ชาวนาบุรีรัมย์วอนรัฐบาลออกมาตรการปรับลดดอกเบี้ย สามารถช่วยแบ่งเบาภาระหนี้สินได้อย่างแท้จริง มากกว่าการพักชำระหนี้ ชี้พักหนี้แค่ 1 ปี เมื่อครบกำหนดยังมียอดหนี้และดอกเหมือนเดิม ซ้ำหลายคนมีหนี้เกิน 3 แสน ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้
27 ก.ย.2566 - หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบมาตรการพักชำระหนี้ให้กับลูกหนี้รายย่อย ตามนโยบายรัฐบาลระยะที่ 1 โดยมีมาตรการพักชำระหนี้ให้กับลูกหนี้รายย่อยที่มีต้นเงินคงเป็นหนี้คงเหลือทุกสัญญารวมกัน ณ วันที่ 30 ก.ย.2566 ไม่เกิน 300,000 บาท และมีสถานะเป็นหนี้ปกติและ/หรือเป็นหนี้ค้างชำระ (หนี้ 0-3 เดือน และหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ NPLs) ได้รับสิทธิในการพักชำระหนี้ระยะแรกดำเนินการ 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2566 ถึงวันที่ 30 ก.ย.2567
ล่าสุดผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่ไปสำรวจความคิดเห็นของชาวนาที่เป็นลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งส่วนใหญ่บอกว่า เป็นโครงการที่ดี แต่เป็นแค่การยืดระยะชำระหนี้แค่ 1 ปีเท่านั้น ไม่ได้ช่วยลดภาระหนี้สินให้กับชาวนาอย่างแท้จริง หากเป็นไปได้ก็อยากให้รัฐบาลพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ย จึงจะเป็นการช่วยเหลือแบ่งเบาภาระหนี้สินให้กับชาวนาได้อย่างแท้จริง ขณะที่หลายคนซึ่งมียอดหนี้เกิน 300,000 บาท ก็ไม่เข้าเงื่อนไขหลักเกณฑ์ตามที่รัฐกำหนด ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้
นายประสิทธิ์ กมลรัมย์ อายุ 67 ปี ชาวนาบ้านโคกสูง ต.ศรีภูมิ อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ บอกว่า ทำนา 80 ไร่ เป็นหนี้ ธ.ก.ส.อยู่กว่า 5 แสนบาท แต่ละปีต้องจ่ายดอกเบี้ยประมาณ 7 หมื่นบาท ถ้ารวมต้นและดอกเบี้ยก็จะประมาณปีละแสนกว่าบาท แต่ส่วนมากจะจ่ายแค่ดอกเบี้ยเพราะขายผลผลิตไม่ได้ราคาเพียงพอที่จะมีเงินไปจ่ายทั้งต้นและดอกเบี้ย ส่วนตัวมองว่าโครงการพักชำระหนี้เป็นโครงการที่ดี เพราะสามารถยืดระยะเวลาการชำระหนี้ให้ชาวนาได้ ที่ผ่านมาตนก็เคยเข้าร่วมโครงการสามารถนำเงินที่พักหนี้ไปหมุนทำอย่างอื่นได้ แต่ปีนี้รัฐมีเงื่อนไขจำกัดยอดหนี้ไม่เกิน 300,000 บาท คงไม่เข้าเงื่อนไขที่จะสามารถเข้าโครงการได้
อย่างไรก็ตาม หากเป็นไปได้อยากฝากให้รัฐบาลพิจารณาออกมาตรการปรับลดดอกเบี้ยให้กับชาวนามากกว่า ถึงจะเป็นการช่วยเหลือแบ่งเบาภาระหนี้สินได้อย่างแท้จริง เพราะการพักชำระหนี้ชาวนาเมื่อครบกำหนดแล้วก็ต้องชำระหนี้และดอกเบี้ยเหมือนเดิม
ด้าน นางราตรี สุมาลี อายุ 60 ปี ชาวนา ต.ถลุงเหล็ก อ.เมืองบุรีรัมย์ บอกว่า ทำนาทั้งหมด 6 ไร่ เป็นหนี้ ธ.ก.ส. อยู่กว่า 1 แสนบาท ต้องจ่ายดอกเบี้ยปีละกว่า 3 พันบาท หากรัฐมีโครงการพักชำระหนี้ก็จะเข้าโครงการ เพราะที่ผ่านมาเคยเข้าร่วมโครงการ สามารถนำเงินไปหมุนเวียนใช้จ่ายอย่างอื่นได้ แต่ไม่ได้แบ่งเบาภาระหนี้สินได้อย่างแท้จริง เพราะเมื่อครบกำหนดต้องหาเงินมาชำระหนี้เหมือนเดิม แต่หากปีไหนขายทำนาขาดทุน ต้องไปหยิบยืมเงินนอกระบบมาจ่าย จึงอยากให้รัฐพิจารณาออกมาตรการลดเงินต้นหรือดอกเบี้ยให้กับชาวนา มากกว่าโครงการพักชำระหนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กระทรวงเกษตรฯ เคาะช่วยชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 10 ไร่! วงเงิน 3.8 หมื่นล้าน
ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จากกรณีมติของที่ประชุมคณะอนุกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติด้านการผลิตครั้งที่
กษ.คิกออฟโครงการเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มต่ำ
นายอัครา พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธาน Kick Off “โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำในพื้
โฆษก กษ. เผยข่าวดี! ปรับเงินช่วยชาวนาเป็น 1000 บาทต่อไร่แล้ว
นายเอกภาพ พลซื่อ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ฝ่ายการเมือง) เปิดเผยผลประ
ชาวนาเฮ! รัฐบาลเคาะแจกไร่ละ 1 พันบาท เล็งปรับโครงสร้างเกษตรทั้งระบบ
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่มี น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน วันนี้ เห็นชอบหลักการช่วยเหลือเกษตรกร ผ่านโครงการจ่ายเงินช่วยเหลือชาวนา ไร่ละ 1,000 บาท
ชาวนารับจ้างอัดก้อนฟางข้าว โกยรายได้งามช่วงหาซื้อยาก ราคาแพง
ชาวนาที่ จ.บุรีรัมย์ นำรถไถนาขนาดใหญ่ มาดัดแปลงติดตั้งเครื่องอัดฟาง ออกบริการรับจ้างอัดก้อนฟางข้าว จากชาวนาเพื่อนบ้าน
ชาวนาต้นทุนกระฉูด! ปุ๋ยคนละครึ่งไม่ตอบโจทย์
บุรีรัมย์ ชาวนา เรียกร้องให้รัฐบาล ช่วยค่าเก็บเกี่ยวไร่ละพัน แบ่งเบาภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้น แต่ยังขายได้ราคาต่ำ