ชาวบ้านสตูลเฮลั่น รัฐไฟเขียว แบรนด์ท้องถิ่น 'จำปาดะสตูล'

ชาวบ้านสตูล เฮลั่น รัฐไฟเขียวให้ใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย ”จำปาดะสตูล สินค้าท้องถิ่น สิทธิ์เฉพาะของชุมชน

28 พ.ค.2566 – ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 25 พ.ค.ที่ผ่านมา  ที่ห้องประชุมโต๊ะพญาวัง ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดสตูล นายชาตรี ณ ถลาง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล  เป็นประธานมอบหนังสืออนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทยจำปาดะสตูล  10 ราย เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้ผู้ได้รับอนุญาต

ภายหลังจากที่เป็นประชุมคณะกรมการจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดสตูล ครั้งที่ 5/2566 ประจำเดือน พ.ค. 2566 ทั้งนี้ นางสายช่อ อังศุพานิช พาณิชย์จังหวัดสตูล เปิดเผยว่า จำปาดะสตูลนั้น เป็นสินค้าที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ประกาศขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ให้กับจังหวัดสตูลไปเมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2561 ทั้งนี้ครอบคลุมทุกพื้นที่ของจังหวัดสตูล และต่อมาเมื่อวันที่ 20 ธ.ค.2565 ทางจังหวัดสตูลโดยทางคณะกรรมการกำกับดูแลและอนุญาตการใช้ตราสิ่งบ่งชี้ทาภูมิศาสตร์จำปาดะสตูล  พิจารณาตรวจสอบระบบควบคุมคุณภาพมาตรฐานสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จำปาดะสตูล

นางสายช่อ ระบุว่า  โดยมีผู้ผ่านการพิจารณาคณะกรรมการฯ รวม 10 รายและได้รับอนุญาตให้ใช้ตรา GI จำปาดะสตูล รวม 26 ราย โดยได้รับอนุญาตเมื่อปี 2565 มีผลจนถึงปัจจุบันนี้รวม 16 ราย สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ : GI (Geographical Indication) นั้น คือ เป็นตราสัญลักษณ์ที่รับรองแหล่งที่มาและคุณภาพของสินค้าชุมชนให้เป็นสิทธิของชุมชนที่ขึ้นทะเบียน GI ทั้งนี้เปรียบเสมือนเป็นแบรนด์ของท้องถิ่น ที่บ่งบอกถึงคุณภาพ และแหล่งที่มาของสินค้าที่มีคุณลักษณะเด่นกว่าสินค้าอื่นๆ หรือ  สินค้าชนิดเดียวกันในพื้นที่ภูมิศาสตร์อื่น ๆทำให้สามารถเพิ่มมูลค่าของสินค้าและคุ้มครองชื่อสินค้าให้เป็นสิทธิ์เฉพาะของชุมชนที่ขึ้นทะเบียน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เฉลิมพระเกียรติขึ้นทะเบียน GI 'กระท้อนทองใบใหญ่บางเจ้าฉ่า'

รัฐบาลร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567 ประกาศขึ้นทะเบียน GI 'กระท้อนทองใบใหญ่บางเจ้าฉ่า'

ชาวบ้านง้างปาก 'ผู้ว่าฯร้อยเอ็ด' ปกป้องผืนดินข้าวหอมมะลิโลก หรือประเคนที่นายทุนอ้อย

เครือข่ายคนฮักทุุ่งกุลา โยนโจทย์ใหญ่ ผู้ว่าฯร้อยเอ็ด ปกป้องผืนดินข้าวหอมมะลิโลก หรือปล่อยผืนดินทุ่งกุลาเปลี่ยนเป็นไร่อ้อยเกือบ 3 แสนไร่