19 ก.ค.2566 - หลังจากที่พายุดีเปรสชั่น “ตาลิม” บริเวณประเทศเวียดนามตอนบนได้ลดกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงสลายตัว แต่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงยังพัดปกคลุมทะเลอันดามันภาคใต้และอ่าวไทย ซึ่งทำให้ฝนตกหนักติดต่อกัน 3 วันในพื้นที่ จ.ชุมพร ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่
โดยเฉพาะน้ำในคลองนาคราช ซึ่งเป็นคลองขุดใหม่ผันน้ำระบายลงสู่ทะเล เพิ่มสูงขึ้นและไหลแรงก่อนลงสู่ทะเล ทำให้ถนนที่ตัดผ่านคลองดังกล่าวตั้งอยู่บริเวณหมู่ 6 ตำบลขุนกระทิง อ.เมือง จ.ชุมพร ถูกน้ำไหลเชี่ยวซัดขาดความยาวประมาณเกือบ 10 เมตร รถทุกชนิดและประชาชนไม่สามารถสัญจรผ่านได้
โดยบริเวณถนนที่ถูกน้ำคลองซัดขาดดังกล่าวกำลังจะมีโครงการก่อสร้างสะพานข้ามคลองผันน้ำคลองชุมพร(กม.3+500) ผิวจราจรกว้าง 8 เมตร ความยาว 114 เมตร เชื่อมต่อถนนก่อสร้างผิวคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง 6 เมตร ไม่มีไหล่ทาง ความยาว 161 เมตร เริ่มสัญญาวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2566 สิ้นสุดสัญญาวันที่ 30 เมษายน 2568 ระยะเวลาก่อสร้าง 810 วัน วงเงินงบประมาณกว่า 25 ล้านบาท
ส่วนคลองชุมพรมีน้ำสูงขึ้นจากการไหลมารวมกันจากคลองอำเภอกระบุรี จ.ระนอง ส่งผลให้น้ำเอ่อล้นท่วมบ้านเรือนประชาชนที่อยู่ริมคลองในเขตตำบลบ้านนา ตำบลขุนกระทิง และบางหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลวังไผ่ อำเภอเมืองชุมพร ประชาชนขนย้ายสิ่งของใช้ และสัตว์เลี้ยงให้อยู่บนที่สูง
ขณะเดียวกันบริเวณสะพานข้ามคลองชุมพรหน้าวัดพระขวาง ตำบลขุนกระทิง น้ำเพิ่มระดับสูงถึงตัวสะพานข้ามถนน อีกทั้งมีเศษสวะกิ่งไม้ ใบหญ้า และขยะจำพวกขวดน้ำพลาสติก กล่องโฟมใส่อาหารลอยมาติดอยู่กับคานสะพานไม่สามารถไหลผ่านไปได้ โดยมีผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ได้ขับรถยนต์ออกสำรวจผลกระทบจากน้ำท่วมแล้ว
ส่วนที่ประตูระบายน้ำวัววัง-พนังตัก ตำบลบางลึก อำเภอเมืองชุมพร ยังสามารถรอรับน้ำจากคลองละมุและคลองท่าแซะ ได้อีกซึ่งยังไม่น่าวิตกมากนักเนื่องจากฝนได้หยุดทิ้งช่วงและเบาบางลงแล้ว
นอกจากนั้นยังเกิดน้ำป่าที่ไหลทะลักลงมาจากเทือกเขาส่งผลให้พื้นที่การเกษตร ทางสาธารณะ บ้านเรือนได้รับความเสียหาย ในพื้นที่ อ.ละแม อ.พะโต๊ะ อ.สวี และอ.ท่าแซะ อีกหลายหมู่บ้านเช่นกัน หน่วยงานเกี่ยวข้องเร่งสำรวจและให้ความช่วยเหลืออยู่ขณะนี้
ด้าน นายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เปิดเผยว่าจากสถานการณ์ฝนตกต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 16 ก.ค.66 ที่ผ่านมา ทำให้ระดับน้ำในคลองต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดชุมพร เพิ่มสูงขึ้นซึ่งอาจส่งผลให้บ้านเรือนประชาชนบริเวณที่ลุ่มได้รับผลกระทบ จึงสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อำเภอทุกอำเภอ แจ้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มต่ำบริเวณลำห้วยและลำคลอง ให้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำอย่างอย่างใกล้ชิด และขอให้แจ้งให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 3 เตือนฝนถล่มภาคใต้ คลื่นลมอ่าวไทย-อันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ฉบับที่ 3 (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567)
โฆษกศปช. เผยกรณี 'น้ำผุด' อ.เชียงดาว มอบหน่วยงานลงพื้นที่ศึกษาแนวทางใช้ประโยชน์
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ตามที่ ศปช. ได้เคยประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้เฝ้าระวังฝนตกหนักในพื้นที่ระหว่างวันที่ 20-24 พ.ย.ไปแล้วก่อนหน้านี้
คนกรุงร้องเพลงรอลมหนาวต่อ 'ภาคใต้' เจอมรสุมฝนถล่มหนัก
กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าในลักษณะทั่วไป
อธิบดีกรมอุตุฯ ออกประกาศฉบับ 9 ย้ำพายุหม่านหยี่ไม่มีผลต่อไทย
น.ส.สุกันยาณี ยะวิญชาญ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา