สวนทุเรียนมูซังคิง ในพื้นที่ อ.เบตง จ.ยะลา เริ่มตั้งท้องปีแรก เตรียมส่งออกกว่า 10 ตัน กระตุ้นเศรษฐกิจชายแดนใต้ ยุทธศาสตร์จังหวัดยะลา คือ ยะลาเมืองทุเรียน Yala Durian City
25 พ.ค.2566 - ผู้สื่อข่าวรายงานลงพื้นที่สำรวจสวนทุเรียนบนเนื้อที่กว่า 50 ไร่ ที่ อ.เบตง จ.ยะลา ของนายวีระพล รุ่งนิธิไพบูลย์ หรือเฮียต้ง เกษตรกรในพื้นที่ได้ถูกจัดสรรให้ปลูกทุเรียนมูซังคิง ทุเรียนหมอนทอง ทุเรียนหนามดำ (หรือทุเรียนโอฉี่) และสวนโชกุน โดยการแบ่งสัดส่วนปลูกแบบผสมผสาน จำนวน กว่า 1,000 ต้น ที่เตรียมเริ่มนำผลผลิตทุเรียนมูซังคิง ท้องแรก อายุ 5 ปี ออกมาจำหน่ายแบบเหมาสวนในราคากิโลกรัมละ 250 บาท คาดว่าจะมีผลผลิตทุเรียนมูซังคิงป้อนตลาดผลไม้กว่า 10 ตัน เพื่อเตรียมส่งออกไปยังประเทศมาเลย์เซียในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมนี้ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจชายแดนใต้ในช่วงฤดูผลไม้
นายวีระพล รุ่งนิธิไพบูลย์ หรือเฮียต้ง เล่าว่า เอกลักษณ์พิเศษของทุเรียนสะเด็ดน้ำยะลา มีความโดดเด่นด้วยรสชาติหวานมัน มีกลิ่นเฉพาะตัว เนื้อเเห้งละเอียด เส้นใยน้อย และเนื้อมีสีเหลืองอ่อนหรือเข้มตามแต่ละสายพันธุ์ที่ปลูก เน้นวิถีธรรมชาติในการจัดการสวน เน้นความปลอดภัยจากระดับผู้ผลิตจนถึงผู้บริโภคและใส่ใจสิ่งแวดล้อม ใช้ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ มีการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อปรับระบบการผลิตและการจัดการสวนอย่างถูกต้องเหมาะสม ส่วนระบบน้ำของสวนทุเรียนเฮียต้ง ด้วยลักษณะภูมิประเทศที่เป็นภูเขาซ้อน จัดการโดยการวางแทงค์น้ำไว้ที่บนยอดเขา และใช้เครื่องสูบน้ำวางท่อปล่อยน้ำกระจายให้กับต้นทุเรียนวันละ 10-15 นาที ทุกวัน ควบคู่ไปกับการให้สารอาหารหรือปุ๋ยทางใบและทางดินอย่างสม่ำเสมอช่วง 15-30 วัน และมั่นแต่งกิ่งเพื่อให้ทุเรียนให้ได้รับแสงทั่วทั้งทรงพุ่ม ทำให้ออกดอกติดผลดี
ด้านนายณัฐ อมรรัตน์วิทยา ผู้จัดการส่วนทุเรียนเฮียต้ง บอกว่า ที่ผ่านมาลูกค้าให้ความสนใจกับผลไม้ในพื้นที่ อ.เบตง จ.ยะลา ไม่ว่าจะซื้อส้มโชกุล หรือทุเรียนสายพันธ์ต่างๆ ที่ได้ชื่อว่าเป็นทุเรียนสะเด็ดน้ำยะลา เป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) เป็นการนำทุเรียนสายพันธุ์ต่างๆ ของจังหวัดยะลาไปปลูกในพื้นที่ตามไหล่เขา สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางตั้งแต่ 100 เมตรขึ้นไป ซึ่งเป็นแหล่งบ่มเพาะทุเรียนคุณภาพ ลูกค้ามักจะซื้อไปเป็นของฝากเป็นประจำ ลูกส่วนใหญ่นิยมสั่งซื้อกันผ่านระบบออนไลน์ เพราะการขนส่งมีความสะดวกและรวดเร็ว ทำให้ลูกค้าได้บริโภคผลไม้ที่สดใหม่ได้ทันใจ สำหรับคุณผู้ชมที่สนใจสามารถที่จะสอบถามเพิ่มเติม หรือสั่งซื้อทุเรียน และส้มโชกุนได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 064-563-9259 (คุณต้น) หรือมาชมสวนเฮียต้งได้ที่ อ.เบตง จ.ยะลา
ทั้งนี้ ส่วนใหญ่ทุเรียนในพื้นที่จะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในช่วงเดือน ก.ค.-ก.ย.ของทุกปี และจะช่วยกระตุ้นการส่งออกผลไม้ไทยสู่ตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศจีนเเละมาเลเซีย สร้างความเข้มเเข็งให้เศรษฐกิจชุมชนไทย กระจายรายได้สู่เกษตรกรรายย่อยได้อย่างยั่งยืน สอดรับกับยุทธศาสตร์จังหวัดยะลา คือ ยะลาเมืองทุเรียน (Yala Durian City) กำหนดเป้าหมายให้ จ.ยะลา เป็นเมืองทุเรียนแห่งภาคใต้ตอนล่าง โดยมีแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตทุเรียนแบบครบวงจร ซึ่งจังหวัดยะลาเป็นแหล่งปลูกทุเรียน และมีปริมาณผลผลิตมากที่สุดในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง และเป็นแหล่งปลูกทุเรียนที่มีคุณภาพ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ยะลา' ชวนสัมผัสธรรมชาติ 'ป่าฮาลา-บาลา' ชื่นชมทะเลหมอก สกายวอล์คอัยเยอร์เวง
สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดยะลา ร่วมกับกลุ่มงานบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภายใต้ชายแดน และองค์การบริหารส่วนตำบลอัยเยอร์เวง จังหวัดยะลา จัดกิจกรรม “เปิดประตูสู่ ป่าฮาลา-บาลา แฟมทริป ล่องเรือ ส่องสัตว์ สัมผัสธรรมชาติกลางผืนน้ำ”
เย้ยกฎหมาย! แก๊งมอดไม้ใช้รถแบ็คโฮ บุกไถป่าสงวน แนวเทือกเขาสันกาลาคีรี
ไม่สนกฏหมายใช้รถแบ็คโฮ บุกไถป่า โค่นป่าสงวนแห่งชาติ แนวเทือกเขาสันกาลาคีรี ชายแดนไทย-มาเลเซีย
ชาวสวนเบตง เริ่มเก็บทุเรียน 'มูซานคิง' ยอดสั่งซื้อเพียบ กก.ละ 400 บาท
เกษตรกรชาวอำเภอเบตง จังหวัดยะลา เริ่มตัดทุเรียนโอฉี่หรือหนามดำ มูซานคิงในสวนแล้ว โดยนำมาจำหน่ายทั้งหน้าสวน และช่องทางออนไลน์ โกยยอดสั่งซื้อทั่วประเทศ โดยพันธุ์มูซานคิง และโอฉี่หรือหนามดำ กก.ละ 350-400 บาท ล้งมาเลเซียบุกซื้อถึงสวน
ราคาไก่สด ขึ้นพรวดเดียวจากกิโลกรัมละ 50 เป็น 80 บาท
แม่ค้าไก่สดตลาดสดเทศบาลเมืองเบตง “โอด” ราคาปรับขึ้น กก.ละ 80 บาท ยอมเฉือนเนื้อตัวเอง ลดปริมาณการสั่งไก่ลงครึ่งหนึ่ง ลูกค้าหายวอนรัฐบาลควบคุมราคาไก่สด เผยยอดซื้อไก่สดลดลง
หนุ่มวัย 45 เปิดสวนทุเรียนอินทรีย์ 150 ต้น ฝ่าวิกฤติภัยแล้ง ได้ผลผลิต 7-8 ตัน
หนุ่มวัย 45 ปีชาวตำบลทุ่งยาว อ.ปะเหลียน จ.ตรัง พาสวนทุเรียนอินทรีย์จำนวน 150 ต้นฝ่าวิกฤติภัยแล้งมาได้ จนได้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 7-8 ตัน ขณะที่สวนทุเรียนรายอื่นพากันยืนต้นตาย เผยเคล็ดลับน้ำต้องไม่ขาด