ประธานชมรมมโนราห์ และเครือข่ายจังหวัดตรัง ดีใจ ยูเนสโก ประกาศมโนราห์เป็นมรดกโลก เป็นภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ พร้อมเรียกร้องจังหวัดส่งเสริมศิลปะอาชีพรำมโนราห์ ถึงเวลาปลดล็อกรำมโนราห์ โรงครู ตามประเพณี หลังเว้นว่างมากว่า 2 ปี โอดทุกวันนี้เดือดร้อนหนัก
16 ธ.ค.2564 - ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปยังบ้านของ นายวสันต์ สืบสังข์ หรือ โนราห์เกียร์ ประธานชมรมมโนราห์ชาวตรัง อยู่บ้านเลขที่ 63 หมู่ที่ 5 ต.นาโยงเหนือ อ.นาโยง จ.ตรัง หลังจากทราบว่าทางยูเนสโก ประกาศให้มโนราห์เป็นมรดกโลก โดยประธานชมรมมโนราห์กล่าว่ากับผู้สื่อข่าวว่า รู้สึกดีใจภูมิใจที่ยูเนสโก ได้ประกาศบรรจุให้มโนราห์ เป็นภูมิปัญญามรดกวัฒนธรรมของประเทศไทยได้ดังไปทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันได้มีหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาช่วยเหลือได้เรียกร้องสิทธิให้เป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับ ในนามของประธานชมรมมโนราห์ชาวตรังมีความภูมิใจมากและเชื้อว่ามโนราห์ทุกคณะมีความภูมิใจไม่น้อยไปกว่ากัน ตนอยากให้ทุกคนยอมรับว่ามโนราห์นั้นเป็นด้วยสายเลือดเพราะสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ อยากให้หน่วยงานและผู้มีสายเลือดมโนราห์สืบทอดกันต่อไป ซึ่งผู้ที่รำมโนราห์จะต้องเป็นครูหมอตายายมโนราห์เป็นคนคัดเลือก ไม่ใช่ว่าใครอยากจะรำก็รำได้ ต้องสืบทอดทางสายเลือดต้องการให้มีการสืบทอดแบบนี้ตลอดไป
หลังจากที่ยูเนสโก ได้ประกาศบรรจุให้มโนราห์ เป็นภูมิปัญญามรดกวัฒนธรรมของประเทศไทย ตนอยากให้หน่วยงานกระทรวงวัฒนธรรมเห็นความสำคัญของการแสดงศิลปะมโนราห์มากกว่านี้ หวังว่าทางหน่วยงานจะเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมมากกว่านี้ มี่ผ่านมาอาจจะมีบ้าง แต่เค้าไม่มองเห็นความพยายามของมโนราห์ที่จะทำให้คนรู้จักทั่วโลก ในขณะที่ยูเนสโกยังเห็นความสำคัญ ถ้าคนที่เป็นเจ้าของยังเพิกเฉยก็แย่ เราต้องออกหน้าออกตาพยุงจรรโลงเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมตรงนี้ให้มากยิ่งขึ้น
มโนราห์ส่วนมากจะรำในพิธีกรรมมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบโรงค้ำครู รำ 1 คืน 1 วัน หรือ พิธีกรรมโรงครูใหญ่รำ 2 คืน 3 วัน เป็นการรำระหว่างเจ้าภาพเชื้อสายที่บนบานสานกล่าวเอาไว้ให้มีโชคมีลาภแล้วจะรำให้ตายาย ฝ่ายเจ้าภาพไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับหน่วยงานใดใด เป็นระหว่างเจ้าภาพกับมโนราห์เอง
มโนราห์โบราณในจังหวัดตรังที่จดทะเบียนมีจำนวน 50 คณะที่มีลูกคู่พร้อม แต่ที่แตกแขนงออกไปมีจำนวน 65 คณะ ในพื้นที่อำเภอนาโยงมีคณะมโนราห์มากที่สุด 23 คณะ นอกนั้นก็กระจายออกไปตามตำบลพื้นที่ต่าง ๆ
ตนเองเป็นตัวตั้งตัวตีสร้างโรงมโนราห์โรงครูใหญ่ให้กับจังหวัดตรังเหมือนกับพัทลุงที่รำกันที่ท่าแค ตนได้สร้างการรำมโนราห์พิธีกรรมประจำปีของจังหวัดตรังมาก็ร่วม 2-3 ปีแล้ว ไม่ค่อยได้รับการสนับสนุนจากจังหวัด ต้องหาทุนเอง ต้องหาค่าใช้จ่ายมาเอง ที่ทุกสิ่งที่ทำไปก็เพื่อให้เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดตรัง มีพิธีกรรมโรงครูแทงเข้ประจำจังหวัดอยากให้จังหวัดยื่นมือมาช่วยตรงนี้บ้าง ในช่วงโควิดจบไปเลยตั้งแต่เดือนหก เมษายน ระยะเวลากว่า 24 เดือน เป็นต้นมา ที่มีคำสั่งให้หยุดการแสดงเกรงจะมีคลัสเตอร์โควิด รอบแรก รอบ 2-3 ตามมา หยุดยาวเลย แต่มา ณ ช่วงนี้มีการผ่อนคลายไปมากแล้วอยากเรียกร้องให้ทางหน่วยงานมองเห็นว่าในเมื่อมีการผ่อนคลายแล้ว มโนราห์มีการสัญญากับครูหมอตายายแต่ละบ้านของเจ้าภาพกำหนดไว้แล้วว่าต้องรำเดือนนั้นๆ มองว่าควรให้มโนราห์รำได้แล้ว ซึ่งได้กำหนดว่าห้ามเกิน 50 คน แต่รำมโนราห์ยังคน 30-50 คนก็หรูแล้ว ระหว่างเจ้าบ้านกับมโนราห์ก็มีคนประมาณนั้น บางคืนมีเพียงมโนราห์กับเจ้าภาพแค่นั้นเอง แต่ต้องทำไปเพราะต้องการให้ครูหมอมโนราห์รับรู้เท่านั้นเอง ไม่ได้ต้องการให้มหาชนมาดูกันมากมายจนแออัดอย่างนั้น
ด้าน นายครื้น เอียดจุ้ย หรือ โนราห์ครื้น อายุ 80 ปี เจ้าของมโนราห์ครื้นน้อยดาวรุ่ง ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังเมื่อ 50 ที่ผ่านมา และเป็นศิษย์ของมโนราห์เติม วินวาด ซึ่งเป็นชื่อดังที่ถูกกล่าวขวัญในรอบ 100 ปี โดยมโนราห์ครื้นเริ่มรำมโนราห์ตั้งแต่อายุ 19 ปี รำมาแล้ว 61 ปี และปัจจุบันก็ยังรำอยู่ กล่าวว่า รู้สึกดีใจที่ทางการยกมโนราห์เป็นมรดกโลก ตนก็จะถ่ายทอดสืบสานให้ลูกหลานต่อไป ซึ่งปัจจุบันสืบทอดจากรุ่นลูกมาถึงรุ่นหลานแล้ว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ชาวบาบ๋าอันดามันเตรียมฉลอง 'เคบายา' ขึ้นทะเบียนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้
ในเวทีประชุมองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) จะมีการประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลเพื่อการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ครั้งที่ 19 ในวันที่ 3 ธ.ค.นี้ ณ นครอซุนซิออน ประเทศปารากวัย หรือตรงวันที่ 4 ธ.ค.นี้ ของไทย
ยูเนสโกขึ้นทะเบียน ‘ต้มยำกุ้ง’ มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้วธ.จัดฉลองยิ่งใหญ่ 6-8 ธ.ค.ที่เอ็มควอเทียร์
4 ธ.ค.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลเพื่อการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ครั้งที่ 19 (The nineteenth session of the Intergovernmental Committee for the
‘สุวรรณภูมิ’ คว้ารางวัล Prix Versailles 2024 สนามบินสวยที่สุดในโลก
‘UNESCO’โหวตอาคารSAT-1 สนามบินสุวรรณภูมิรับรางวัล Prix Versailles สาขาสถาปัตยกรรมดีเด่นด้านรูปลักษณ์อาคาร ในฐานะสนามบินสวยที่สุดในโลกประจำปี 2567
ฝนถล่มตรัง แค่ชั่วโมงเดียว น้ำป่าจากเทือกเขาบรรทัด ทะลักท่วมถนน-บ้านเรือน สูงครึ่งเมตร
ตรัง ฝนตกหนักชั่วโมงเดียว เกิดน้ำป่าจากเทือกเขาบรรทัด ทะลักท่วมบ้านเรือนชาวบ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ท่วมถนนตรัง-พัทลุง สูง 50 ซม. รถยนต์วิ่งได้เลนเดียวทั้งขาเข้า-ออก เมืองตรัง และจากฝนตกหนักต้นไม้ใหญ่ 4 คนโอบ ล้มขวามทางขึ้นน้ำตกกะช่อง เร่งนำออกจากถนน
'ชลประทานตรัง' การันตีปีนี้ตรังไม่จมบาดาล แก้ท่วมซ้ำซากสำเร็จ
นายวิโรจน์ มูสิกะเจริญ วิศวกรชลประทาน พร้อมด้วย นายสงกรานต์ หนูฤทธิ์ นายช่างชลประทาน สำนักงานชลประทานฝายคลองนางน้อย อ.นาโยง จ.ตรัง ลงพื้นที่สำรวจพื้นที่ทางน้ำและมวลน้ำ
แสดง'โขน-โนรา'สานสัมพันธ์ที่เขมร
25 พ.ย.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) มีนโยบายนำมิติทางศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมมาส่งเสริมความร่วมมือและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ประเทศไทยในภูมิภาคอาเซียนและเวทีนานาชาติ