมากขึ้น 3.ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์หรือความคุ้มทุนต่อชาวบ้านในพื้นที่ยิ่งจะเป็นการเพิ่มปัญหาให้กับชาวบ้านในพื้นที่ 4.ชาวบ้านในพื้นที่ไม่เคยรับรู้ข้อมูลข่าวสารมาก่อนว่าจะมีโครงการนี้ 5.กรมชลประทานไม่เคยเปิดเผยข้อมูลที่เป็นจริง แม้แต่หน่วยงานรัฐในพื้นที่

นายจันทรา จันทาทอง เครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชี จ.ร้อยเอ็ด กล่าวว่า อยากให้ทางผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ดเสนอให้กรมชลประทานยกเลิกโครงการออกจากพื้นที่ในแม่น้ำชีจังหวัดร้อยเอ็ด เนื่องจากปัจจุบันเขื่อนในแม่น้ำชีบริหารจัดการน้ำผิดพลาดทำน้ำท่วมพื้นที่การเกษตรนานกว่า 2 เดือน เช่น ตำบลบึงงาม อ.ทุ่งเขาหลวง บางจุดน้ำลดลงจากพื้นที่การเกษตร บางจุดน้ำท่วมพื้นที่การเกษตรยังลดลงไม่มาก ดังนั้นไม่อยากให้มีโครงการอาคารบังคับน้ำ

นายสมศักดิ์ ทูลธรรม ภาคประชาชนลุ่มน้ำชี กล่าวว่า ปัจจุบันนี้พื้นที่ทำการเกษตรบ้านอีโก่ม หรือพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในต.เทอดไทย อ.เขาหลวง จ.ร้อยเอ็ด ทั้งในและนอกพนังน้ำลดจากพื้นที่นาแล้วแต่ยังลดไม่หมด ผ่านมา 2 เดือนแล้วจนเข้าฤดูหนาวแล้ว นี้คือบทเรียนจากการมีเขื่อนกั้นในแม่น้ำชี และชลประทานไม่สามารถบริหารจัดการน้ำได้เป็นแบบนี้มาตั้งแต่มีการสร้างเขื่อน

นางเกษร พร้อมพรั่งเครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำชี จังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า ถึงแม้ว่าทางเจ้าหน้าที่ชลประทานร้อยเอ็ดแจ้งว่า สำนักบริหารโครงการกรมชลประทานมีการประชุมและมีมติจะยกเลิกยกเลิกโครงการฯ และรอหนังสือจากภาคประชาชนลุ่มน้ำชีและเครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชีนั้น ทางเราก็จะทำกิจกรรมในพื้นที่โดยการขึ้นป้ายคัดค้านในแต่ละหมู่บ้าน จนกว่าสำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน จะมีหนังสือตอบกลับมาเป็นลายลักษณ์อักษรว่ายกเลิกโครงการฯและเอาแผนพัฒนาออก เราถึงจะปลดป้ายทันที

ด้านนายชูศักดิ์ ราชบุรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่าได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ดให้มาดูแลเรื่องนี้ ในส่วนของกระบวนการในการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมทั้งหมด เป็นขั้นตอนของกรมชลประทานเป็นการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษามาทำการศึกษาซึ่งขั้นตอนการดำเนินการนั้นก็เริ่มดำเนินการศึกษาไปหลายขั้นตอนแล้ว อย่างไรก็ตามยังไม่มีการสร้างหรือยังไม่มีการอนุมัติงบประมาณในการดำเนินการที่จะก่อสร้างอาคารบังคับน้ำหรือประตูระบายน้ำแต่อย่างใด

“ปัญหาที่พี่น้องอธิบายมานั้น ผมเองก็เป็นลูกชาวนาเหมือนกัน ปฏิบัติราชการที่จังหวัดร้อยเอ็ดมา 3 ปี ลงพื้นที่เห็นปัญหาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นเหมือนกัน น่าเห็นใจพี่น้องชาวบ้านที่พื้นที่นาพื้นที่ทำการเกษตรโดนน้ำท่วมเสียหายจริง ๆ ฉะนั้นข้อมูลจากตัวแทนพี่น้องที่นำเสนอให้ผมในเวที รวมถึงหนังสือที่จะยื่นในวันนี้ ผมก็จะนำไปบันทึกสรุปและเสนอท่านผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อที่จะส่งไปให้กรมชลประทานผู้รับผิดชอบโครงการฯ ว่านี่คือ ข้อคิดเห็นของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากน้ำท่วม และพี่น้องประชาชนไม่มีความประสงค์ที่จะให้มีการก่อสร้างอาคารบังคับน้ำหรือสิ่งกีดขว้างอะไรต่าง ๆ ในแม่น้ำชีตามข้อเสนอของพี่น้องประชาชน”รองผู้ว่าฯกล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เดินตามแนวพระราชดำริ...ช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมชุมพร

ในช่วงวันที่ 13-15 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมามรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงได้พัดปก คลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณภาคใต้ตอนล่างเคลื่อนลงสู่ทะเลอัน

นายกฯ บินมหาสารคาม ติดตามแก้น้ำท่วม-แล้ง เปิดงาน 'ออนซอนกลองยาวชาววาปี'

'นายกฯอิ๊งค์' บินมหาสารคาม ตรวจติดตามอุทกภัยลุ่มน้ำชี-โครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน ไม่ตอบความคืบหน้าตั้งคกก.ปราบอิทธิพล

จับตาการพัฒนาลุ่มน้ำสงคราม “อู่ข้าวอู่น้ำ” ของภาคอีสานตอนบน

ลุ่มน้ำสงคราม สาขาของลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือที่มีขนาดใหญ่รองลงมาจากลุ่มน้ำมูลและลุ่มน้ำชี มีพื้นที่ประมาณ 12,700 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 7.94 ล้านไร่

ประตูระบายน้ำศรีสองรักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ความยั่งยืนของการพัฒนาลุ่มน้ำเลย

ลุ่มน้ำเลย เป็นลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ มีแม่น้ำเลยเป็นแม่น้ำสายหลัก ที่มีต้นน้ำอมาจากอำเภอภูหลวง ซึ่งเป็นพื้นที่สูงลาดชัน

'ชาวบ้านทุ่งกุลา' ยื่นฟ้องศาลปกครองฝังกลบโรงงานน้ำตาล

เครือข่ายฅนฮักทุ่งกุลา จังหวัดร้อยเอ็ด เดินหน้าฟ้องศาลปกครองอุบลราชธานี ยกเลิกสิทธิตั้งโรงงานน้ำตาล– คว่ำอีไอเอฉบับเดิมที่ขาดการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน