แผ่นดินไหวเชียงใหม่ ขนาด 3.3 รู้สึกสั่นไหวบริเวณ อ.พร้าว เกิดจากกลุ่มรอยเลื่อนมีพลัง

17 ส.ค.2566 - ดร.ชมภารี ชมภูรัตน์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา เปิดเผยว่า กรมอุตุนิยมวิทยา โดยกองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว ออกประกาศเรื่อง แผ่นดินไหวที่ ต.แม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ระบุว่า เมื่อวันที่ 17 ส.ค. 2566 เวลา 09.26 น. เกิดแผ่นดินไหว จุดศูนย์กลางอยู่บริเวณ ต.แม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ที่ละติจูด 19.175 องศาเหนือ ลองจิจูด 99.206 องศาตะวันออก ขนาด 3.3 ความลึก 4 กิโลเมตร ได้รับแจ้งรู้สึกสั่นไหวบริเวณ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ให้ข้อมูลว่า ได้รับแจ้งจากประชาชนผ่านเว็บไซต์ earthquake.tmd.go.th ว่ารับรู้ถึงแรงสั่นไหวชัดเจน ที่บริเวณ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ เบื้องต้นจากการตรวจสอบพบว่าเกิดจากกลุ่มรอยเลื่อนแม่ทา ซึ่งเป็น 1 ใน 16 กลุ่มรอยเลื่อนที่มีพลัง ส่วนเหนือของรอยเลื่อนวางตัวในทิศเหนือ-ใต้ พาดผ่านพื้นที่ อ.พร้าว อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ข้อมูลจากกรมทรัพยากรธรณีระบุว่า ส่วนเหนือของรอยเลื่อน อ.พร้าว แผ่นดินไหวขนาดเล็ก และปานกลางเกิดขึ้นเป็นประจำ โดยเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 ต.ค. 2565 มีศูนย์กลางที่ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ขนาดแผ่นดินไหว 4.1 ประชาชนรู้สึกได้ทั่วจังหวัดเชียงใหม่ พบความเสียหายเล็กน้อย

อย่างไรก็ตาม กรมอุตุนิยมวิทยาจะติดตามและรายงานสถานการณ์ต่อไป ขอให้ประชาชนติดตามประกาศอย่างใกล้ชิดได้ทางเว็บไซต์กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา earthquake.tmd.go.th เฟซบุ๊กและแพล็ตฟอร์ม X : EarthquakeTMD โทรศัพท์หมายเลข 0 2366 9410, 0 2399 0969, 0 2399 4547 และสายด่วน 1182 ตลอด 24 ชั่วโมง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมอุตุฯ อัปเดตพายุโซนร้อน 'พระพิรุณ' เตือน 33 จังหวัด เจอฝนตกหนัก 60-70%

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง พายุ “พระพิรุณ” ฉบับที่ 6 ระบุว่า เมื่อเวลา 17.00 น. ของวันนี้ (22 ก.ค. 67) พายุโซนร้อน “พระพิรุณ” บริเวณอ่าวตังเกี๋ย ประเทศจีน หรือที่ละติจูด 20.2 องศาเหนือ

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 5 อัปเดตเส้นทางพายุโซนร้อน 'พระพิรุณ'

นางสาวกรรวี สิทธิชีวภาค อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุ “พระพิรุณ” ฉบับที่ 5 (145/2567) โดยมีใจความว่า

อุตุฯ เตือนฝนฟ้าคะนอง 36 จังหวัด รับมือท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ประกอบกับพายุโซนร้อน

กรมอุตุฯ ประกาศฉ.4 พายุพระพิรุณขึ้นฝั่งจีนตอนใต้ 21-23 ก.ค. ไม่ส่งผลกระทบไทย

พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือด้วยความเร็วประมาณ 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำ