พบโบราณสถานกลางทุ่งนา คาดอิทธิพลวัฒนธรรมเขมร ภาพสลักหินทรายสมบูรณ์

พบโบราณสถานขนาดใหญ่ กลางทุ่งนา คาดเป็นอิทธิพลวัฒนธรรมเขมร และภาพสลักหินทรายที่มีความสมบูรณ์อย่างมาก ชาวบ้านเชื่อเป็นพิธีกวนเกษียรสมุทรของเทพและมาร ขณะที่กรมศิลป์เร่งตรวจสอบ

8 ก.ค.2566 - น.ส.ทิพย์วรรณ วงศ์อัสสไพบูลย์ นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ 8 ขอนแก่น พร้อมนักโบราณคดี ยังคงร่วมกันลงพื้นที่สำรวจโบราณสถานโนนพระแท่น บ้านหนองโก ม.3 ต.ก้านเหลือง อ.แวงน้อย จ.ขอนแก่น หลังจากที่มีชาวบ้าน ทำหนังสือขอให้ตรวจสอบ หินทรายและศิลาแลงกลางทุ่งนาบ้านหนองโก

ซึ่งการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่นักโบราณคดีในครั้งนี้ มีนายช่วง วงษ์หาแก้ว อายุ 83 ปี เจ้าของที่นา และนายศรัญญู ภูเวียงแก้ว อายุ 54 ปี ผู้ใหญ่บ้าน และชาวบ้าน พาเจ้าหน้าที่เดินทางมาตรวจสอบจุดศูนย์รวมของหินทรายและศิลาแลง ซึ่งอยู่กลางทุ่งนาทางด้านทิศใต้ของหมู่บ้าน

นายช่วง กล่าวว่า เกิดมาและจำความได้ก็เห็นหินเหล่านี้วางอยู่บริเวณเนินดินกลางทุ่งนาแล้ว จนกระทั่งบิดาเสียชีวิต ซึ่งตลอดช่วงที่บิดามีชีวิตนั้น บิดากับชาวบ้าน ก็นำหินที่พบในทุ่งนานำขึ้นมาเรียงกันไว้ ชาวบ้านก็นำดอกไม้ ธุปเทียนมากราบไหว้ และบนบาน ขอในสิ่วที่ปรารถนา ซึ่งสมหวังทุกคน จนกลายเป็นประเพณีประจำหมู่บ้าน โดยในทุกวันพุธแรกของเดือนเมษายน ชาวบ้านจะร่วมกันทำบุญ บวงสรวง และสักการะบูชา เพราะเป็นสถานที่ที่พบหินทรายและศิลาแลงจุดนี้ เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของคนหมู่บ้านตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน

“ลูกเคยมาบนและกราบไหว้ด้วยการนำพวงมาลัยมาถวายคู่ ขอให้การงานรุ่งเรือง ก็เจริญรุ่งเรืองจนทุกวันนี้ และในช่วงสงกรานต์ทุกปี ก็จะมีการร่วมทำบุญเบิกบ้าน จุดบั้งไฟก่อนเริ่มลงมือทำนา กลายเป็นประเพณีของหมู่บ้านจนถึงทฝปัจจุวัน และการที่มีเจ้าหน้าที่นักโบราณคดี มาตรวจสอบก็เป็นการดี จะได้รู้ว่า หินที่พบในทุ่งนามาตั้งแต่100 กว่าปีนั้น ถ้าเป็นหินศักดิ์สิทธิ์จริง จะได้ร่วมกันดูแลรักษาให้ลูกหลานได้ชมและได้รับความรู้”

ด้าน นายศรัญญู ภูเวียงแก้ว ผู้ใหญ่บ้าน กล่าวว่า เห็นสถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มาตั้งแต่เกิด เพราะในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ชาวบ้านจะถือเอาวันพุธแรกเป็นวันบวงสรวง และมีการจุดบั้งไฟ ซึ่งสืบทอดต่อกันมาตั้งแต่ยุคบิดามารดามาจนปัจจุบัน อีกทั้งในช่วงที่ตนยังไม่รับตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน ก็เกิดปาฏิหาริย์ เพราะชาวบ้าน ช่วยกันย้ายนำหินไปไว้ข้างโรงเรียน เพื่อที่จะให้ชาวบ้านได้สักการะในที่สาธารณะ ปรากฎว่าเมื่อย้ายหิน เจ้าของที่นาจุดที่พบหินก็ไม่สบายอย่างหนัก ทุกคนจึงคิดว่าน่าจะเกิดจากการย้ายหิน ออกจากจุดที่ตั้ง จึงย้ายกลับมา คนป่วยก็หายเป็นปกติ ยิ่งสร้างความเลื่อมใสศรัทธา เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้านตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่มาจนปัจจุบัน

" ในสมัยพ่อแม่ ไม่มีใครแจ้งเจ้าหน้าที่ แต่ในยุคปัจจุบัน ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไป ลูกหลานของคนในหมู่บ้านได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่สำนักศิลปากรที่ 8 ขอนแก่น มาตรวจสอบ เพราะถ้าเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบและยืนยันว่า หินจากโบราณสถาน ชาวบ้านก็จะยิ่งเชื่อและศรัทธามากขึ้น และคงไม่มีการเคลื่อนนำไปไว้ที่อื่นเด็ดขาด ชาวบ้านเองจะร่วมกันดูแลรักษา ไม่ให้สูญหาย ทั้งความสะอาดและสถานที่เป็นอย่างดี และเชื่อว่า ไม่มีใครกล้าเอาหินไปอย่างแน่นอน"

ขณะที่ น.ส.ทิพย์วรรณ วงศ์อัสสไพบูลย์ นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ 8 ขอนแก่น กล่าวว่า เบื้องต้นจากการตรวจเช็คและวัดหินทรายที่มีทั้งหมด 16 ชิ้นแต่ละชิ้นยาวประมาณ 1.5 - 2 เมตร และตรวจวัดศิลาแลงที่มีอยู่ประมาณ 30 ชิ้น โดยได้แนะนำชาวบ้านและผู้นำชุมชนว่า ห้ามให้นำธูปเทียน ปักลงบนหินและศิลาแลงเด็ดขาด เพราะจะกระทบความสมบูรณ์ของหิน ให้ผู้นำแนะนำชาวบ้านท่ากราบไหว้และทำบุญว่า ให้วางสิ่งของหรือปักธูปเทียนในจุดอื่น รวมทั้งห้ามนั่งหรือเหยียบหินด้วยเช่นกัน

"จุดที่พบหินทรายและศิลาแลงจุดนี้ เป็นโบราณสถานที่เรียกว่าอาคารภายใต้อิทธิพล ทางวัฒนธรรมเขมร จากลักษณะของรูปแบบ ภาพสลักที่พบเป็นภาพสลักหินทราย สันนิษฐานว่า ถ้าสมบูรณ์จะเป็นภาพของการกวนเกษียรสมุทร จะแบ่งเป็น 2 ฝั่งคือฝั่งยักษ์กับฝั่งเทพ ที่จะจับตัวพญานาค ซึ่งตามตำนานกล่าวว่า ในสมัยโบราณกาล เทพกับอสูรมักจะสู้รบกันเสมอๆ ต่างก็ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ จนเหล่าเทพตายลงเป็นจำนวนมาก พวกเทพจึงมาขอให้พระนารายณ์ช่วย ท่านจึงให้ทำการกวนเกษียรสมุทรเพื่อจะได้มีน้ำอมฤตมาให้พวกเทพได้ดื่มและจะได้มีชีวิตเป็นอมตะ แต่การกวนเกษียรสมุทรซึ่งเป็นงานใหญ่ ต้องให้พวกอสูรร่วมมือด้วย จึงมีการเจรจาพักรบกัน"

น.ส.ทิพย์วรรณ กล่าวต่ออีกว่า จากลักษณะของภาพสลักที่ปรากฏ กำหนดอายุเบื้องต้นอยู่ใน พุทธศตวรรษ ที่ 17-18 ซึ่งอยู่ในช่วง ศิลปะนครวัดถึงบายล ในตอนแรกสันนิษฐานว่าเป็นทัพหลัง แต่ด้วยขนาดความยาวที่ต่อเนื่องกัน จึงขอศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม แต่ในเบื้องต้นยืนยันได้ว่าตรงนี้จะเป็นส่วนประกอบของสถาปัตยกรรมตรงบริเวณใด จากที่พบจะมีภาพของคนที่จับวัตถุคล้ายๆทรงกระบอก ที่ทรงกระบอกนี้คือตัวพญานาค จะเห็นได้ว่ามีการจับทั้งฝั่งด้านซ้ายและฝั่งด้านขวา ซึ่งจะแบ่งเป็นฝั่งยักษ์และฝั่งเทพ จากที่เราเห็นทางด้านหน้าถ้าเป็นภาพที่สมบูรณ์ เราจะเห็นไปจนถึงส่วนหาง และอีกทางฝั่งนึงจะเห็น เศียรนาค แต่ว่ายังไม่พบชิ้นส่วนที่ขาดหายไป ซึ่งโดยทั่วไป ที่เราเห็นอยู่ตรงนี้จะเป็นฝั่งเทพ และอีกทางฝั่งที่อยู่ทางด้านนั้นจะเป็นฝั่งยักษ์

"ถ้าดูจากทางด้านทิศเหนือ ของโบราณสถานแห่งนี้ น่าจะเป็นชุมชนโบราณที่เก่าแก่ได้ถึงก่อนประวัติศาสตร์ เพราะว่าในบริเวณใกล้เคียงเราได้สำรวจพบชุมชนโบราณในช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ด้วย ในหลายๆแห่งที่อยู่ในเขต อ.แวงน้อย,แวงใหญ่ และ อ.ชนบท จากข้อมูล ในพื้นที่ในหมู่บ้าน เคยมีการขุดพบเศษภาชนะดินเผา ตรงบริเวณโรงเรียนซึ่งเป็นจุดที่สูงที่สุดของเนิน และจากภาพถ่ายทางอากาศพบว่า ตัวของโบราณสถานล้อมรอบเนินหมู่บ้านในปัจจุบันน่าจะเคยมี ร่องรอย ในลักษณะของคูน้ำ ที่ล้อมรอบ ตัวเป็นคนโบราณอยู่ ซึ่งในปัจจุบันได้เปลี่ยนสภาพเป็นสระน้ำ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการตั้งถิ่นฐานที่มีมานานก่อนหน้านั้นก่อนที่จะมีการสร้างโบราณสถานแห่งนี้ แสดงให้เห็นถึงการมีชุมชนโบราณอาศัยอย่างต่อเนื่อง ก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ประมาณ 2,500 ปีที่แล้ว ซึ่งสถานที่ตรงนี้ก็เป็นโบราณสถาน ถ้าเทียบกับปัจจุบันคือวัด หรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์"

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับสึกทันที! 2 พระสงฆ์ 4 สามเณร มั่วสุมเสพยาในกุฏิวัด 2 แห่งที่ขอนแก่น

นายเสกสม ลินดาพรประเสริฐ นายอำเภอพล จ.ขอนแก่น นำกำลังเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง เข้าทำการตรวจค้นที่ วัดศุภนิมิตร ม.5 บ.โสกนกเต็น อ.พล จ.ขอนแก่นหลังได้รับการร้องเรียนว่า พระตุ๋ย ซึ่งเป็นลูกวัด มีพฤติกรรมเสพยาเสพติดอยู่เป็นประจำ มีวัยรุ่นเข้าออกวัดอยู่บ่อยครั้ง ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.พล วางแผนเข้าปิดล้อมตรวจค้นวัดศุภนิมิต

ทลายร้านนวดกลางเมืองขอนแก่น จัดหาชาวลาววัย 17 ค้ากามชายรักชาย

พ.ต.ท.โสรัจ วิชยสุทธิ์ สวญ.ตม.จว.ขอนแก่น พร้อมด้วย ร.ต.อ.สรายุทธ พิลามา รอง สว.ตม.ขอนแก่น สนธิกำลังร่วมตำรวจท่องเที่ยว สภ.เมืองขอนแก่น,แรงงานจังหวัด,พม.ขอนแก่น,กอ.รมน.ขก. เข้าทำการตรวจค้นร้านนวด "อโดร่า" ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 410/1

นอภ. เร่งสอบเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านไม่โปร่งใส หลังชาวบ้านร้อง 6 ครั้งเรื่องเงียบ

จากกรณีที่นายวิญญู ปอสี อายุ 48 ปี อยู่บ้านเลขที่ 27 ม.7 ต.หนองสองห้อง อ.หนองสองห้อง จ.ขอนแก่น ร้องเรียนต่อสื่อมวลชน หลังพบความผิดปกติเลือกตั้ง ผู้ใหญ่บ้าน มีการร้องเรียนที่ศูนย์ดำรงธรรม อ.หนองสองห้อง

วธ.ตั้งศูนย์ประสานงานโบราณสถานน้ำท่วม

24 ส.ค. 2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ติดตามผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยของโบราณสถานในพื้นที่ภาคเหนืออย่างใกล้ชิด ในส่วนของสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ได้รา

คนขอนแก่นหนุนแจกเงินสด แทนดิจิทัลวอลเล็ต ไม่ต้องเขินทำตามลุงตู่

คนขอนแก่นเห็นด้วยรัฐบาล "อุ้งอิ้ง" แจกเงินสดกระตุ้นเศรษฐกิจ พร้อมแนะจ่ายรายงวด เพราะขนาดคนถูกรางวัลที่ 1 ยังใช้เงินหมดและกลับมาจนเหมือนเดิม

แกนนำแดงอีสาน บอกคนขอนแก่นเหมือนถูกหวย ลงทะเบียนรอรับเงินหมื่นง่ายนิดเดียว

นางพรรณวดี ตันติศิรินทร์ ที่ปรึกษาเครือข่ายกลุ่มสตรี 20 จังหวัดภาคอีสาน และอดีตแกนนำคนเสื้อแดงและแนวร่วม นปช.ขอนแก่น นำคณะทำงาน รศ.นพ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ตั้งจุดบริการประชาชนและช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่สำหรับกา