ชาวแม่สะเรียง จ่อพบผู้ว่าฯ ทวงคำตอบค้านเหมือง ข้องใจให้ประทานบัตรเขตป่าสงวน

ชาวแม่สะเรียงเตรียมเคลื่อนพบ ผวจ.แม่ฮ่องสอน ทวงถามคำตอบค้านเหมือง ข้องใจให้ประทานบัตรเขตป่าสงวนต้นไม้แน่นแต่ระบุเป็นป่าเสื่อมโทรม

3 ก.ค.2566 - ดร.ทองทิพย์ แก้วใส แกนนำประชาชนคัดค้านการสร้างเหมืองในพื้นที่ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน เปิดเผยถึงความคืบหน้าการคัดค้านประทานบัตรเหมืองในพื้นที่ป่าสงวนในอำเภอแม่ะสะเรียงว่า เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ที่ผ่านมาได้มีการประชุมผู้นำชุมชนโดยได้มีมติว่าในที่ 6 กรกฎาคมนี้ ชาวบ้านจะเดินทางไปพบผู้ว่าราชการ จ.แม่ฮ่องสอน อุตสาหกรรม จ.แม่ฮ่องสอน และสำนักงานป่าไม้ จ.แม่ฮ่องสอน

“กำลังดูอยู่ว่าผู้ว่าฯ จะว่างให้เข้าพบหรือไม่ เราต้องการสอบถามความคิดเห็นของผู้ว่าฯ กรณีที่ชาวบ้าน อ.แม่สะเรียง ออกมาคัดค้านเหมืองแร่ ท่านคิดเห็นอย่างไร ในส่วนอุตสาหกรรม จ.แม่ฮ่องสอน นั้น เรามีประเด็นสงสัยเรื่องกำหนดการรับสัมปทาน การขอประทานบัตรถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ หลักฐานต่างๆครบหรือเปล่า อีกประเด็นคือการเสนอให้คัดค้านภายใน 30วัน ผู้ได้รับผลกระทบทางอื่นสำนักงานอุตสาหกรรมตีความอย่างไร ที่เขาไม่รับคัดค้าน ในประเด็นนี้ยังติดใจอยู่ และสุดท้ายที่จะไปพบคือที่สำนักงานป่าไม้ จ.แม่ฮ่องสอน เราติดใจประเด็นเรื่องที่ระบุว่าป่าไม้ใน อ.แม่สะเรียง เป็นป่าเสื่อมโทรม นี่คือเป้าหมายในการสอบถามวันที่ 6 กรกฎาคม" ดร.ทองทิพย์ กล่าว

นอกจากนี้ แกนนำประชาชนคัดค้านการทำเหมืองแร่ใน อ.แม่สะเรียง ยังกล่าวด้วยว่า สิ่งที่ทางกลุ่มจะทำเชิงรุกในช่วงนี้หากต้องเข้าร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็นคือ จะเร่งทำความเข้าใจกับชาวบ้านทั้ง 2 หมู่ (หมู่ 3 และหมู่ 13) ให้เห็นผลกระทบการทำเหมืองแร่สร้างความเข้าใจเพื่อให้ชาวบ้านร่วมคัดค้านอย่างเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ และจะทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์ผลกระทบจากการทำเหมืองแจกให้ชาวบ้านได้อ่านทำความเข้าใจด้วย

ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวได้ทำการสำรวจผืนป่าที่กรมป่าไม้ให้ประทานบัตรทำเหมือง พบว่าป่าไม้ดังกล่าวมีความอุดมสมบูรณ์มาก โดยมีต้นไม้ใหญ่น้อยขึ้นอยู่จำนวนมากซึ่งในอดีตพื้นที่บริเวณนี้แม้เคยมีการทำเหมืองไปแล้วก็ตาม แต่ในปัจจุบันธรรมชาติได้ฟื้นตัวและได้กลายเป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำแม่สะเรียงซึ่งเป็นเส้นเลือดสำคัญของชุมชนแม่สะเรียง นอกจากนี้บริเวณใกล้เคลียงยังมีโรงเรียนและโรงพยาบาลอยู่ด้วย

ด้านนายพัทธพงษ์ อ่างทอง วิศวกรชำนาญการประจำสำนักงานอุตสาหกรรม จ.แม่ฮ่องสอน กล่าวว่า หลังจากครบ 30วันประกาศให้ผู้มีที่ดินทำกินภายในพื้นที่ซึ่งบริษัทเอกชนจะขอประทานบัตรแสดงตัวแล้วนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานงานผู้ใหญ่บ้านทั้ง 2 หมู่ ส่วนจะได้วันไหน สถานที่ไหนขึ้นอยู่กับทางผู้ใหญ่บ้านจะเห็นด้วย

“เรียกว่าอยู่ในขั้นตอนของ 60 วันแรก ซึ่งหากไม่สามารถจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นได้ก็จะเลื่อนไปอีก เรียกว่า 60วันหลัง ได้ยินมาว่าประชาชนบางส่วนไม่อยากให้จัดเวทีรับฟังความเห็น โดยที่ผ่านมากลุ่มคัดค้านมีการยื่นหนังสือมาแล้วครั้งเดียว และมีแกนนำเข้ามายื่นหนังสืออีกครั้ง ซึ่งทางเราเองก็รอที่จะตอบคำถามที่ชาวบ้านอยู่เช่นกัน" นายพัทธพงษ์ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปลูกพืชพันธุ์แห่งการต่อสู้ จารึกหายนะ 'เหมืองแร่ทองคำ'

กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด 6 หมู่บ้านรอบเหมืองทอง จ.เลย” จัดกิจกรรม “ปลูกป่าฟื้นฟูภูเขาคืนมา” ครั้งที่ 2   ลุยเดินแผนฟื้นฟูภาคประชาชนคืนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่ถูกย่ำยี เผยแม้เหมืองจะปิดไปแล้วแต่ผลสุ่มตรวจเลือดชาวบ้าน ยังเจอโลหะหนักในเลือด หวังรัฐตรวจเลือดครบทุกคน ชนะคดีสิ่งแวดล้อมแต่ยังไม่มีใครได้รับเงินเยียวยาตามคำสั่งศาล

เยาวชนกะเหรี่ยง เดือดร้อนหนัก! วอนช่วยเหลือตกเป็นเหยื่อแก๊งต้มตุ๋นหลอกเปิดบัญชีม้า

น.ส.แยมุย สายชลพิมาน ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงจากหมู่บ้านกลอเซโล ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่าลูกสาวตนเป็นผู้เสียหายจากแก็งค์หลอกลวงทางอินเตอร์เน็ต (สแกมเมอร์) ถูกหลอกให้เปิดบัญชีธนาคารแล้วนำไปใช้เป็นบัญชีม้า

สท. โวยรัฐไม่จริงจังแก้ 'แม่น้ำสาย' ขุ่นขาว คาดเหตุขยายเหมืองทองคำฝั่งพม่า

มูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ (Shan Human Rights Foundation-SHRF ) ได้เปิดเผยรายงานเกี่ยวกับสาเหตุที่แม่น้ำสายซึ่งไหลผ่านชายแดนอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และ เมืองท่าขี้เหล็ก ประเทศพม่า ขุ่นเป็นสีขาวมาว่า มลพิษในแม่น้ำสายอาจเป็นผลมาจากการขยายเหมืองทองคำภาคตะวันออกของเมืองสาด รัฐฉาน

นักวิชาการแนะแก้ 'แม่น้ำสาย' ขุ่นขาว หวั่นเปื้อนสารพิษ ติดตั้งจุดตรวจร่วมไทย-เมียนมา

กรณีประปาแม่สาย จังหวัดเชียงราย ที่มีปัญหาขุ่นขาวและมีความกังวลว่าจะสารพิษหรือโลหะหนักเจือปน อยู่ระหว่างการตรวจสอบของการประปาส่วนภูมิภาคที่คาดว่าใช้เวลา สัปดาห์ นักวิชาการแนะนำแก้ไขปัญหาระยะยาวร่วมกันในการติดตั้งจุดตรวจวัดร่วมกันของสองประเทศ เพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน