'กลุ่มคนเพชรเพื่อมนุษยธรรม' หนุน 'ชาวบ้านบางกลอย' กลับไปดำรงวิถีชีวิตในพื้นที่ดั้งเดิม

'กลุ่มคนเพชรเพื่อมนุษยธรรม' หนุนกลุ่ม'ชาวบ้านบางกลอย'กลับไปดำรงวิถีชีวิตในพื้นที่ดั้งเดิมผ่านกลไกจากตัวแทน 3 ฝ้าย ข้องใจเสียชีวิตของ 'กิ๊ป ต้นน้ำเพชร ' ในรพ.เป็นไปตามมาตรฐานด้านสาธารณสุขหรือไม่

31พ.ค.2566 - กลุ่มคนเพชรเพื่อมนุษยธรรม โดยนายสัมฤทธิ์ ชิณวงษ์ ผู้ประสานงานกลุ่มฯ ออกแถลงการณ์ กรณีพี่น้องชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอย มีใจความว่า

สืบเนื่องจากพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 ระบุว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดยึดถือหรือครอบครองที่ดินรวมถึงการก่นสร้าง แผ้วถาง ถางป่า ..."ต่อมาในปี 2524 ได้มีการประกาศจัดตั้งอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานขึ้นเป็นครั้งแรก โดยการประกาศครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาให้กับพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอย เนื่องจากการกำหนดเขตอุทยานฯ ประกาศทับที่อยู่อาศัยของชาวกะเหรี่ยงบางกลอยซึ่งอยู่อาศัยมาก่อน เป็นผลให้พี่น้องกะเหรี่ยงบางกลอยที่อยู่อาศัย ณ บางกลอยบน ( ตามหลักฐานของกรมการปกครอง คือ หมู่ 7 ต.สองพี่น้อง อ.ท่ายาง จ.เพซรบุรี ในปี 2514 ซึ่งการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จัดทำขึ้นภายหลังในปี 2524 ) โดยถูกแยกออกจาก ต.สองพี่น้อง อ.ท่ายาง มาอยู่ในเขต กิ่งอ.แก่งกระจานในปี 2536 ส่วนบ้านใจแผ่นดิน บ้านของปู่คออี้ อยู่ห่างขึ้นไปโดยมีหลักฐานคือภาพถ่ายทางอากาศปี 2515 การประกาศจัดตั้งเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน

ในปี 2524 จึงเป็นสาเหตุแห่งการผลักไสให้พี่น้องกลุ่มชาติพันธ์กลายเป็นผู้บุกรุกป่าตามกฎหมายอุทยานฯไปโดย
ในปี 2539 เจ้าหน้าที่อุทยานจึงเริ่มมีการเจรจาให้พี่น้องกะเหรี่ยงบางกลอยลงมาอยู่ ณ บริเวณหมู่บ้านบางกลอยล่าง ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเพชรบุรี ซึ่งปัจจุบันคือ หมู่ที่ 2 ตำบลห้วยแม่เพรียง อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี และรัฐ จัดสรรที่ทำกินให้ แต่การดำเนินงานจากรัฐไม่เป็นไปตามข้อเสนอ พื้นที่จัดสรรไม่เพียงพอและผืนดินไม่สามารถเพาะปลูกได้ ทำให้พี่น้องบางกลอยบางส่วนต่างทยอยกลับขึ้นไปสู่บ้านเกิดคือบางกลอยบนอีกครั้ง

ปี 2554 เจ้าหน้าที่อุทยานๆ ปฏิบัติการยุทธการตะนาวศรี จับกุมและเผาบ้านที่อยู่อาศัย ผลักดันให้กลับลงมาอยู่ที่บ้านบางกลอยล่าง ดังที่เป็นข่าวรับรู้ทั่วไป แต่ในเวลาต่อมาพี่น้องชาวบางกลอยบางส่วนที่ไม่สามารถทำมาหากินในพื้นที่ได้จึงทยอยกลับขึ้นไปยังบางกลอยบนเช่นเดิม

ในปี 2561 แม้ว่าศาลปกครองสูงสุดพิพากษาและยอมรับว่าบ้านบางกลอยบนและบ้านใจแผ่นดินถือเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธ์กะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ) ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน แต่ศาลปกครองสูงสุดก็ไม่อาจจะพิพากษาให้ชาวกะเหรี่ยงดั้งเดิมกลับไปอยู่บ้านบางกลอยบนและบ้านใจแผ่นดินได้ เนื่องจากข้อจำกัดด้านกฎหมาย เพราะพื้นที่พิพาทดังกล่าวถูกประกาศให้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานไปแล้ว

ช่วงวันที่ 22 - 24 กพ. 2564 เจ้าหน้าที่รัฐเปิดปฏิบัติการ ยุทธการพิทักษ์ป่าต้นน้ำเพชร ผลักดันชาวบางกลอยลงมาจากบางกลอยบนอีกครั้ง และจับกุมดำเนินคดีชาวบางกลอย จำนวน 29 ราย 7 ข้อหาเกี่ยวกับการบุกรุกป่าตาม 3 กฎหมายคุ้มครองบำาอนุรัษ์ ได้แก่ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ 2562 พ.ร.บ.ป่าไม้ 2484 และ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ 2507 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการประกันตัวสู้คดี

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กำหนดไว้ว่ามนุษย์ทุกคนย่อมมีอิสระและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรีและพึงปฏิบัติต่อกันด้วยจิตวิญญาณแห่งภราครภาพ มีสิทธิและอิสรภาพโดยปราศจากการแบ่งแยก เชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนาและพื้นเพทางชาติหรือสังคม...นเป็นแนวทางสากลของนานาารยะประเทศ สอดคล้องกับแนว ทางการปฏิบัติต่อพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอย ดังมติครม. เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2553 ว่าด้วยแนวนโยบายและหลักปฏิบัติในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง และหลักสิทธิชุมชนในการมีส่วนร่วมจัดการและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการลงนามเห็นชอบตามข้อเสนอแนวทางแก้ไข เมื่อวันที่ 21เมษายน 2566 ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี ให้กลุ่มชาวบ้านบางกลอยที่ประสงค์จะกลับไปดำรงวิถีชีวิตตัวยระบบเกษตรแบบไร่หมุนเวียนในพื้นที่บางกลอยบน(พื้นที่ดั้งเดิมที่อยู่อาศัย) จำนวน 150 คน โดยใช้แนวทางพัฒนาพื้นที่ตันแบบส่งเสริมเกษตรแบบไร่หมุนเวียนตามหลักการคุ้มครองสิทธิทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ผ่านการจัดโครงการศึกษาเชิงทดลองแบบมีส่วนร่วม

ดังนั้น กลุ่มคนเพชรเพื่อมนุษยธรรมเป็นกลุ่มคนในพื้นราบของจังหวัดเพชรบุรี ห่วงใยในชะตากรรมและการถูกผลักไสพี่น้องกลุ่มชาติพันธ์บางกลอยให้ละทิ้งบ้านเกิด ถูกกระทำเหมือนไม่ใช่มนุษย์ ทั้งจากกลไกของรัฐและมายาคติมากมายในสังคมอันส่งผลต่อความเกลียดชัง เหยียดหยาม จึงขอประกาศท่ทีและสนับสนุนแนวทางแห่งมนุษยธรรม ดังนี้

1. สนับสนุนการตัดสินใจของรัฐทางนโยบาย ผ่านการลงนามเมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2566 ของพล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยให้กลุ่มชาวบ้านบางกลอยกลับไปดำรงวิถีชีวิตด้วยระบบเกษตรแบบไร่หมุนเวียนในพื้นที่บางกลอยบนอันเป็นพื้นที่ดั้งเดิมของตนตามประสงค์ จำนวน 150 คน ผ่านกลไกจากตัวแทน 3 ฝ้าย

2.ขอตั้งข้อสังเกตถึงระบบการจัดการด้านสาธารณสุข ในการรับการรักษาพยาบาลชาวกะเหรี่ยงบางกลอย "กิ๊ป ต้นน้ำเพชร" ในระหว่างวันที่ 21 - 22 พค. ที่ผ่านมา ณ รพ.แก่งกระจาน จ.เพรรบุรี ว่าดำเนินไปตามมาตรฐานด้านสาธารณสุขหรือไม่ อย่างไร

ด้วยความห่วงใยแห่งมนุษยธรรม.
(นายสัมฤทธิ์ ชิณวงษ์)
ผู้ประสานงานกลุ่มคนเพชรเพื่อมนุษยธรรม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อัยการเลื่อนฟังคำสั่ง 2 เยาวชนบางกลอย ส่อโดนสั่งฟ้อง รัฐบาลแก้ปัญหาไม่คืบหน้า

ที่สำนักงานอัยการอัยการเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเพชรบุรี น.ส.เฉลิมศรี ประเสริฐศรี ทนายความจากมูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชนพร้อมด้วยเยาวชนบบางกลอย 2 คน เข้าพบอัยการตามนัด

นักท่องเที่ยวสุดประทับใจ เจอ 'เสือดำ' เดินโชว์ตัวระหว่างขึ้นพะเนินทุ่ง

นายมงคล ไชยภักดี หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี กล่าวว่า ตามที่มีนักท่องเที่ยวสามารถถ่ายภาพเสือดำ บริเวณทางขึ้นพะเนินทุ่ง ในพื้นที่ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2567

ศาลสั่งจำคุก 'ชัยวัฒน์' 3 ปี ไม่รอลงอาญา ผิด ม.157 คดีบิลลี่ ยกฟ้องร่วมกันฆ่า

ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ถนนเลียบทางรถไฟตลิ่งชัน ศาลนัดฟังคำพิพากษา คดีหมายเลขดำ อท.166/2565 ที่อัยการโจทก์ ยื่นฟ้อง นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผู้อำนวยการสำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช)และพวกรวม 4 คน ฐานปฏิบัติหน้าที่มิชอบฯ กรณีการหายตัวไปของนายบิลลี่

ฮือฮา! ครอบครัว 'เสือดำ' โชว์ตัวอุทยานแก่งกระจาน

โลกโซเชียลซู้ดปากกันไปเลย เมื่อนายกิตติพงษ์ งามจริง ได้เผยแพร่ภาพครอบครัวเสือดำ แม่ลูก 3 ตัว ในอริยาบทนอนพักผ่อนกันอย่างมีความสุข

ชาวบางกลอย วอนอัยการสูงสุดสั่งไม่ฟ้อง หลังได้รับหนังสือยุติเรื่องขอความเป็นธรรม

นายพงษ์ศักดิ์ ต้นน้ำเพชร ชาวบ้านบางกลอย อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี เปิดเผยว่า ภายหลังอัยการสูงสุดมีคำสั่งยุติเรื่องขอความเป็นธรรมกรณีสั่งฟ้องชาวบ้านบางกลอย 28 ราย พวกตนที่เป็นชาวบ้านชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอยในนาม ‘บางกลอยคืนถิ่น’

'ชัยวัฒน์' ไม่เห็นด้วยคำสั่ง 'บิ๊กตู่' ไฟเขียวกะเหรี่ยงบางกลอยกลับคืนป่าใหญ่

นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผู้อำนวยการสำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เปิดเผยว่า กรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เซ็นหนังสือให้คณะกรรมการ