วงเสวนา ห่วงเด็ก 126 คนกลับพม่า 'ครูแดง' แนะรัฐเปิดใจกว้าง

หลายฝ่ายห่วงเด็ก 126 คนกลับพม่าปลอดภัยหรือไม่ นักกฎหมายชี้รัฐทำผิด “ครูแดง”แนะเปิดใจกว้าง ผอ.ศูนย์การเรียนไร่ส้มยกตัวอย่างเด็กได้ดีจาก รร.ไทยรัฐวิทยา 6 จบป.ตรีเปิดรร.สอนภาษาไทยในย่างกุ้ง

11 ก.ค.2566 - มีการจัดเสวนาออนไลน์เรื่อง “เด็กนักเรียนไม่มีเอกสารทะเบียนราษฎร์ อยู่ตรงไหนของกฎหมาย 3 ฉบับ คือพรบ.คุ้มครองเด็ก พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พรบ.คนเข้าเมือง โดยมีวิทยากรด้านสิทธิเด็กและนักการศึกษาเข้าร่วม ดำเนินรายการโดยฐปณีย์ เอียดศรีไชย

นางเตือนใจ ดีเทศน์ หรือ “ครูแดง” อดีตสว.เชียงราย และกรรมการผู้ก่อตั้งมูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พชภ.) กล่าวว่าจากข้อมูลล่าสุดในการประชุมที่ จ.เชียงราย มีข้อสรุปว่า เด็กนักเรียนโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 6 ซึ่งไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร์ 126 คน และถูกส่งกลับมายังเชียงรายเพื่อผลักดันกลับประเทศพม่า ขณะนี้ได้มีการส่งเด็กกลับไปแล้ว 59 เหลือ 67 คน และในจำนวนนี้มี 40 คนที่พ่อแม่จะมารับ ซึ่งที่ประชุมได้มีการพูดถึงกรณีที่เด็กบางส่วนเคยเรียนอยู่โรงเรียนชายแดนในจังหวัดเชียงรายก่อนที่จะไปเรียนที่ จ.อ่างทอง และ ตาม พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ได้สนับสนุนให้เด็กทุกคนได้เรียนหนังสือ ซึ่งพล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเห็นว่าควรเปิดโอกาสให้เด็กที่ยังต้องการเรียนหนังสือ ได้เรียนต่อตามความสมัครใจที่โรงเรียนชายแดน โดยขอให้เข้าเมืองมาใหม่อย่างถูกต้อง และผอ.เขตการศึกษาเชียงรายรับรองว่าจะหาโรงเรียนให้ได้แน่นอน สำหรับกลุ่มเด็กที่ไม่พบผู้ปกครอง จะให้คณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน หาผู้ปกครองที่สามารถจะเลี่ยงดูเด็กได้อย่างดี ให้เด้กได้รับการศึกษา

อดีตสว.เชียงรายกล่าวว่าในส่วนของภาพรวม ควรเน้นกฎหมายคุ้มครองเด็ก และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก นโยบาย Education for All ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) 2548 ซึ่งมีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อแก้ปัญหาการจัดการศึกษาให้แก่ผู้ที่ไม่มีเอกสารทะเบียนราษฎร์ สร้างความเข้าใจให้แก่สถานศึกษาในประเทศไทย ตนจึงเสนอว่ากระทรวงศึกษาธิการควรประชุมคณะกรรมการฯ เพราะขณะนี้ยังมีเด็กกลุ่มใหญ่ ทั้งที่มีรหัส G ของกระทรวงศึกษาธิการ และเด็กที่ไม่มีรหัส G ที่รับการศึกษาโดยองค์กรภาคประชาสังคมจัดตั้งศูนย์การเรียนตลอดแนวชายแดนไทยพม่า และจัดการเรียนเป็นภาษาที่เข้ากับเด็ก ภาษาชาติพันธุ์ และมีการเชื่อมโยงหลักสูตรกับพม่าและภาษาอังกฤษ

นางเตือนใจกล่าวว่า สำหรับ พรบ.คุ้มครองเด็กนั้น เด็กจากพม่าเข้ามาไทยเพื่อแสวงหาความปลอดภัย มีการศึกษา และเติบโตเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของอาเซียนและของโลก หากไทยได้เป็นผู้นำแนวคิดว่า เด็กที่อพยพเข้ามาหาเราจะมีพื้นที่ปลอดภัย มีการศึกษา มีหลักสูตรที่เข้ากับความเร่งด่วนและสถานการณ์ชีวิต อีกทั้งอาเซียนควรหาแนวทางร่วมมือสนับสนุนการศึกษาของเด็กในบริบทการเคลื่อนย้าย องค์กรของสหประชาชาติ UNICEF UNHCR ก็ควรให้การสนับสนุน

“ผู้ใหญ่ทุกหน่วยงานต้องเปิดใจกว้าง ก้าวข้ามข้อจำกัด กฎหมายควรส่งเสริมไม่ใช่เป็นข้อจำกัด” นางเตือนใจกล่าว

นายสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม กล่าวว่า พล.ต.อ.สุรเชษ หรือ“บิ๊กโจ๊ก” เน้นเรื่องกฎหมายคนเข้าเมือง แต่กรณีนี้มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องมี 3 เรื่อง สำหรับเรื่องการศึกษา เรามีมติครม. 2548 และระเบียบรับเข้าเรียน พศ. 2548 ให้คนทุกคนในประเทศไทยได้รับการศึกษา นโยบายนี้ไทยเรามองว่าการลงทุนทางการศึกษาเป็นการลงทุนที่ต่ำที่สุด ขยายโอกาสให้ทุกคนได้เรียน เลิกจำกัดพื้นที่ไม่ใช่เฉพาะในภูมิลำเนา ซึ่งเด็กกลุ่มนี้แม้ไม่มีเอกสารไม่มีหลักฐาน ก็สามารถเรียนได้โดยไม่จำกัดพื้นที่ ดังนั้นการจัดการศึกษาที่อ่างทอง จึงไม่ได้ผิดกฎหมาย การมองว่าเด็กต้องอยู่เฉพาะชายแดนนั้นไม่จำเป็น

นายสุรพงษ์กล่าวว่า ยังมีเด็กอีกนับแสนคนที่ไปเรียนที่สมุทรสาคร กทม. ที่ไม่ใช่พื้นที่ชายแดน ก็ให้เรียนเป็นปกติ และหากเรียนจบสูงก็สามารถไปต่างประเทศ มีความรู้ความสามารถก็สามารถ เป็นโอกาสที่เรามอบให้ ในเรื่องการเข้าเมือง หากไม่ใช่เด็กสัญชาติไทย เข้าเมืองผิดกฎหมาย

“เด็กเหล่านี้ผิดหรือไม่ อาจผิด แต่ ตม.ไม่เคยจับเด็กเพราะเด็กมาเองไม่ได้ หากจับต้องจับผู้ใหญ่ที่พาเข้ามา เมื่อเด็กเข้ามา ตอนนี้เราไม่พบความผิดกฎหมายอื่นของคณะครู การตรวจสอบของพม. และศธ. ก็ไม่มีพบความผิด เป็นเพียงการนำพามาเข้ามา การให้ที่พักพิง หากผิดว่า ผอ.นำเข้าเมืองผิดกฎหมาย แล้วสำหรับเด็ก ในคดีอาญาหากศาลยังไม่ตัดสินถึงที่สุดถือว่าบริสุทธิ์ เวลานี้ยังส่งกลับไม่ได้ ศาลยังไม่ได้ตัดสินว่าเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย หรือกลับในกรณีที่รับสารภาพ แต่กฎหมายก็ไม่ได้ให้อำนาจรัฐในการผลักดันใครกลับ นอกจากเป็นทหารที่มีคนล้ำเส้นพรมแดนเข้ามา”นายสุรพงษ์ กล่าว

นายสุรพงษ์กล่าวว่า กรณีนี้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถผลักดันกลับได้ ส่งกลับพม่า ต้องถามว่าเด็กเหล่านี้เป็นพลเมืองพม่าหรือไม่ รัฐพม่ามีอำนาจรัฐรับกลับหรือไม่ หากเขามิใช่ประชาชนพม่าเราก็ส่งไม่ได้ การส่งต้องรัฐต่อรัฐ การส่งกลับต้องปลอดภัย มีการดูแลที่ดี ปัจจุบันพม่ารบกัน มีสงคราม โรงเรียนไม่เปิด เด็กจำนวนมากไม่มีที่เรียน การส่งกลับนี้เด็กจะปลอดภัยหรือไม่

“ตั้งแต่มีมติครม. 2548 มีการให้เงินสนับสนุนการศึกษาเด็กโดยกระทรวงการคลัง โดยให้เด็กนักเรียนมีรหัส G Code ปัจจุบันมีประมาณ 8 หมื่นคน เป็นเด็กที่ไม่มีสัญชาติไทย แต่เป็นเลขที่ยืนยันบุคคลว่าเขาอยู่บนแผ่นดินไทย คนเราก็ต้องดูแล หากเราช่วยกันปัญหาก็จะค่อยๆ ได้แก้ไข การผลักดันกลับไม่ตรงกับสาเหตุ” ประธานมูลนิธิกล่าว

นายวีระ อยู่รัมภ์ ผู้อำนวยการศูนย์การเรียนไร่ส้มวิทยา อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ กล่าวว่าเด็กเหล่านี้รับการศึกษาเป็นไปตามนโยบายการบันทึกรหัส G และรายการทะเบียนราษฎร สำหรับเด็กเหล่านี้ การออกจากสถานศึกษา ควรหาโรงเรียนใหม่ให้ก่อนแล้วจึงย้ายมา แต่กรณีนี้เด็กต้องขาดโอกาสทางการศึกษา ไม่ได้เรียนหลายเดือน ควรแยกแยะว่าเด็กบางคนก่อนหน้าที่เคยเรียนที่ไหนมาก่อน เมื่อเกิดสุญญากาศก็ต้องกลับไปหาครอบครัว เด็กกลุ่มนี้ต้องการที่สุดคือโอกาสทางการศึกษาเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต เด็กเรียนจบไปก็มีชีวิตที่ดีขึ้น

ผอ.ศูนย์การเรียนไร่ส้มกล่าวว่า เคยพบเด็กที่เรียนจบจากโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 6 ได้เรียนต่อจนจบปริญญาและกลับไปเปิดโรงเรียนสอนภาษาไทยที่ย่างกุ้ง เป็นตัวอย่างชัดเจนว่าโอกาสในการศึกษาเป็นโอกาสพัฒนาคน การเปิดให้ทุกคนเข้าถึงการศึกษาซึ่งมีแล้วในระดับนโยบายของไทย แต่ปัญหาเกิดในทางปฏิบัติ

“สำหรับเด็กในลักษณะนี้ เราจะทำอย่างไรให้เข้ามาอย่างถูกต้อง เช่น ทำเขตการศึกษาชายแดน ทำให้ถูกต้องเพื่อป้องกันปัญหาในอนาคต ทำอย่างไรที่จะคุ้มครองเด็กในการศึกษาในประเทศไทย การทำวีซ่าอาจเป็นไปไม่ได้เพราะเด็กไม่ได้เป็นพลเมืองพม่า แต่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ มีความยากลำบากในการเข้าระบบกฎหมายของพม่า การเข้าเมืองผิดกฎหมายก็จะทำให้ทุกอย่างผิดไปหมด เด็กไม่รู้ บางคนมากับเพื่อน ติดมากับกลุ่มต่างๆ พม่าเวลานี้รบกันอยู่ เด็กแสวงหาที่ปลอดภัย ทำไมเด็กไปอยู่ จ.อ่างทอง เพราะเป็นโรงเรียนที่มีที่พัก มีอาหาร มีการสอน หลายกรณีก็อยู่ที่บ้านพัก หรือบวชเณรเรียนที่วัด ทำอย่างไรให้สิ่งเหล่านี้ถูกกฎหมาย จำเป็นต้องมองหลายๆ มุมเพื่อเป็นอนาคตของประเทศ ของโลก”นายวีระ กล่าว

ผู้อำนวยการศูนย์การเรียนไร่ส้มฯ กล่าวว่า เด็กๆ ที่เข้ามาเนื่องจากหนีภัยสงคราม เด็กๆ มีบาดแผลในใจที่เจ็บปวดมาก ต้องเยียวยาให้เด็กรู้สึกปลอดภัย สำหรับเด็กที่ออกมานานแล้ว พม่าไม่ได้สงบหลายปีที่ผ่านมา สำคัญที่สุดสำหรับคนเป็นพ่อเป็นแม่ คือหาที่ปลอดภัยสำหรับลูก” ผอ.ศูนย์การเรียน กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยายวัย 71 เปิดบ้านขายยาบ้าให้กลุ่มวัยรุ่น ได้กำไรเม็ดละ 7 บาท อ้างหาเงินรักษาตัว

นายฉัตรชัย เย็นทรวง ปลัดอำเภอ ฝ่ายความมั่นคง ที่ทำการปกครองอำเภอป่าโมก ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ป่าโมก เจ้าหน้าที่ อส. เข้าตรวจค้นปิดล้อม บ้านเป้าหมายในพื้นที่ ม 4 ตำบลเอกราชอ.ป่าโมก จ.อ่างทอง พบสภาพเป็นบ้านไม้ 2 ชั้น จากการตรวจค้นสามารถจับกุม นาง ทอง (นามสมมติ) อายุ 71 ปี

ชาวอ่างทอง สืบสานงานบุญโขลกแป้งขนมจีน ประเพณีเก่าแก่ 80 ปี

งานบุญขนมจีน สืบสารประเพณีโขลกแป้งขนมจีน ร่วมงานบุญใหญ่ อำเภอโพธิ์ทอง ที่สืบสานมานานกว่า 80 ปี  ที่วัดสว่างอารมณ์  ต.สามง่าม ระหว่าง วันที่ 11 – 13 ตุลาคม

ชาวอ่างทองเฮ! เงินหมื่นเข้าบัญชีแล้ว

ประชาชนกลุ่มเปราะบาง เฮดีใจ เงินหมื่นเข้าบัญชีแล้ว เผยจะนำไปใช้หนี ค่าน้ำค่าไฟ ที่เหลือเก็บไว้ใช้เป็นทุน ด้านคนที่ยังไม่ได้เงิน เผยชื่อตกหล่นสุดเศร้า เดินทางติดต่อธนาคารเพื่อถามเเรื่องขอสิทธิ

'อดีตสว.' แฉขบวนการขายสัญชาติให้ชาวเมียนมา จี้เร่งแก้ก่อนเสียกรุงครั้งที่3

นายสมชาย แสวงการ อดีตสมาชิกวุฒิสภา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุก ระบุว่า ขบวนการขายชาติ เร่งแก้ก่อนเสียกรุงครั้งที่3

'ชาวไทลื้อเชียงราย' วอน มท.1 เร่งช่วยให้สัญชาติไทย ครูแดงแนะตั้งหน่วยเฉพาะกิจดูแล

มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พชภ.) ได้นำสื่อมวลชนจากส่วนกลางกว่า 10 คนลงพื้นที่ชุมชนชาวไทลื้อบ้านร่มโพธิ์ทอง จังหวัดเชียงราย เพื่อขับเคลื่อนประเด็นผู้เฒ่าไร้สัญชาติภายหลังจากที่ผู้เฒ่ากลุ่มใหญ่ได้ร้องเรียน

ผู้เฒ่าไร้สัญชาติสุดเศร้า ตายก่อนได้บัตรประชาชนนับสิบราย เหตุกระบวนการยังล่าช้า

นางเตือนใจ ดีเทศน์ กรรมการผู้ก่อตั้งมูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พชภ.) น.ส.เพียรพร ดีเทศน์ เลขาธิการ พชภ.และคณะเจ้าหน้าที่ด้านสิทธิ พชภ. ได้จัดเวทีกระบวนการเพื่อสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้เฒ่าไร้สัญชา