ฝนหลวงช่วยชีวิตเกษตรกรชุมพร หลังเจอวิกฤติภัยแล้งหนัก ทุเรียนยืนต้นตาย ผลผลิตลดฮวบ

จังหวัดชุมพรประสบภัยแล้งขั้นวิกฤติ หลังไม่ตกฝนทิ้งช่วงนานกว่า 3 เดือน อากาศร้อนจัด น้ำในลำคลองแห้งขอด แหล่งน้ำไม่เพียงพอ ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง พืชผลทางการเกษตรเสียหาย โดยเฉพาะทุเรียนที่ขาดน้ำมานานต่อเนื่อง ทำให้ผลร่วง ใบแห้ง ทยอยยืนต้นตายเป็นจำมากกว่า มีความเสียหายมากกว่า 100 ล้านบาทแล้ว

5 มิ.ย.2566 - หลังจากที่ นายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผวจ.ชุมพร ลงนามประกาศเขตประสบสาธารณภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ภัยแล้ง ลงวันที่ 31 พ.ค.66 ด้วยเกิดเหตุภัยแล้งเนื่องจากสภาวะฝนทิ้งช่วง สภาพอากาศที่แห้งแล้งติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้ปริมาณน้ำฝนและการกระจายของฝนน้อย ทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำ และทำให้เกิดภัยแล้งในพื้นที่ ซึ่งภัยดังกล่าวเป็นสาธารณภัย ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินและพื้นที่การเกษตร ในพื้นที่ อ.เมืองชุมพร อ.ท่าแซะ อ.สวี อ.ปะทิว อ.หลังสวน อ.พะโต๊ะ อ.ละแม รวมพื้นที่ประกาศเขตประสบสาธารณภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ภัยแล้ง 7 อำเภอ 47 ตำบล 141 หมู่บ้าน

จังหวัดชุมพรมีพื้นที่ทั้งหมด 3.75 ล้านไร่ เป็นพื้นที่การเกษตร 2.56 ล้านไร่ เป็นแหล่งผลิตไม้ผลที่มีชื่อเสียงของประเทศ โดยเฉพาะทุเรียน มังคุด และเป็นศูนย์กลางการตลาดทุเรียนของภาคใต้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดชุมพร ในปี 2563 มีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาประจำปีเท่ากับ 125,364 ล้านบาท เป็นลำดับที่ 5 ของภาคใต้ และลำดับที่ 23 ของประเทศ

ภาคเกษตรถือเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัด โดยเฉพาะการผลิตทุเรียน ปาล์มน้ำมันและยางพารา มูลค่าผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัวเท่ากับ 250,823 บาท ต่อคนต่อปี เป็นลำดับที่ 1 ของภาคใต้ และลำดับที่ 12 ของประเทศ

ด้านสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร รายงานว่ามีพื้นที่การเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งในปี 2566 จำนวน 261,296 ไร่ คาดว่าจะเสียหายจำนวน 69,831 ไร่ และหากสถานการณ์ฝนทิ้งช่วงยังคงดำเนินต่อไปคาดว่าพื้นที่การเกษตรจะยิ่งได้รับผลกระทบเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรง

ขณะที่ กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตร จังหวัดชุมพร เปิดเผยข้อมูลวิกฤติภัยแล้งที่มีผลกระทบต่อผลไม้โดยเฉพาะทุเรียนและมังคุดในพื้นที่ของจังหวัดชุมพรว่า ผลิตในฤดูกาล ปี 2566 ได้มีการประเมินสถานการณ์ผลผลิตของทุเรียน และมังคุด ซึ่งกำหนดจัดขึ้นจำนวน 3 ครั้ง ตลอดฤดูกาลผลิต โดยในครั้งแรกจัดขึ้นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2566 และครั้งที่ 2 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2566 และครั้งที่ 3 จะจัดขึ้นช่วงเดือนกรกฎาคม

"จังหวัดชุมพรในปี 2566 พบว่ามีพื้นที่ปลูกทุเรียน 279,254 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปี 2565 จำนวน 260,768 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 7.09 สำหรับมังคุด ในปี 2566 มีพื้นที่ปลูก 47,276 ไร่ ลดลงจากปี 2565 จำนวน 49,266 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 4.04 "

"จากการประเมินสถานการณ์ครั้งแรก ในระยะดอก พบว่าผลผลิตของทุเรียน และมังคุดเพิ่มขึ้นจากปี 2565 เนื่องจากปี 2565 มีปริมาณฝนตกชุก ทำให้ดอกหลุดร่วง ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตลดลง เมื่อก้าวเข้าสู่ปี 2566 สภาพต้นมีความสมบูรณ์ มีการสะสมอาหารเพียงพอ สภาพอากาศมีความเหมาะสม จึงทำให้มีปริมาณการออกดอกมาก "

"จากสถานการณ์ภัยแล้งสภาพอากาศร้อน ฝนทิ้งช่วง ปริมาณน้ำที่จะนำมาใช้ในสวนทุเรียนไม่เพียงพอ ส่งผลให้ทุเรียนหลุดร่วง จากเดือนมีนาคมที่ได้มีการประเมินสถานการณ์ว่าจะมีผลผลิต 408,491 ตัน แต่เมื่อผ่านช่วงวิกฤตฝนทิ้งช่วง สภาพอากาศร้อน ในหลายพื้นที่ปริมาณน้ำไม่เพียงพอ ทำให้ปริมาณผลผลิตลดลง ร้อยละ 17.52 เหลือ 337,376 ตัน ซึ่งทุเรียนจะเริ่มออกสู่ตลาดในช่วงเดือนมิถุนายน ถึงเดือนธันวาคม มีปริมาณมากที่สุดในช่วงวันที่ 21-30 มิถุนายน 2566 ปริมาณ 73,453 ตัน คิดเป็นร้อยละ 21.78 "

"สำหรับมังคุด จากสถานการณ์เมื่อเดือนมีนาคม คาดว่าจะมีผลผลิต 59,887 ตัน ส่งผลต่อปริมาณผลผลิตลดลงร้อยละ 10.38 เหลือ 53,670 ตัน โดยมังคุดจะเริ่มออกสู่ตลาดในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม มีปริมาณมากที่สุดในช่วงวันที่ 1-10 กรกฎาคม 2566 ปริมาณ 17,223 ตัน คิดเป็นร้อยละ 32.09 "

ด้านนายสินชัย พึ่งตำบล ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้ กล่าวว่าการทำฝนหลวงหรือฝนเทียมนั้นมีปัจจัยองค์ประกอบหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นความชื้น กำลังลม และข้อจำกัดของพื้นที่โดยเฉพาะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และจังหวัดชุมพร ซึ่งเป็นพื้นที่แคบ เมื่อทำฝนเทียมแล้วคนชอบพูดว่าฝนไปตกในทะเลหมด ซึ่งก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง เราจึงต้องมีการวางแผนอย่างรัดกุมเพื่อทำให้ฝนตกในพื้นที่ให้ได้ เพื่อท้องฟ้าจะได้มีความชื้น และจะทำฝนเทียมง่ายขึ้นในวันต่อๆไปด้วย

นายสินชัยกล่าวถึงห้วงระยะเวลาในการทำฝนเทียมว่า ได้รับมอบหมายจากท่านผู้ว่าราชการจังหวัดและอธิบบดีกรมฝนหลวงว่าให้อยู่ปฏิบัติการทำฝนหลวงจนกว่าจังหวัดชุมพร ฝนจะตกและพ้นวิกฤติภัยแล้ง.

นายพงษ์ศักดิ์ฏา รังวิเรนทร์ อายุ 44 ปี เกษตรกรชาวสวนทุเรียน ตำบลท่าแซะ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร บอกว่าตนเอง ปลูกทุเรียนไว้ ในพื้นที่ 4 ไร่ มากกว่า 100 ต้น ทุเรียนอายุ 3 ปี ซึ่งปีหน้าก็สามารถเก็บเกี่ยวได้แล้ว แต่ในปีนี้กลับประสบปัญหาภัยแล้งอย่างหนักซึ่งตั้งแต่ตนเองเกิดมาก็เพิ่งจะเคยเจอในปีนี้ ที่ฝนทิ้งช่วงเป็นระยะเวลานาน ต้นทุเรียนที่กำลังแตกใบอ่อนทรงพุ่มที่สวยงามกลับค่อยๆแห้งเหี่ยว ยืนต้นตายเป็นจำนวนมาก เนื่องจากฝนไม่ตก และไม่มีน้ำรด เนื่องจากน้ำในสระที่กักเก็บไว้ก็ได้ใช้จนหมดเพราะฝนไม่ตกมาเป็นระยะ เวลากว่า 5 เดือน จนตนเองมองว่า หากปล่อยอยู่แบบนี้ต้นทุเรียนต้องตายหมดอย่างแน่นอน จึงได้ออกไปซื้อน้ำและสูบน้ำ ตามแหล่งน้ำเพื่อมาหล่อเลี้ยงต้นทุเรียน ให้สามารถอยู่ได้

นายพงษ์ศักดิ์ฏา กล่าวว่ายังถือว่าโชคดีอยู่บ้างช่วงนี้มีฝนตกลงมาแม้จะไม่มากนัก แต่อยู่ยังถือว่าต่อชีวิตต้นทุเรียนให้กลับฝื้นคืนมาได้บ้างไม่ยืนต้นตายทั้งหมด แต่ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำก็ยังมีไม่มากนัก

นายพงษ์ศักดิ์ฏา กล่าวต่อว่าในอีก 2 ปีข้างหน้า ตนเองมองว่ายังคงประสบภัยแล้งต่อไปอีกอย่างแน่นอน ตนเองมองว่าในอนาคตใครคิดจะทำสวนต้องวางแผนในเรื่องแหล่งน้ำด้วย สามารถกักเก็บน้ำ ไว้ใช้ในช่วงหน้าแล้ง ซึ่งส่วนตัวตนเองมองว่าคงต้อง เจาะบ่อบาดาล และสระปูผ้ายาง เพื่อเก็บน้ำไว้ให้เพียงพอในช่วงวิกฤติภัยแล้ง

ด้าน นายพิทักษิณ สุขแก้ว อายุ 56 ปี เกษตรกรในตำบลเขาค่าย อ.สวี จ.ชุมพร เปิดเผยว่า เกษตรกรชาวสวน ประสบความเดือดร้อนครั้งรุนแรงที่สุด หลังจากที่ฝนทิ้งช่วงไม่ตกลงมาตามฤดูกาล มากว่า 4 เดือนแล้ว ทำให้แหล่งน้ำของเกษตรกรเองที่ขุดกักเก็บไว้หมดลง ประกอบกับแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ไม่ว่า ห้วย หนอง คลอง บึง ก็แห้งเหือดลงจนเหลือน้ำให้เห็นตามแอ่งต่างๆในแต่ละจุด ทำให้เกษตรกรชาวสวน โดยเฉพาะชาวสวนทุเรียน ต่างก็นำรถกระบะ หรือ รถ 6 ล้อ บรรทุกถังน้ำ มาดูดน้ำในแอ่งน้ำกัน เพื่อจะนำไปรดต้นทุเรียน ซึ่งขณะนี้ มีความจำเป็นอย่างสูง เนื่องจาก ผลผลิตกำลังออกสู่ท้องตลาดอีกไม่ถึงสองเดือน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผู้ปกครองโวย รร.อนุบาลดังชุมพร ไม่ปลอดภัย คนร้ายบุกละเมิดทางเพศเด็กแต่ปิดข่าวเงียบ

ผู้ปกครองรวมตัวร้องโรงเรียนอนุบาลดังชุมพร ไม่ปลอดภัย คนร้ายบุกเข้าไปล่วงละเมิดทางเพศเด็ก แต่ปิดข่าวเงียบ ไม่สนใจแก้ปัญหา บริหารงานไม่โปร่งใส ขณะที่ ผอ.เขตพื้นที่การศึกษา ตกใจเรื่องร้ายแรงไม่รายงานให้ทราบ

เจ้าคณะฯ วอนรัฐบาลทวงคืน 'พระพุทธสิงห์' ถูกขโมยหาย 50 ปี โผล่พิพิธภัณฑ์เบลเยี่ยม

จากกรณีที่มีคนไทยไปพบพระพุทธรูปโบราณ “พระพุทธสิงค์” เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ซึ่งได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ครม.รับทราบ 10 มาตรการรับมือฤดูฝน 2567

นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติรับทราบมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2567

ชาวสวนปาล์มชุมพร ลุกฮือหน้าศาลากลางจังหวัด ขายปาล์ม 1 กก. ยังซื้อไข่ไก่ไม่ได้

ชาวสวนปาล์มชุมพรฮือหน้าศาลากลางจังหวัด ใช้น้ำมันพืชขวด 55 บาท ทอดไข่ฟองละ 4.80 บาท จากผลผลิตปาล์มน้ำมัน กก.ละ 3.50 บาท ให้ผู้ว่าฯ ส่วนราชการกิน หลังรัฐล้มเหลวใช้มาตรการกำหนดให้โรงงานต้องรับซื้อปาล์ม กก.ละ 4.50 บาท

อากาศร้อน ภัยแล้ง พริกขี้หนูสวนออกผลผลิตน้อย ราคาพุ่งกก.ละ 400-500 บาท

ที่ตลาดสดเทศบาลเมืองเบตง อ.เบตง จ.ยะลา ผลพวงจากภาวะภัยแล้ง ส่งผลกระทบต่อพืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะพริกขี้หนูสวน มีราคาปรับตัวสูงขึ้น

กรมอุตุฯ เตือนพื้นที่รับมือฝนถล่ม 60-70% ใน 24 ชม.ข้างหน้า

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่มีแนวลมพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้ พัดปกคลุมบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ