เครือข่ายชาวเลอันดามัน รวมตัวกันยื่นหนังสือ เรียกร้องให้ผู้ว่าภูเก็ตทบทวนการอนุญาตให้เอกชนเช่าที่ดินเพื่อก่อสร้างโรงแรม ให้แก้ไขภายใน 15 วัน
11 ส.ค.2566 - เครือข่ายชาวเลอันดามันและเครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง รวมตัวกัน กว่า 20 คน รวมตัวกันยืนถือป้ายข้อความว่า " ชาวเล และ เต่าทะเลอยู่คู่หาดไม้ขาวมายาวนาน,รวมใจSAVE หาดไม้ขาวฯ และ ยื่นหนังสือแก่นายอานุภาพ รอดขวัญ ยอดระบำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต และยื่นหนังสือแก่ ว่าที่ ร้อยตรึ สมชาติ เตชถาวรเจริญ ส.ส.เขต 1 จังหวัดภูเก็ต พรรคก้าวไกล โดยมี นายพูนศักดิ์ จันทร์จำปี ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล นายจุลพงศ์ อยู่เกษ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล และ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมฯ บริเวณ ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
นางสาวอรวรรณ หาญทะเล เครือข่ายชาวเลอันดามัน กล่าวว่า การรวมตัวกันครั้งนี้เพื่อยื่นหนังสือเรียกร้องให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต และส.ส.จังหวัดภูเก็ต ตรวจสอบพื้นที่ ตำบลไม้ขาวอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นพื้นที่ประกอบกิจกรรมนอนหาดของชาวเลและเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวเลชนเผ่ามอร์แกนเป็นพื้นที่ประเพณีตั้งแต่บรรพบุรุษที่ยังดูแลรักษาร่วมกับ อุทยานแห่งชาติสิรินาถ แต่ เมื่อต้นปี2566 มีการปักเขตลวดหนาม ระบุว่าเป็นพื้นที่ของราชพัสดุและให้ เอกชนเช่าที่ดิน เพื่อทำโรงแรม ซึ่ง พวกเรา ขอให้ พิสูจน์สิทธิ์ที่ดินดังกล่าว ให้ชัดเจนว่าเป็นพื้นที่ราชพัสดุหรือพื้นที่อุทยานแห่งชาติสิรินาถ ต้องพิสูจน์สิทธิ์การถือครองที่ดินที่ชัดเจนให้กับชาวเลรับรู้ด้วยและให้คำนึงวิถีชีวิตของชาวเลการทำประมงพื้นบ้านและการวางไข่ของเต่าทะเล
จากนั้น แกนนำ เครือข่ายชาวเลอันดามัน อ่านคำแถลงการณ์ ปกป้องหาดไม้ขาวให้เต่ามะเฟืองและพื้นที่นอนหาดชาติพันธุ์ชาวเลผืนสุดท้าย โดยยื่นข้อเสนอรวม 4 ข้อ ดังนี้
ข้อ 1. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตเร่งทบทวนการอนุญาตให้เอกชนเช่าที่เพื่อสร้างโรงแรมเพราะจะส่งผลกระทบกับพื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรวมถึงพื้นที่วางไข่ของเต่ามะเฟือง และเขตพื้นที่นอนหาดตามวิถีวัฒนธรรมชาวเลผืนสุดท้าย และมีคำสั่งให้โรงแรมที่ได้เช่าพื้นที่ที่ต้องรื้อถอนเสารั้วลวดหนามออกและชะลอการดำเนินการใดๆจนกว่าการจะมีแนวทางการแก้ปัญหาเสร็จสิ้น
ข้อ 2.ให้กระทรวงการคลังยุติการดำเนินการอนุญาตให้เช่าที่ดินเพราะท่านจะถือเป็นผู้ทำลายล้างพื้นที่วางไข่ของเต่าและทำลายวิถีวัฒนธรรมชาวเลอันดามัน
ข้อ 3 .ให้กระทรวงวัฒนธรรมเร่งประกาศเป็นพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลประเพณีนอนหาชาวเล
ข้อ 4. ขอให้สื่อมวลชนและสังคมร่วมจับตาติดตามร่วมสื่อสารช่วยเรียกร้องไม่ให้รัฐเอื้อที่ดินชายหาดแห่งนี้ให้ทุนข้ามชาติให้เกิดความเป็นธรรมทางนโยบายกฎหมายและหยุดการใช้อำนาจทั้งจากรัฐและนายทุนผู้มีอิทธิพล
เครือข่ายชาวเลอันดามันและเครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.จังหวัดภูเก็ต)จะร่วมกับภาคีเครือข่ายและคนในสังคมที่ยังต้องการหาดไม้ขาวให้เต่าทะเลจะสู้ยืนหยัดบนหลักการสิทธิและกฎหมายที่สร้างสรรค์สันติและเป็นธรรมเพื่อรักษาแผ่นดินชายหาดไม้ขาวให้ชาวไทยชาวต่างชาติได้มาพักผ่อนให้ชาวเลได้ดำรงวิถีวัฒนธรรมให้สัตว์และพืชโดยเฉพาะเต่าทะเล ได้คงอยู่อย่างยั่งยืนสืบไปแต่หากไม่มีการดำเนินการแก้ไขปัญหาตามที่เรียกร้องภายใน 15 วันพวกเราจะไปเรียกร้องกับหน่วยงานรัฐส่วนกลางที่กรุงเทพฯ ต่อไปด้วยศรัทธาในพลังประชาชนและความเป็นธรรม พวกเราเชื่อมั่นว่าในวันนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นให้จังหวัดภูเก็ตและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหาเพื่อวางแผนพัฒนาพื้นที่หาดไม้ขาวให้ยั่งยืน
นายอานุภาพ รอดขวัญ ยอดระบำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า เรื่องนี้ จังหวัดภูเก็ตจะต้องได้รับรายงานจากนายอำเภอถลางและ จากธนารักษ์พื้นที่จังหวัดภูเก็ตในการเช่าที่ดิน ว่าให้ผู้ใดเช่าไปทำประโยชน์ใด และเรื่องที่เกิดขึ้นมีผลกระทบต่อประชาชนอย่างไร โดยในระดับจังหวัด จะดูแล ประชาชนให้ได้รับความเป็นธรรม ซึ่ง นายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต รับความเดือดร้อนของประชาชนทุกภาคส่วนทุกเรื่อง โดยตนจะสืบสวนข้อมูลและเสนอให้ผู้ว่า ฯภูเก็ตพิจารณาดูแลช่วยเหลือ ในเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน ถ้าได้ข้อมูลเร็วก็จะเร่งดำเนินการและโชคดีที่ส.สจังหวัดภูเก็ตได้เข้ามารับทราบในเรื่องนี้ด้วยจะได้ช่วยกันในระดับนโยบายระดับชาติ ซึ่ง จังหวัดภูเก็ตสามารถดำเนินการได้ในอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต โดยจะหาทางออกที่ดีให้กับทุกฝ่าย ที่สำคัญต้องดูแลระเบียบกฎหมายดำเนินการในอำนาจตัดสินใจของผู้ว่าฯ
ด้าน ว่าที่ ร้อยตรี สมชาติ เตชถาวรเจริญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต เขต 1 พรรคก้าวไกล กล่าวว่า ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต หลังจากรับเรื่องจากพี่น้อง ประชาชนจะนำเรื่องนี้ไปตั้งกระทู้ในสภาผู้แทนราษฎร และน่าจะเกี่ยวข้องกับ 2 กระทรวงหลัก คือ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและกระทรวงการคลังเพราะเป็นพื้นที่ราชพัสดุที่เกี่ยวข้องกับกรมธนารักษ์ โดยจะทำงานร่วมกับทางจังหวัดภูเก็ต ที่มีเป้าหมายคือช่วยเหลือประชาชนและเป็นพื้นที่ที่ต้องอนุรักษ์ไว้ คุ้มครองวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาติพันธุ์ชาวเลมอร์แกนและชาติพันธุ์อูรักลาโว้ย
จากนั้น เครือข่ายชาวเลอันดามันและเครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง ได้ยุติการรวมตัวกัน ในเวลา 15.30 น ท่ามกลางการดูแลรักษาความปลอดภัย และความสงบเรียบร้อย ของหน่วยงานความมั่นคง และเจ้าหน้าที่ตำรวจสภ.เมืองภูเก็ต
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แต่งชุด 'เคบายา' ทั้งเมืองภูเก็ต ฉลองยูเนสโกขึ้นมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ร่วมกับจังหวัดภูเก็ตจัดงานเฉลิมฉลองการได้รับประกาศ ต้มยำกุ้ง และ ชุดแต่งกาย เคบายา เป็นรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประเภทบัญชี รายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ
ประเพณีถือศีลกินผักภูเก็ต อัตลักษณ์แห่งศรัทธาสืบทอดมา 199 ปี
จังหวัดภูเก็ต พร้อมหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน คณะกรรมการอ๊าม (ศาลเจ้า) และองค์กรต่าง ๆ พร้อมใจกันจัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในงานประเพณีถือศีลกินผักจังหวัดภูเก็ต ประจำปี 2567 โดยมี นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล
ทร. ส่งเรือ ต.111 ช่วยชีวิตนักท่องเที่ยว 143 คน กลับเข้าฝั่งหลังติดเกาะเหตุคลื่นลมแรง
พลเรือตรีภุชงค์ รอดนิกร รองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 พร้อมด้วย นายหลี่ เฉิงหลง (Li Chenglong) หัวหน้าสำนักงานกงสุลจีนประจำจังหวัดภูเก็ตของสถานกงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำสงขลา ให้การต้อนรับ เรือต.111
ฝนถล่มภูเก็ต เฝ้าระวังดินโคลนถล่มตำบลกะรน ผวาซ้ำรอยจุดเดิม
เรือเอกเจด็จ วิชรศรณ์ นายกเทศมนตรีตำบลกะรน ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมพื้นที่ตำบลกะรนหลายจุด และได้อพยพประชาชน พื้นที่หมู่ที่ 2 ตำบลกะรนอำเภอเมือง
ภูเก็ต ขยับเตรียมรับมือฝนถล่ม 13-17 กันยา
นายศรัทธา ทองคำ รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ผู้อำนวยการจังหวัด เปิดเผยว่า ได้ลงนามหนังสือ
ศวอบ. ช่วยชีวิตเต่าทะเลเกยตื้น 4 ตัว ก่อนปล่อยกลับสู่ท้องทะเล
ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน(ศวอบ.) เปิดเผยว่า ในห้วงวันที่ 4-6 กันยายน 2567 พบเต่าทะเลเกยตื้นในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต รวม 4 ตัว ดังนี้