![](https://storage-wp.thaipost.net/2023/09/ศรชล.jpg)
10 ก.ย.2566-ศูนย์อำนวย การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการทบทวนบทบาทและการปฏิบัติของ ศรชล. ระดับผู้บริหาร โดย รองเลขาธิการ ศรชล. เป็นประธานเปิดการประชุม พล.ร.ท.ขวัญชัย อินกว่าง ผู้ช่วยเลขาธิการ ศรชล. อำนวยการปฏิบัติระดมแนวคิดจากผู้แทน นขต.ศรชล.(ส่วนกลาง) ศรชล.ภาค 1 ศรชล.ภาค 2 ศรชล.ภาค 3 และ สปก.1-6 ศรชล. แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ณ รร.ริเวอร์ตันอัมพวา จ.สมุทรสงคราม วงสัมมนา ศรชล. หารือร่วมกันถึงบทบาท หน้าที่ ภารกิจของ ศรชล. ตามยุทธศาสตร์ชาติ และแผนแม่บทฯ ด้านความมั่นคง ภารกิจของ ศรชล. ตาม พ.ร.บ.การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล พ.ศ.2562 และแผนปฏิบัติราชการ 5 ปี ของ ศรชล. (พ.ศ.2566-2570)
พล.ร.ท.ประวิณ ย้ำว่า การหารือราวมกันของทั้ง 7 ศร จะนำสู่การปรับเปลี่ยนเชิงโครงสร้างของ ศรชล. ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ทุกหน่วยขอให้ช่วยกันวิเคราะห์การปฏิบัติงานในรอบปี 2566 สิ่งใดเป็นประโยชน์ต่อประชาชน สิ่งใดเป็นอุปสรรคต่อประชาชน จำเป็นต้องปรับแก้ไข เพราะ ศรชล. ใช้ทรัพยากรทั้งงบประมาณ กำลังพล และห้วงเวลาในการปฏิบัติงานไปจำนวนมาก ต้องช่วยกันปรับปรุงแก้ไขให้มีความเหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด จะได้กำหนดเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายพัฒนา ศรชล.
พล.ร.ท.ขวัญชัย อินกว่าง ผู้ช่วยเลขาธิการ ศรชล. กล่าวว่า ศรชล. ก่อตั้งขึ้นมาก้าวผ่านสู่ปีที่ 5 โดยมีทหารเรือเป็นแกนนำขับเคลื่อนภารกิจที่ยังต้องเซ็ตอัปองค์กรกำลังตั้งไข่ไปด้วยกันทั้งทหารเรือและข้าราชการพลเรือนทั้ง 6 หน่วยงาน ประกอบด้วย ข้าราชการพลเรือน ศรชล. กรมประมง กรมเจ้าท่า กรมศุลกากร กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตำรวจน้ำ รวมถึงกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ชูให้ประชาชนมองเห็นและเข้าใจบริบทหน้าที่ของ ศรชล. ในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล สำหรับภารกิจและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในทะเลมีหลายหน่วยงานรับผิดชอบอยู่แล้ว ส่วนหน่วยไหนจะมีความพร้อมสูงสุดในการแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในทะเลเป็นหน้าที่บูรณาการของ ศรชล. ที่จะขับเคลื่อนเดินหน้าต่อไปได้อย่างสง่างาม
ทั้งนี้ ผู้แทนระดับ น.อ. และเทียบเท่าจาก นขต.ศรชล.(ส่วนกลาง) ศรชล.ภาค และ สปก.1-6 อภิปรายอย่างกว้างขวางถึงอุปสรรค ข้อจำกัด สภาพปัญหาจากการปฏิบัติหน้าที่ในห้วงปี 2566 มีการหารือเพื่อพิจารณาการปรับโครงสร้างภายใน ศรชล.,ศรชล.ภาค,ศรชล.จังหวัด ทบทวนการมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทน ผอ.ศรชล. ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยนโยบายรัฐบาล เศรษฐา ด้านความมั่นคงมุ่งเน้นการปรับโครงสร้างของหน่วยงานความมั่นคงให้มีความทันสมัยและสามารถตอบสนองต่อการคุกคามและภัยความมั่นคงรูปแบบใหม่ในศตวรรษที่ 21 และเป็นกลไกสำคัญในการพิทักษ์เอกราชสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยในทุกพื้นที่ของประเทศ รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาและการแก้ไขปัญหาภัยคุกคามและภัยพิบัติเพื่อช่วยเหลือประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลให้อยู่กับประเทศอย่างยั่งยืน
พล.ร.ต.ธรรมนูญ หงษ์กิจ ผอ.สำนักปลัดบัญชี ศรชล. เสนอแนะว่า โครงการกิจกรรมของหน่วยขึ้นตรง (นขต.) ของ ศรชล. ต้องขับเคลื่อนด้วยหลักการงานนำ-เงินตาม สิ่งที่ทำไปต้องเป็นผลิตผล (Output) หรือเกิดผลประโยชน์ที่ได้ (Outcome) ตรงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลคุ้มค่าการดำเนินงาน โดยยึดผลประโยชน์ของประชาชน
อย่างไรก็ดี ศรชล. จะได้เร่งสรุปผลการทบทวนบทบาท ภารกิจ หน้าที่ ของกลุ่มงาน กอง สำนักฯ ใน ศรชล.(ส่วนกลาง),ศรชล.ภาค.ศรชล.จังหวัด นำเสนอเลขาธิการ ศรชล. พิจารณาปรับปรุงการปฏิงานของ ศรชล. พร้อมขับเคลื่อนภารกิจรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รายงานนายกรัฐมนตรี ในฐานะผอ.ศรชล. พิจารณาต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'เพื่อไทยวิธี'ตลบตะแลงแก้'รธน.' แอบหลังสว.-ทำสภาล่ม-ยื่นศาล
ก่อนหน้านี้ไม่เพียงแค่พรรคประชาชน (ปชน.) จะมุ่งมั่นแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับเท่านั้น ยังมีพรรคเพื่อไทยที่มีความขึงขังไม่แพ้กัน โดยยื่นร่างแก้ไขประกบเว้นการแก้หมวด 1 และหมวด 2
นายกฯ อิ๊งค์ลั่นรื้อกฎหมายล้าหลังซ้ำซ้อน!
นายกฯอิ๊งค์ เปิดงาน FTI EXPO 2025 ปลุกภาคอุตสาหกรรม ผนึกกำลังภาครัฐ มุ่งสู่ศก.อนาคต ชี้ SME ตัวขับเคลื่อนหลักจีดีพีประเทศ เล็งรื้อกฎหมายล้าหลังซ้ำซ้อน อำนวยความสะดวกนักลงทุน
ดีเดย์วันวาเลนไทน์! ห้ามออกใบอนุญาตพกปืน 1 ปี
ห้ามออกใบอนุญาตพกปืน 1 ปี เริ่ม 14 ก.พ.2568 เพื่อรักษาความสงบลดโอกาสการใช้ปืนก่อความรุนแรง เกิดความสูญเสีย
นายกฯ อิ๊งค์ประชุม ครม.สัญจรนัดแรกของปีที่สงขลา
นายกฯ อิ๊งค์ เตรียมบินถก ครม.สัญจรนัดแรกของปีที่สงขลา พร้อมลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าพัฒนาภาคใต้ สั่ง รมต.ลงตรวจราชการ รับฟังปัญหาปชช. ด้วย
‘อดีตสว.ดิเรกฤทธิ์’ ยก 3 ข้อสำคัญปมชั้น 14 ‘นายกฯอิ๊งค์’ ตอบไม่ได้ รัฐบาลก็ต้องไป
อดีตสว.ชี้เรื่องชั้น 14 รพ.ตร. จะแยกแยะ ใครเป็นฝ่ายค้านจริงหรือไม่? และ หาก นรม.ตอบคำถามไม่ได้ 3 ข้อ รัฐบาลก็อยู่ไม่ได้
ฝ่ายค้านตั้งแท่นซักฟอก ขยี้จุดอ่อน-ทุบบริหารล้มเหลว ปรับ ครม.หลังปิดสภาฯ
มีความชัดเจนตามลำดับสำหรับ "ศึกซักฟอก-อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล" ของพรรคฝ่ายค้าน หลังโหมโรงมาตั้งแต่ปลายปี 2567 ว่าก่อนปิดสมัยประชุมสภาฯ รอบนี้เดือนเมษายน