ครู-ผอ.โรงเรียนที่บุรีรัมย์ ค้านจ่ายเงินเดือน 2 รอบ กระทบคนมีภาระหนี้สินปรับตัวลำบาก

ครู และ ผอ.โรงเรียนที่บุรีรัมย์ไม่เห็นด้วยนโยบายจ่ายเงินเดือน 2 รอบ ชี้ไม่ได้ช่วยลดภาระการกู้หนี้ยืมสิน แต่จะยิ่งส่งผลกระทบเรื่องการบริหารใช้จ่ายเงินและชำระหนี้มากกว่า หากรัฐไม่ได้ประสานสถาบันการเงินปรับเปลี่ยนการเรียกเก็บหนี้สินให้สอดคล้อง วอนรัฐบาลทบทวนหากอยากช่วย ควรพิจารณาเพิ่มเงินเดือน

14 ก.ย.2566 - ครูและผู้อำนวยการโรงเรียนที่จังหวัดบุรีรัมย์ ไม่เห็นด้วยกับนโยบายการจ่ายเงินเดือนข้าราชการ 2 รอบ ที่จะเริ่มในวันที่ 1 ม.ค.2667 เพราะมองว่าการจ่ายเงินเดือน 2 รอบไม่ได้ช่วยลดภาระหนี้สินหรือการกู้ยืมเงินตามจุดประสงค์ของรัฐบาลได้จริง หากรัฐบาลไม่มีการประสานกับสถานบันการเงินในการเรียกเก็บหนี้ให้สอดคล้องกับนโยบาย กลับจะยิ่งเพิ่มภาระและทำให้เกิดการกู้ยืมเงินมากขึ้นกว่าเดิมอีก วอนรัฐบาลทบทวนหรือให้เป็นทางเลือกตามความสมัครใจสำหรับคนที่พร้อมหรือไม่ได้รับผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนดีกว่า

น.ส.ปุณยวีร์ อภิโชติธนะเศรษฐ ครูวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาล 2 อิสาณธีรวิทยาคาร อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ สะท้อนว่า นโยบายดังกล่าวมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ถ้าสำหรับข้าราชการที่ไม่มีภาระหนี้สินก็จะเป็นช่องทางในการเก็บออมเงินหรือบริหารจัดการเงินของเขาได้ แต่ถ้าคนที่มีภาระหนี้สินต้องมีการเรียกเก็บทุกสิ้นเดือน อย่างเช่น ค่าบ้าน ค่ารถ หรือหนี้สหกรณ์ออมทรัพย์ครู หากยังไม่มีการประสานในส่วนนี้ ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร หรือสหกรณ์ออมทรัพย์ครู ที่เขาจะต้องปรับเปลี่ยนรองรับตามนโยบายรัฐบาลมันก็จะลำบาก เพราะหากจ่ายเงินเดือน 2 รอบ แต่หน่วยงานอื่นยังไม่ได้ปรับเปลี่ยนตามนโยบายรัฐบาลมันก็จะแก้ปัญหาตรงนี้ไม่ได้ แทนที่จะช่วยลดการกู้ยืมกลับจะยิ่งทำให้เกิดการกู้ยืมมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ ถ้านโยบายกับข้อเท็จจริงไม่ได้สอดคล้องกัน

ทั้งมองว่าจะยิ่งเป็นการเพิ่มภาระงานให้กับเจ้าหน้าที่ที่ทำงานเกี่ยวกับด้านการเงิน เพราะตนเองก็เคยทำหน้าที่เกี่ยวกับการเงินของหน่วยงานภาครัฐมาก่อน จากเดิมเคยทำเอกสารอันตราเงินเดือนทุกสิ้นเดือนๆ ละ 1 ครั้ง ก็ต้องมาทำงานซ้ำเป็น 2 ครั้ง ส่วนตัวจึงมองว่าทุกนโยบายช่วงแรกหรือเปลี่ยนผ่าน ควรจะมีทางเลือกตามความสมัครใจใครพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนตามนโยบาย หรือให้เวลาสำหรับคนที่ยังไม่พร้อมได้บริหารจัดการก่อน แล้วค่อยปรับเปลี่ยนพร้อมกันทั่วประเทศ

จึงอยากให้รัฐบาลได้ทบทวนนโยบายดังกล่าว เพราะมองว่ายังเป็นการแก้ปัญหาไม่ตรงจุด โดยเฉพาะตนเองที่ต้องผ่อนบ้าน ผ่อนรถซึ่งเดิมจ่ายเดือนละครั้ง แต่หากรับเงินเดือน 2 ครั้ง รัฐบาลก็ควรจะไปพูดคุยประสานกับทางธนาคารให้เรียบร้อยก่อนแล้วค่อยปรับเปลี่ยนเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบ แต่หากรัฐบาลอยากช่วย ขรก.จริงควรจะพิจารณาเพิ่มเงินเดือนให้มากกว่า

ไม่ต่างจากนายภากร เหมทานนท์ ผอ.โรงเรียนเทศบาล 2 อิสาณธีรวิทยาคาร กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นข้าราชการคนหนึ่งก็ไม่เห็นด้วยกับนโยบายการจ่ายเงินเดือน 2 รอบ ถึงแม้จะเป็นระยะสั้นที่ได้เงินมาใช้ แต่มองว่าจะเกิดประโยชน์กับร้านค้าที่จะเกิดเงินสะพัดมากกว่า แต่สำหรับตัวข้าราชการเองด้วยวัฒนธรรมการใช้เงินส่วนมากไม่ว่าจะเป็นกับธนาคาร หรือสหกรณ์ออมทรัพย์ครู ปกติก็จะหักทุกสิ้นเดือน หากจะปรับเปลี่ยนต้องปรับเปลี่ยนทั้งระบบ เช่น จ่ายเงินเดือน 2 ครั้ง ทางรัฐบาลต้องไปประสานกับสถาบันการเงินให้เก็บเงิน 2 ครั้งเช่นกัน และจะต้องไม่มีดอกเบี้ยเพิ่มด้วย

จึงอยากให้รัฐบาลได้ทบทวนนโยบายดังกล่าว เพราะมองว่าไม่ได้ลดภาระหนี้สินให้กับข้าราชการ แต่กลับจะส่งผลกระทบและเพิ่มภาระให้กับข้าราชการมากกว่า แต่หากอยากให้ช่วยจริงๆ ควรจะเพิ่มเงินเดือนให้ ขรก.ที่บรรจุใหม่หรือที่มีเงินเดือนน้อยจะดีกว่า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับสึกกราวรูด! พระมั่วสุมเสพยา ตรวจฉี่เจอม่วง 4 รูป อ้างวัยรุ่นขายให้ถึงในวัด

ผกก.สภ.ละหานทราย จ.บุรีรัมย์ นำตำรวจชุดสืบ สนธิกำลังเจ้าหน้าที่หลายฝ่าย บุกค้นกุฏิและตรวจปัสสาวะพระสงฆ์ยกวัด หลังญาติโยมนำหลักฐานคลิปวีดีโอร้องศูนย์ดำรงธรรม

5 องค์กรปชต. เรียกร้อง ส.ส.เร่งพิจารณาแนวทางการตรา พรบ.นิรโทษกรรม

คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) สถาบันสังคมประชาธิปไตย (Social Democracy Think Tank) มูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา’ 35 มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา ออกแถลงการณ์ ระบุว่า ตาม

'วิษณุ' การันตีรัฐบาลมีแหล่งที่มาเงิน อยู่ในคำแถลงนโยบาย

นายวิษณุ เครืองาม อดีตที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่มีบุคคลนิรนามไปยื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ว่าการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา

'จุลพันธ์' แจงแนวคิดภาษีรูปแบบใหม่ Negative income tax คืนภาษีผู้มีรายได้น้อย

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ลุกขึ้นชี้แจงนโยบายการศึกษาระบบภาษีรูปแบบใหม่ หรือ negative income tax ว่า แนวความคิดนี้ เป็นแนวความคิดที่ถูกนำมาบรรจุในแนวนโยบายแห่งรัฐ