ชาวบางกลอย วอนอัยการสูงสุดสั่งไม่ฟ้อง หลังได้รับหนังสือยุติเรื่องขอความเป็นธรรม

6 พฤษภาคม 2566 - นายพงษ์ศักดิ์ ต้นน้ำเพชร ชาวบ้านบางกลอย อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี เปิดเผยว่า ภายหลังอัยการสูงสุดมีคำสั่งยุติเรื่องขอความเป็นธรรมกรณีสั่งฟ้องชาวบ้านบางกลอย 28 ราย พวกตนที่เป็นชาวบ้านชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอยในนาม ‘บางกลอยคืนถิ่น’ จึงออกแถลงการณ์ขอความเป็นธรรม เรียกร้องให้อัยการสูงสุดทบทวนหนังสือขอความเป็นธรรม เนื่องจากหากยึดแนวทางการแก้ไขปัญหาของคณะกรรมการอิสระเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหาชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอยที่แต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรี รวมไปถึงองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนหลายแห่ง ล้วนมีแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เป็นผลดีต่อชาวบ้าน แต่อัยการสูงสุดกลับมีคำสั่งที่เป็นผลลบต่อการแก้ไขปัญหา

“หากชาวบ้านถูกสั่งฟ้องดำเนินคดี ต้องต่อสู้คดี ชาวบ้านยิ่งลำบาก ท้อแท้ แล้วจะไม่เป็นผลดีต่อทุกฝ่ายที่กำลังช่วยกันแก้ไขปัญหาสิทธิชุมชนให้ชาวบ้าน” นายพงษ์ศักดิ์ กล่าว

นางพงษ์ศักดิ์ กล่าวอีกว่า กรณี พล.อ.ประยุทธ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี มีคำสั่งที่ 26/2565 แต่งตั้งคณะกรรมการให้คณะกรรมการให้แก้ไขดำเนินการให้ชาวบ้านกะเหรี่ยงบางกลอย จำนวน 150 คน กลับไปอาศัยในพื้นที่ป่าลึก ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานนั้น ตอนนี้ยังไม่มีการเข้ามาดำเนินการใด ๆ ขณะที่ชาวบ้านยังมีความกังวลเรื่องคดีจึงยังไม่ทำอะไร และต้องเฝ้ารอหลังการเลือกตั้งและมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการหรือมีแนวทางตามคำสั่งของนายกฯ อย่างไร

ขณะเดียวกันชาวบ้านได้ร่วมกันอ่านแถลงการณ์ เรื่อง ขอความเป็นธรรมเรียกร้องอัยการสูงสุดทบทวนหนังสือขอความเป็นธรรมคดีบางกลอย โดยระบุว่า พวกตนคือ ‘บางกลอยคืนถิ่น’ ชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย ผู้ประสงค์กลับบ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดิน ขอส่งเสียงเรียกร้อง ถึงอัยการสูงสุดและถึงผู้คนในสังคม ในวันที่ชาวบางกลอยอยู่ห่างไกลความเป็นธรรมเข้าไปทุกที หลังกลางปี 2564 ที่ชาวบางกลอยได้ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมไปยังอัยการสูงสุดเพื่อให้พิจารณาสั่งไม่ฟ้องชาวบ้าน 28 คน ที่ถูกจับกุมอย่างไม่เป็นธรรมระหว่างต่อสู้เพื่อกลับไปยังผืนดินบรรพบุรุษ จนเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2566 กลุ่มบางกลอยคืนถิ่นได้รับหนังสือจากสำนักงานอัยการสูงสุด ที่เป็นผลเชิงลบในทางคดีและกำลังนำไปสู่การเดินหน้าดำเนินคดี ของพนักงานอัยการเอง

แถลงการณ์ระบุว่า แม้กลุ่มบางกลอยคืนถิ่นจะยืนยันเหตุผลและความจำเป็น ในการกลับขึ้นไปทำกินที่บางกลอยบน-ใจแผ่นดิน ความเดือดร้อนของเราในระหว่างการต่อสู้คดีแต่ก็ยังไม่ได้รับความเป็นธรรมจากกระบวนการยุติธรรม ที่ผ่านมาเราไม่เคยหยุดต่อสู้ ภาระทางคดีความคือความทุกข์ซ้ำเติมปัญหาที่พวกเราต้องพบเจอมาเกือบ 30 ปี หลังถูกบังคับ อพยพโยกย้ายชุมชน โดยหลายหน่วยงาน อาทิ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และคณะกรรมการอิสระเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหาชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย ได้ยืนยันตรงกันว่าพวกเราคือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม การจับกุมพวกเราคือการละเมิดสิทธิมนุษยชน จึงควรยุติการดำเนินคดีพวกเรารวมถึงหาแนวทางให้พวกเราสามารถกลับไปทำกินบนผืนดินดั้งเดิมของเราได้เหมือนที่บรรพบุรุษเคยทำมา

“เสียงของเราในฐานะกลุ่มชาติพันธุ์นั้น ได้รับการรับฟังจากหลายหน่วยงาน องค์กร เครือข่าย ภาคีต่าง ๆ เราขอขอบคุณความมุ่งมั่นที่ช่วยพวกเราส่งเสียงและหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาจนเกิดเป็นทิศทางที่ดี แต่จนถึงวันนี้กระบวนการยุติธรรมยังไม่รับฟังและเห็นถึงความเดือดร้อนของเราแม้จะมีช่องทางให้อัยการสั่งไม่ฟ้องเราได้ พวกเราบางกลอยคืนถิ่น จึงขอเรียกร้องให้อัยการสูงสุดได้ทบทวนและพิจารณาความเห็นดังกล่าวโดยเร็วที่สุด เพราะการเดินหน้าฟ้องพวกเรา 28 คน จะส่งผลให้การแก้ไขปัญหาอาจล่าช้าและส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางจิตใจ และต่อการดำเนินชีวิตของพวกเรา”เนื้อหาในแถลงการณ์ที่ชาวบ้านอ่าน

ทั้งนี้เมื่อต้นปี 2564 ชาวบ้านบางกลอยเกือบร้อยคนได้เดินทางกลับขึ้นไปที่หมู่บ้านบางกลอยบน(ใจแผ่นดิน)เพื่อทำไร่หมุนเวียนตามวิถีชีวิตดั้งเดิม หลังจากถูกเผาบ้านและยุ้งฉางบังคับให้ออกจากหมู่บ้านบางกลอยบนให้มาอยู่บ้านบางกลอยล่างตั้งแต่ปี 2554 แต่ก็ถูกอุทยานฯและเจ้าหน้าที่รัฐสนธิกำลังจับกุมและถูกดำเนินคดี โดยชาวบ้าน 22 ถูกตั้งข้อหากระทำผิดฐานยึดถือ ครอบครองที่ดิน แผ้วถาง เผาป่าหรือกระทำใดๆให้เสื่อมสภาพหรือเปลี่ยนสภาพพื้นที่ไปจากเดิม อย่างไรก็ตามนายกรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการอิสระฯพิจารณาการแก้ปัญหาโดยมีนายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ซึ่ง 1 ในข้อสรุปคือการทำหนังสือไปถึงสำนักงานอัยการสูงสุดในการสั่งไม่ฟ้องคดีเนื่องจากเห็นว่าไม่เป็นประโยชน์ อย่างไรก็ตามล่าสุดสำนักงานอัยการสูงสุดได้ทำหนังสือถึงชาวบ้านบางกลอยในการยุติเรื่องร้องเรียนดังกล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อัยการเลื่อนฟังคำสั่ง 2 เยาวชนบางกลอย ส่อโดนสั่งฟ้อง รัฐบาลแก้ปัญหาไม่คืบหน้า

ที่สำนักงานอัยการอัยการเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเพชรบุรี น.ส.เฉลิมศรี ประเสริฐศรี ทนายความจากมูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชนพร้อมด้วยเยาวชนบบางกลอย 2 คน เข้าพบอัยการตามนัด

นายกฯ ชมแข่งวัวลาน กีฬาพื้นบ้านเพชรบุรี สั่งมท.ขยายเวลาเล่นถึง 6 โมงเช้า

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และคณะเดินทางถึงที่ว่าการอำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี เพื่อติดตามโครงการก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วม พื้นที่ชุมชนบ้านลาด

พ่อเมืองเพชรบุรี แต่งชุดไทยทรงดำ นำขบวนอัญเชิญพระบรมรูป ร.4 ขึ้นเขาวัง สืบสานตำนาน 'ลาวหามเจ้า'

ที่บริเวณหน้าอุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนครคีรี(สนามหน้าเขาวัง) อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี นายณัฏฐชัย นำพูลสุขสันติ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี เป็นประธานเปิดงาน

นักท่องเที่ยวสุดประทับใจ เจอ 'เสือดำ' เดินโชว์ตัวระหว่างขึ้นพะเนินทุ่ง

นายมงคล ไชยภักดี หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี กล่าวว่า ตามที่มีนักท่องเที่ยวสามารถถ่ายภาพเสือดำ บริเวณทางขึ้นพะเนินทุ่ง ในพื้นที่ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2567

รถตู้นักท่องเที่ยวจีน เสียหลักชนต้นไม้ ระเบิดตูม-ไฟลุกท่วม คลอกคนขับดับ

พ.ต.ท.กัณจณ์เกล้า พิริยะเดชาวัชร์ สว.สอบสวน สภ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ได้รับแจ้งเกิดอุบัติเหตุ รถเสียหลักตกข้างทางชนต้นไม้ มีไฟลุกท่วม มีผู้ได้รับบาดเจ็บติดภายในรถ 3 รายบริเวณหลักกิโลเมตรที่