9 กลุ่มชาติพันธุ์ “รำบูชาพระธาตุพนม” วันออกพรรษาไหลเรือไฟ ค่ำนี้อลังการกลางลำน้ำโขง โชว์ความงามอวดสายตาชาวโลก
29 ตุลาคม 2566 – เวลา 08.00 น. ที่บริเวณหน้าวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร พระอารามหลวง อ.ธาตุพนม จ.นครพนม ส.ส.เดือน-มนพร เจริญศรี รมช.คมนาคม ส.ส.นครพนมเขต 2 พรรคเพื่อไทย เป็นประธาน นำข้าราชการ เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานเกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชนท้องถิ่น ประชาชน นักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยชาวลาว ร่วมพิธีแห่เครื่องสักการบูชา นำมาประกอบพิธีถวายต่อองค์พระธาตุพนม หลังจากนั้นได้มีการประกอบพิธีโบราณ คือ รำบูชาพระธาตุพนม ตามประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ปี 2530 ก่อนที่จะเริ่มการไหลเรือไฟในเขตเทศบาลเมืองนครพนม เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาต่อองค์พระธาตุพนม สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ภายในบรรจุพระอุรังคธาตุกระดูกส่วนหน้าอกของพระพุทธเจ้า อายุเก่าแก่กว่า 2,500 ปี
โดยมีกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีถิ่นฐานอยู่ใน จ.นครพนม ร่วมสืบสานจัดพิธีรำบวงสรวงบูชาองค์พระธาตุพนม รวม 9 ชนเผ่า เพื่อเป็นสิริมงคล และเกิดความเจริญรุ่งเรืองแก่ชาว จ.นครพนม รวมถึงประชาชนนักท่องเที่ยว ที่ได้มาร่วมพิธี ตลอดจนเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว ที่จัดขึ้นในภาคเช้า ก่อนที่จะมีการไหลเรือไฟ ในคืนวันออกพรรษา 15 ค่ำ เดือน 11 ตลอดแนวริมฝั่งแม่น้ำโขง ในเขตเทศบาลเมืองนครพนม
สำหรับในการรำบูชาพระธาตุพนม จัดให้มีการแสดง จำนวนทั้งหมด 6 ชุด การแสดงประกอบด้วย 1.รำตำนานพระธาตุพนมและชุดรำชนเผ่านครพนม โดย อ.ธาตุพนม 2.รำศรีโคตรบูร โดย อ.ปลาปาก และ อ.ศรีสงคราม 3.รำผู้ไท โดย อ.เรณูนคร และ อ.บ้านแพง 4.รำหางนกยูง โดย อ.เมือง และ อ.นาทม 5.รำไทญ้อ โดย อ.ท่าอุเทน อ.นาหว้า และ อ.โพนสวรรค์ 6.รำขันหมากเบ็ง โดย อ.นาแก และ และวังยาง นอกจากนี้ยังมีชุดการรำพิเศษเป็นการรวมชุดรำทั้ง 6 ชุด ในเพลงอีสานบ้านเฮา นอกจากนี้ในการรำชุดสุดท้าย ได้เปิดโอกาสให้ประชาชน นักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยชาวลาว รวมถึง ส.ส.เดือน-มนพร เจริญศรี รมช.คมนาคม ส.ส.นครพนม เขต 2 พรรคเพื่อไทย ประธานในพิธี ที่ได้สวมชุดศรีโคตรบูรณ์ เป็นชุดพื้นเมืองทอจากผ้าฝ้ายสีน้ำเงิน พาดสไบสีแดง ถือเป็นชุดที่สวมใส่ในงานประเพณี หรือพิธีศักดิ์สิทธิ์สำคัญ รวมถึงเป็นชุดนางรำเอกลักษณ์ประจำจังหวัดด้วย
โดยได้ร่วมรำถวายต่อองค์พระธาตุพนม เชื่อกันว่าหากใครได้รำบูชาพระธาตุพนมทุกปีต่อเนื่อง จะเป็นเป็นสิริมงคลต่อตนเอง และครอบครัว มีแต่โชคลาภ เจริญรุ่งรวง ร่ำรวยเงินทอง สุขภาพแข็งแรง ทำให้ทุกปีจึงมีประชาชน นักท่องเที่ยว มารอชื่นชมและถือโอกาสร่วมรำบูชาจำนวนมาก
ทั้งนี้ในการรำบูชาพระธาตุพนม ถือเป็นเอกลักษณ์ประเพณีวัฒนธรรมของแต่ละชนเผ่า ในพื้นที่ 12 อำเภอที่นำมาแสดง ให้ประชาชน นักท่องเที่ยว ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ และเยี่ยมชมเอกลักษณ์ประจำเผ่า ถือเป็นกิจกรรมสำคัญที่จัดขึ้นทุกปี ในวันออกพรรษาเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวในพื้นที่ ส่วนในช่วงเย็นจะมีการจัดประกวดไหลเรือไฟ บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขง ในเขตเทศบาลเมืองนครพนม โดยมีเรือไฟขนาดความยาว 40-80 เมตร สูงตั้งแต่ 10-30 เมตร มากกว่า 12 ลำ จะโชว์ความงามอวดสายตาชาวโลก ตั้งแต่เวลา 19.00 น.เป็นต้นไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'น้ำโขง' ทะลักร้านค้าใต้ถุนพญานาค นายกฯเล็กนครพนม ยันน้ำไม่ท่วมเมือง
น้ำโขงทะลักท่วม ร้านค้าใต้ถุนพญานาค พรานเบ็ดได้โอกาสตกปลาชิวๆ นายกเล็กยืนยันน้ำไม่ท่วมเมือง กันไว้ดีกว่าแก้ผู้ว่าสั่งปิดประตูน้ำ
อ่วม! นครพนมเจอพายุฤดูร้อนถล่มวันเดียวบ้านพังกว่า 200 หลัง
มาแต่ละทีเสียหายเป็นร้อย พายุฤดูร้อนถล่มวันเดียวบ้านพังกว่า 200 หลัง จว.เร่งช่วยเหลือ ทหารสแตนบายกำลังพลซ่อมบ้าน
ชุดพญาเสือ บุกจับไม้โรงงานนครพนม ลักลอบตัดข้ามจังหวัด
หัวหน้าชุดพญาเสือ ได้นำหมายค้นของศาลจังหวัดนครพนม เข้าตรวจค้นโรงงานแห่งหนึ่งใน จ.นครพนม เนื่องจากมีหลักฐานว่ามีการนำไม้ที่ลักลอบตัดจากอุทยานแห่งชาติภูผายล จ.สกลนคร นำมาเก็บไว้ที่โรงงานแห่งนี้
ลุ้นระทึก! ช่วยสาววัย 30 ปี เล่นสงกรานต์ตกท่อคอนกรีต ขาติดร่องฝาท่อระบายน้ำ
ลุ้นระทึก!ช่วยสาววัย 30 ปี เล่นสงกรานต์ตกท่อคอนกรีต ขาติดร่องฝาท่อระบายน้ำ
'หลวงตาบุญชื่น' เริ่มจาริกธุดงค์เท้าเปล่า 3,415 กิโลเมตรแล้ว
'หลวงตาบุญชื่น' พระธุดงค์สายป่า อายุ 74 ปี เริ่มออกเดินจาริกธุดงค์แสวงบุญเท้าเปล่าจาก อ.หาดใหญ่มุ่งสู่ปลายทางบ้านเกิดที่ จ.นครพนม โดยจะใช้เวลา 5 เดือนผ่าน 24 จังหวัด ระยะทาง 3,415 กิโลเมตร