ค้านตั้งอุทยานถ้ำผาไท จ.ลำปาง ยันกะเหรี่ยงอยู่ก่อนนับร้อยปี แนะเปิดให้ชุมชนมีส่วนร่วมแท้จริง

แนะ อส.เปิดให้ชุมชนมีส่วนร่วมแท้จริง สส.ก้าวไกลยันกะเหรี่ยงป่าถ้ำผาไทอยู่ก่อนหน่วยงานป่าไม้-อุทยานฯ ผู้ใหญ่บ้านจวกทางการให้ร้ายชุมชนหวังประกาศเขต-10 หมู่บ้านอยู่กับป่าเตรียมระดมพลคัดค้านแผนที่แนบท้ายกฤษฎีกาเหตุไม่ทำตามข้อตกลง

1 ก.ย.2566 - นายมานพ คีรีภูวดล ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช(อส.) เตรียมเปิดรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย ชุมชนที่เกี่ยวข้อง และประชาชน ในการกำหนดเป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท (เตรียมการ) จังหวัดลำปาง เพื่อเตรียมการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยมีพื้นที่รับผิดชอบประมาณ 448,933.43 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 5 อำเภอ 13 ตำบล ของจังหวัดลำปาง ว่า กลไกการมีส่วนร่วมของพี่น้องประชาชนมีความสำคัญ รวมทั้งกลไกขององค์กรส่วนท้องถิ่นทั้งเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)ต้องมีการจัดรับฟังความคิดเห็นให้ชุมชนมีส่วนร่วม

“ผมคิดว่าเมื่อประชาชนเองก็ไม่ได้คัดค้านการประกาศเขตอุทยานพื้นที่อนุรักษ์ ส่วนสำคัญคือว่าเมื่อมีการประกาศกระบวนการทำแผนที่แนวเขตที่จะต้องกันพื้นที่ชุมชนออกมา ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน หรือที่ประชาขนใช้ร่วมกัน เช่น ป่าชุมชนอนุรักษ์ ป่าชุมชนใช้สอย พื้นที่ต้องถูกกันออก ตรงนี้เป็นประเด็นสำคัญ หน่วยงานจะประกาศเขตอนุรักษ์เพิ่มเติม ทุกคนก็อยากอนุรักษ์อยู่แล้ว แต่จะทำอย่างไรไม่ให้ทับซ้อนกับพื้นที่บริหารจัดการของชุมชน นั่นคือกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และส่วนราชการต่างๆจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก” นายมานพ กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามถึงประเด็นชาวกะเหรี่ยงอยู่ในพื้นที่ประกาศของอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท (เตรียมการ) และการใช้แผนที่อาจไม่เป็นธรรม ส.ส.แบบบัญชีพรรคก้าวไกล กล่าวว่า ที่บอกพี่น้องชาวกะเหรี่ยงอยู่ในพื้นที่ถ้ำผาไท ต้องเปลี่ยนคำถามใหม่ เนื่องจากอุทยานกำลังจะมาทับพื้นที่ของพี่น้องชาวกะเหรี่ยง

“ชาวกะเหรี่ยงอยู่มาก่อน อุทยานฯกำลังจะมาทับที่ของพี่น้อง กรณีกะเหรี่ยงบ้านกลาง อ.แม่เมาะ อยู่มาร้อยกว่าปีก่อนกฎหมายใดๆ ก่อนป่าไม้จะประกาศด้วยซ้ำไป สิ่งสำคัญก็ต้องกลับมาหลักการเดิมคือการประกาศพื้นที่อนุรักษ์ต่างๆ ชุมชนเห็นร่วมอยู่แล้วที่จะมีการอนุรักษ์ แต่จะทำอย่างไรให้พื้นที่ที่เขาดูแลมาร้อยๆปีและมันดีอยู่แล้ว ประชาชนก็อยากจะออกความคิดเห็นของตัวเอง กันพื้นที่ทำกินที่อยู่อาศัยออก ทำให้ชัดเจนว่าพื้นที่อุทยานอยู่ตรงไหน พื้นที่ประชาชนอยู่ตรงไหน แต่ถ้าประกาศทับพื้นที่ประชาชน ผมคิดว่าประชาชนมีเหตุผลที่ออกมาคัดค้านยืนหยัดในหลักสิทธิของชุมชน” นายมานพ กล่าว

นายสมชาต รักษ์สองพลู ผู้ใหญ่บ้านบ้านกลาง หมู่ 5 ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง ซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศเขตอุทยานฯในครั้งนี้ กล่าวว่าในวันที่ 2 กันยายน ชาวบ้านกว่า 10 หมู่บ้านจะร่วมหารือกันว่าจะดำเนินการอย่างไรกับกรณีที่อุทยานฯเตรียมเปิดรับฟังความคิดเห็น เพราะการที่กรมอุทยานฯระบุเหตุผลว่าต้องรีบประกาศอุทยานฯเนื่องจากมีการลักลอบตัดไม้ทำลายป่านั้น เป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงและโยนควาผิดให้ชาวบ้านเพื่อทำให้สังคมเข้าใจว่าชาวบ้านดูแดลเป่ากันเองไม่ได้

“เราดูแลป่าไม้กันมานับร้อยๆปี จนเหลือป่าผืนใหญ่ก่อนที่อุทยานฯจะเข้ามาเสียอีก ผมถามว่าการที่อุทยานฯไปประกาศว่ามีการลักลอบตัดไม้ แล้วทำไมท่านถึงไม่จัดการ ผมเห็นในพื้นที่อุทยานฯอื่นๆที่ประกาศเป็นอุทยานฯไปแล้วก็มีการลักลอบตัดไม้และการลักลอบค้าสัตว์ป่า เพราะฉะนั้นอย่ามาบ่ายเบียงเพื่อให้สังคมเข้าใจผิด เพราะแท้ที่จริงแล้วมันก็แค่ข้ออ้างที่พวกคุณอยากเข้ามาควบคุมและจัดตั้งอุทยานฯ การใช้ข้ออ้างแบบนี้ผมว่ายิ่งทำให้สถานการณ์ย่ำแย่ลงไปอีก เพราะให้ร้ายกัน”พ่อหลวงบ้านกลาง กล่าว

นายสมชาติกล่าวว่า ประเด็นที่ชาวบ้านติดใจมากก็คือในแผนที่ที่จะใช้แนบท้ายประกาศกฤษฏีกา เพราะแผนที่ฉบับที่อุทยานฯเตรียมประกาศนั้นเป็นคนละฉบับที่เคยตกลงไว้กับชุมชน โดยชุมชนพยายามยืนยันแผนที่ฉบับเมื่อปี 2563 ที่ชาวบ้านหมู่บ้านต่างๆได้ร่วมสำรวจกับอำเภอและอบต.รวมถึงอุทยานฯ แต่ปรากฏว่าอุทยานฯกลับไปใช้แผนที่เก่าเมื่อปี 2542 ซึ่งอุทยานฯทำขึ้นมาเองโดยไม่รับฟังเสียงชาวบ้าน และแผนที่ดังกล่าวทับซ้อนกับพื้นที่ทำกินและที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน รวมทั้งไม่ยอมกันพื้นที่ป่าจิตวิญญาณของชุมชนออก

นายธนากร สิงห์เชื้อ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท (เตรียมการ) กล่าวว่า อุทยานเตรียมการถ้ำผาไทย เตรียมการเพื่อประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติตั้งแต่ปี 2532 พื้นที่เดิมที่จะดำเนินการนั้น มี 7.5 แสนไร่ แต่เมื่อลงพื้นที่ เดินสำรวจร่วมกับชาวบ้าน และผู้นำชุมชนต่างๆ เพื่อจะกันพื้นที่ ทั้งเป็นป่าอนุรักษ์ ป่าชุมชน เพื่อเป็นไปตามมาตรา 8 ในพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)อุทยานแห่งชาติแล้ว เหลือพื้นที่ที่จะต้องประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเพียง 4.4 แสนไร่

"สำหรับพื้นที่ทั้งหมด ก็ได้ทำความเข้าใจกับชาวบ้านทั้งหมดแล้ว ส่วนพื้นที่ที่ได้กันออก มี 7 ชุมชน 2 อำเภอ คือ อ.แม่เมาะ กับ อ.งาว ซึ่งเป็นที่อยู่เดิมของกลุ่มชาติพันธุ์หลายหมื่นไร่ ขอเรียนว่าอุทยานไม่ได้มีอคติกับชาวบ้านกลุ่มพื้นที่ใด และพยายามทำความเข้าใจกับทุกกลุ่ม เพื่อให้การประกาศพื้นที่อุทยานแห่งชาติครั้งนี้ไม่มีปัญหา และเป็นที่ยอมรับกับทุกฝ่าย"นายธนากร กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'คนอยู่กับป่า' นัดรวมตัวใหญ่ รับครม.สัญจร ยื่นนายกฯ ค้าน พ.ร.ฎ.ของกรมอุทยานฯ

เครือข่ายสมัชชาชุมชนคนอยู่กับป่า(สชป.) ได้นัดรวมตัวกันประมาณ 3,000- 5,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่มีเชื้อสายชาติพันธุ์ เช่น ม้ง กะเหรี่ยง

'รองอธิบดีอุทยานฯ' นำทีมจับ 'ลัทธิประหลาด' ตั้ง 3 ข้อหา

'รองอธิบดีกรมอุทยานฯ' นำทีมจับ 'ลัทธิประหลาด' กะเหรี่ยงผมยาว บุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ พบต่างด้าว 29 ราย คนไทย 1 คน

'ลุงโชค วังน้ำเขียว' เปิดใจแทนชาวบ้านโดนหลอกมา 43 ปี กลับถูกตราหน้าเป็นผู้บุกรุก

จากกรณี กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดรับฟังความเห็นในการเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานฝั่ง จ.นครราชสีมา และปราจีนบุรี 265,286.58 ไร่ ออกจากการเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ตั้งแต่วันที่ 28 มิ.ย.-12 ก.ค. 2567 ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ว่าจะเอื้อประโยชน์ให้นายทุน จนมีการติดแฮชแท็ก #Saveทับลาน ในโซเชียลมีเดียอย่างกว้างขวาง

'ปชป.' ชี้ปัญหา 'ทับลาน' ต้องแยกปลาออกจากน้ำ ดำเนินคดีนายทุนรุกป่า คืนสิทธิชาวบ้าน

นายประพฤติ ฉัตรประภาชัย นักวิชาการด้านกฎหมาย และอดีตผู้สมัคร สส. กรุงเทพมหานคร เขตบางกะปิ พรรคประชาธิปัตย์ ได้แสดงความเห็นผ่านเฟสบุ๊กว่า

'พัชรวาท' สั่ง 3 ข้อเร่งด่วน แนวทางแก้ปมพิพาทป่าทับลาน

พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า จากกรณีกรณีปัญหาพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานที่มีประชาชนแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวางนั้น

นายกฯ ลงพื้นที่สังขละบุรี ตรวจเยี่ยมชายแดนตามกำหนดการเดิม หลังเกิดเหตุปะทะฝั่งเมียนมา

นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี เปิดเผยต่อกรณีกองกำลังไม่ทราบฝ่าย ใช้อาวุธหนักโจมตีเมืองพญาตองซู ซึ่งอยู่ตรงข้ามบ้านพระเจดีย์สามองค์ หมู่ 9 ต.หนองลู อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี และระหว่างเกิดเหตุมีผู้หลบหนีกว่า 100 คน ข้ามชายแดนมาอาศัยอยู่ตามริมถนนพื้นที่บ้านพระเจดีย์สามองค์เป็นการชั่วคราว