ชาวนาใน อ.ห้วยราช จ.บุรีรัมย์ ต้องนำข้าวเปลือกไปตากบนถนนทางหลวงชนบทยาวกว่า 1 กม. เพื่อไล่ความชื้น หลังนำข้าวเกี่ยวสดไปขายเพื่อนำเงินไปจ่ายค่าปุ๋ยและค่าจ้างรถเกี่ยว แต่โดนกดราคาเหลือแค่ ก.ก.ละ 8-10 บาท บางที่ไม่รับซื้ออ้างมีข้าวปน โอดรัฐบาลอนุมัติช่วยค่าเก็บเกี่ยวล่าช้า จำเป็นต้องขายก่อนแม้ได้ราคาต่ำ วอนรัฐประกันราคา ก.ก.ละ 15-18 บาท ถึงจะอยู่ได้เพราะต้นทุนสูง
15 พ.ย.2566 - ชาวนาหลายหมู่บ้านในตำบลเมืองโพธิ์ อ.ห้วยราช จ.บุรีรัมย์ ต่างนำข้าวเปลือกออกไปตากตามริมถนนทางหลวงชนบทเป็นทางยาวกว่า 1 กิโลเมตร เพื่อลดความชื้นก่อนจะนำเข้าไปเก็บในยุ้งฉาง หรือนำไปขายตามโรงสี หลังจากชาวนาหลายคนนำข้าวเปลือกที่เกี่ยวสดไปขาย เพื่อจะนำเงินไปจ่ายค่าปุ๋ย และค่าจ้างรถเกี่ยว แต่โดนกดราคาเหลือแค่เพียงกิโลกรัมละ 8 – 10 บาท ขณะที่บางรายก็ไม่รับซื้อเพราะผู้ประกอบการอ้างว่ามีข้าวปน ชาวนาบางคนจึงต้องขนข้าวกลับมาตากเพื่อไล่ความชื้นก่อนจะนำกลับไปขายอีกครั้ง แต่บางคนก็ตัดสินใจขายข้าวสดแม้จะได้ราคาต่ำไม่คุ้มทุนก็ตาม เพราะจำเป็นต้องนำเงินไปจ่ายค่าจ้างรถเกี่ยว เนื่องจากรอเงินค่าเก็บเกี่ยวไร่ละ 1,000 บาท จากรัฐบาลไม่ไหว
ทั้งนี้ ชาวนา ยังบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ปีนี้ต้นทุนในการทำนาสูงกว่าทุกปี เพราะปุ๋ยแพง น้ำมันแพง จึงอยากให้รัฐบาลช่วยเหลือด้วยการประกันราคาข้าวไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 15 – 18 บาท เพราะมาตรการแทรกแซงราคากิโลกรัมละ 12 บาท ก็ยังไม่คุ้มทุน
นายทีน พนมรัมย์ ชาวนาบ้านเมืองโพธิ์ อ.ห้วยราช บอกว่า ที่ต้องนำข้าวเปลือกมาตากบนถนนเพื่อลดความชื้น ก่อนจะนำไปขาย เพราะก่อนหน้านี้มีชาวนาหลายคนนำข้าวเกี่ยวสดไปขายตามโรงสีแล้วได้ราคาต่ำเพียงกิโลกรัมละ 8 – 10 บาทเท่านั้น เพราะทางโรงสีบอกว่าข้าวเปียกชื้นก็รับซื้อได้ในราคานี้ ตนจึงตัดสินใจเอาข้าวเปลือกมาตากตามริมถนนเพื่อลดความชื้น ก็อยากขอความเห็นใจจากผู้ใช้รถใช้ถนนด้วย เพราะไม่มีสถานที่ตาก หากเป็นไปได้ก็อยากให้รัฐบาลออกมาตรการประกันราคาข้าวไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 15 – 18 บาท มากกว่ามาตรการแทรกแซงราคากิโลกรัมละ 12 บาท เพราะปีนี้ต้นทุนทั้งค่าปุ๋ย ค่าน้ำมัน ค่าเก็บเกี่ยวสูงมาก
นางสำเริง นิโรรัมย์ ชาวนาอีกราย บอกว่า ก่อนหน้านี้ได้นำข้าวที่เกี่ยวสดไปขายแต่ได้ราคาต่ำเพียงกิโลกรัมละ 10 บาท แม้จะไม่คุ้มทุนแต่ก็จำเป็นต้องขายเพราะต้องนำเงินไปจ่ายค่าจ้างรถเกี่ยว เพราะรอเงินค่าเก็บเกี่ยวจากรัฐบาลไม่ไหว ก็อยากให้รัฐบาลช่วยเหลือโดยออกโครงการประกันราคาข้าวไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 15 – 18 บาท ถึงจะอยู่ได้เพราะปีนี้ต้นทุนทำนาสูงมาก โดยเฉพาะค่าปุ๋ยแพงขึ้นเกือบเท่าตัว ค่าจ้างรถเกี่ยวไร่ละ 600 บาท และต้องจ้างคนมานอนเฝ้าข้าวอีก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ป้า 67 ป่วยหลายโรค หาบเร่ขายของเลี้ยงชีพ หวังได้เงินหมื่น เฟส 2 หวั่นตกหล่น บัตรคนจนก็ไม่มี
บุรีรัมย์ ป้า 67 ป่วยความดัน มีก้อนเนื้อที่คอ แต่ต้องหาบเร่ขายของเลี้ยงชีพและลูกพิการ หวังได้เงินหมื่น เฟสสอง มาแบ่งเบา
กระทรวงเกษตรฯ เคาะช่วยชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 10 ไร่! วงเงิน 3.8 หมื่นล้าน
ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จากกรณีมติของที่ประชุมคณะอนุกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติด้านการผลิตครั้งที่
โฆษก กษ. เผยข่าวดี! ปรับเงินช่วยชาวนาเป็น 1000 บาทต่อไร่แล้ว
นายเอกภาพ พลซื่อ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ฝ่ายการเมือง) เปิดเผยผลประ
ชาวนาเฮ! รัฐบาลเคาะแจกไร่ละ 1 พันบาท เล็งปรับโครงสร้างเกษตรทั้งระบบ
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่มี น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน วันนี้ เห็นชอบหลักการช่วยเหลือเกษตรกร ผ่านโครงการจ่ายเงินช่วยเหลือชาวนา ไร่ละ 1,000 บาท
ไก่ตายปริศนา คืนเดียว 12 ตัว พบพฤติกรรมคล้ายพังพอน ป้ายังเชื่อฝีมือผีกระสือ
ปศุสัตว์ จ.บุรีรัมย์ พร้อมปศุสัตว์อำเภอละหานทราย กำนัน และ ผญบ. ลงพื้นที่ตรวจสอบไก่ตายปริศนาคืนวันพระคืนเดียว 12 ตัว
ชาวนารับจ้างอัดก้อนฟางข้าว โกยรายได้งามช่วงหาซื้อยาก ราคาแพง
ชาวนาที่ จ.บุรีรัมย์ นำรถไถนาขนาดใหญ่ มาดัดแปลงติดตั้งเครื่องอัดฟาง ออกบริการรับจ้างอัดก้อนฟางข้าว จากชาวนาเพื่อนบ้าน