กรมชลประทานเร่งสร้างประตูระบายน้ำโพธิ์ประทับช้าง ช่วยชาวนาพิจิตร

กรมชลประทานแจงงบฯ 731 ล.สร้างปตร.โพธิ์ประทับช้างแม่น้ำยมช่วยชาวนาพิจิตร28,863 ไร่ คาดปี68ได้ใช้น้ำ

4 มิถุนายน 2566 – นายธนบดี รักสัตย์ ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 3 กองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง กรมชลประทาน มอบหมายให้ นายธนัท ต้นประสงค์ หัวหน้าฝ่ายก่อสร้างที่ 2 พาสื่อมวลชน และ นายพาน โพธิ์ป้อม อดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 บ้านลำนัง ต.ไผ่ท่าโพ อ.โพธิ์ประทับช้าง ซึ่งเป็นตัวแทนและแกนนำเกษตรกร ลงพื้นที่เพื่อดูความคืบหน้าการก่อสร้างประตูระบายน้ำโพธิ์ประทับช้าง ที่สร้างขึ้นในแม่น้ำยมที่หมู่ 2 ต.ไผ่ท่าโพ อ.โพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร งบ 731 ล้านบาทเศษ ระยะเวลาโครงการ 6 ปี (พ.ศ.2564-2569)

โดย นายธนัท ต้นประสงค์ หัวหน้าฝ่ายก่อสร้างที่ 2 สนง.ก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 3 ได้ให้ข้อมูลว่า โครงการดังกล่าวเป็นหนึ่งในแผนพัฒนาลุ่มน้ำยมตอนล่างจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดพิจิตร ซึ่ง ปตร.โพธิ์ประทับช้าง เป็นโครงการที่ 4 ในแม่น้ำยม เริ่มงานมาตั้งแต่ปี 64 ได้ดำเนินการงานขุดบ่อก่อสร้าง งานคอนกรีตฐานราก งานก่อกำแพงทั้ง 2 ด้าน รวมถึงการเทพื้นคอรกรีตและงานอื่นๆ อีกหลายรายการ โดยผลงานการก่อสร้างปี 66 ทำได้ 40% ส่วนผลงานการก่อสร้าง ปตร.โพธิ์ประทับช้าง

ผลงานภาพรวมทั้งโครงการได้ 35% แล้ว ซึ่งก็เป็นไปตามแผนงานและงบประมาณที่กรมชลประทานจัดสรรมาให้ สำหรับ ปตร.โพธิ์ประทับช้าง แห่งนี้ คาดว่าจะสร้างแล้วเสร็จและส่งมอบให้ชลประทานจังหวัดพิจิตร บริหารจัดการได้ในปี 2569 แต่คาดว่าในปี 2568 จะสามารถเริ่มทดน้ำและกักเก็บน้ำให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์ในการทำนา โดยจะครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบล 2 อำเภอ ได้แก่ ตำบลวังจิก ตำบลไผ่ท่าโพ อำเภอโพธิ์ประทับช้าง, ตำบลบางลาย อำเภอบึงนาราง ครอบคลุมพื้นที่การเกษตร 28,863 ไร่ ปริมาณกักเก็บน้ำ 5.1 ล้านลูกบาศก์เมตร

ในส่วนของ นายพาน โพธิ์ป้อม อดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 บ้านลำนัง ต.ไผ่ท่าโพ อ.โพธิ์ประทับช้าง ซึ่งเป็นตัวแทนและแกนนำเกษตรกร กล่าวว่า โครงการนี้คือความหวังของชาวนาลุ่มน้ำยมที่จะได้มีน้ำทำนาได้ประโยชน์ทางตรง คือ แม่น้ำยมมีน้ำกักเก็บให้สูบไปใช้ได้ , ทำให้เกิดน้ำซึมน้ำซับใต้ดินส่งผลดีต่อการใช้น้ำบาดาลของเกษตรกรสองฝั่งแม่น้ำยม นอกจากนี้การมี ปตร.โพธิ์ประทับช้าง ก็จะส่งผลให้หนองลำนังพื้นที่ 178 ไร่ ซึ่งเป็นแก้มลิงอยู่ห่างจาก ปตร.แห่งนี้ 2 กม. แต่อยู่ห่างแม่น้ำยม 400 เมตร ซึ่งมีการขุดลอกคลองเชื่อมต่อเพื่อรับน้ำจากแม่น้ำยมก็จะพลอยให้มีน้ำอุดมสมบูรณ์ช่วยแก้ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เดินตามแนวพระราชดำริ...ช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมชุมพร

ในช่วงวันที่ 13-15 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมามรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงได้พัดปก คลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณภาคใต้ตอนล่างเคลื่อนลงสู่ทะเลอัน

จับตาการพัฒนาลุ่มน้ำสงคราม “อู่ข้าวอู่น้ำ” ของภาคอีสานตอนบน

ลุ่มน้ำสงคราม สาขาของลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือที่มีขนาดใหญ่รองลงมาจากลุ่มน้ำมูลและลุ่มน้ำชี มีพื้นที่ประมาณ 12,700 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 7.94 ล้านไร่

ประตูระบายน้ำศรีสองรักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ความยั่งยืนของการพัฒนาลุ่มน้ำเลย

ลุ่มน้ำเลย เป็นลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ มีแม่น้ำเลยเป็นแม่น้ำสายหลัก ที่มีต้นน้ำอมาจากอำเภอภูหลวง ซึ่งเป็นพื้นที่สูงลาดชัน

ตอนบนของประเทศ ฝนลดลง ชป.เดินหน้าเก็บกักน้ำปลายฤดูฝน สำรองไว้ใช้แล้งหน้าให้มากที่สุด

เมื่อวันนี้ 15 ต.ค. 67 ที่ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (swoc) อาคาร 99 ปี หม่อมหลวงชูชาติ กำกู กรมชลประทาน ถนนสามเสน ผศ.ดร.สิตางศ์ พิสัยหล้า ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.ธเนศร์ สมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา