30 พ.ค.2566- นายสมพล พงษ์พิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดนครพนม (ผอ.กกต.นครพนม) เปิดเผยว่า การรวบรวมคะแนนผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร (ส.ส.) ทั้ง 4 เขตเลือกตั้งเสร็จสิ้นครบทุกกระบวนการเรียบร้อยแล้ว และพร้อมจะประกาศผู้ได้รับการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้มีการร้องเรียนเกี่ยวกับการผิดกฎหมายเลือกตั้ง ซึ่งผู้ร้องยื่นหนังสือก่อนมีการเลือกตั้งจำนวน 2 เรื่อง และหลังเลือกตั้งไม่มีเรื่องร้องเรียน
โดยแจ้งข้อมูลผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ผู้มิสิทธิเลือกตั้งทั้งจังหวัด 567,626 คน มีผู้มาใช้สิทธิ 397,999 คน คิดเป็นร้อยละ 70.12 % แยกเป็นบัตรดี 380,063 ใบ บัตรเสีย 13,678 ใบ และบัตรไม่ประสงค์กาให้ใคร จำนวน 4,257 ใบ
เขต 1 ประกอบด้วย อ.บ้านแพง อ.นาหว้า อ.นาทม อ.ศรีสงคราม ดร.ภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์ ผู้สมัครหมายเลข 6 พรรคเพื่อไทย ได้คะแนนเป็นอันดับ 1 จำนวน 44,712 คะแนน
เขต 2 ประกอบด้วย อ.โพนสวรรค์ อ.ท่าอุเทน และอำเภอเมืองนครพนม (เฉพาะ ต.ในเมือง ต.หนองแสง ต.อาจสามารถ ต.นาราชควาย ต.หนองญาติ และ ต.ท่าค้อ) ดร.มนพร เจริญศรี ผู้สมัครหมายเลข 2 พรรคเพื่อไทย มีคะแนนมาเป็นอันดับ 1 ด้วยจำนวน 39,856 คะแนน
เขต 3 ประกอบด้วย อ.เรณูนคร อ.ธาตุพนม และอำเภอเมืองนครพนม (เฉพาะ ต.บ้านกลาง ต.ดงขวาง ต.ขามเฒ่า ต.คำเตย ต.โพธิ์ตาก และ ต.นาทราย นายแพทย์ อลงกต มณีกาศ ผู้สมัครหมายเลข 4 พรรคภูมิใจไทย ได้คะแนนเป็นอันดับ 1 จำนวน 41,738 คะแนน
เขต 4 ประกอบด้วย อ.นาแก อ.วังยาง อ.ปลาปาก และอำเภอเมืองนครพนม (เฉพาะ ต.วังตามัว ต.กุรุคุ และ ต.บ้านผึ้ง) นายชูกัน กุลวงษา ผู้สมัครหมายเลข 8 พรรคภูมิใจไทย มีคะแนนนำจำนวน 25,253 คะแนน
โดยมีสถิติที่บันทึกไว้ ว่า นักการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.มากครั้งที่สุด คือ นายแพทย์ ประสงค์ บูรณ์พงศ์ จำนวน 13 สมัย และมี ส.ส.เป็นสตรีคนแรกของจังหวัดฯ คือ ดร.มนพร เจริญศรี (จากการเลือกตั้งปี 2554) สังกัดพรรคเพื่อไทย
ทั้งนี้ จังหวัดนครพนมเป็นเมืองชายแดนภาคอีสาน ที่มีความอุดมสมบูรณ์ สวยงามด้วยทิวทัศน์ริมฝั่งโขง และมีความหลากหลายของวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ หลังจากประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 ได้มีการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2476 การเลือกตั้งครั้งนี้เป็น “การเลือกตั้งทางอ้อมครั้งแรกและครั้งเดียวของไทย” โดยจังหวัดนครพนมมี ส.ส.คนแรก คือ นาวาโท พระศรการวิจิตร ร.น. (ช้อย ชลทรัพย์)
มีชื่อพรรคการเมืองที่ได้ ส.ส.นครพนม ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน รวม 21 พรรคฯ ดังนี้ พรรคเสรีมนังคศิลา พรรคประชาธิปัตย์ พรรคสหภูมิ พรรคสหประชาไทย พรรคประชาชน พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย พรรคธรรมสังคม พรรคกิจสังคม พรรคสังคมชาตินิยม พรรคชาติไทย พรรคสยามประชาธิปไตย พรรคเกษตรสังคม พรรคชาติประชาชน พรรคราษฎร พรรคความหวังใหม่ พรรคชาติพัฒนา พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรคเพื่อไทย และ พรรคภูมิใจไทย.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ชูศักดิ์' บอกรู้ตั้งแต่เห็นคำร้อง 'ธีรยุทธ' ไปไม่ได้ เหตุไม่เข้าเกณฑ์ล้มล้างปกครอง
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดพิจารณา
ตามคาด! อสส.ไม่รับดำเนินการคดี 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง
อัยการสูงสุดไม่รับดำเนินการคดีทักษิณ-เพื่อไทย ล้มล้างการปกครอง ส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเเล้วพร้อมผลการสอบถ้อ
'จตุพร' ให้จับตา '22พ.ย.' จุดเปลี่ยนการเมืองไทย
นายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊คไลฟ์ว่า วันที่ 22 พ.ย.นี้จะเป็นปฐมบทของคนรักชาติได้ห
'อดีตบิ๊กศรภ.' ชี้ 'ทักษิณ' ยังมีโอกาสอยู่เกินปีใหม่แน่ แต่ไม่น่าจะเกินต้นปีหน้า
พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) โพสต์เฟซบุ๊กหัวข้อ ทักษิณ
สุดลิ่ม! ‘วันชัย’ มั่นใจ ‘ทักษิณ-พท.’ ตั้งหลักได้อะไรก็ฉุดไม่อยู่ ปล่อยนักร้องอกแตกตาย
ถ้าคุณทักษิณและพรรคเพื่อไทยตั้งหลักได้เมื่อไร อะไรก็รั้งไม่หยุดฉุดไม่อยู่ ถึงกับกล้าประกาศว่าเลือกตั้งคราวหน้าจะคว้าให้ได้ถึง 200 เสียงขึ้น
มีสะดุ้ง! เทพไท บอก ‘ทักษิณ’ อยู่ดีไม่ว่าดี ให้เด็กรุมถอนหงอก
การปราศรัยปะทะคารมกันครั้งนี้ จะมีผลต่อการเลือกนายกอบจ. อุดรธานีหรือไม่ ไม่สามารถวัดได้ แต่ถ้าการเมืองระดับชาติ การปราศรัยตอบโต้กันแบบนี้ ถือว่าพรรคประชาชนได้เปรียบ ทักษิณขาดทุน