พ่อเมืองนครพนมเต้นผาง! ผู้ค้า 'หาดแห่' โขกราคาสุดแพง ปลาเผาตัวละ 400 บาท

นักท่องเที่ยวแทบสำลัก เจอบิลปลาเผาตัวละ 400 บาท พ่อเมืองเต้นผางสั่งคุมเข้ม ห้ามผู้ค้าฉวยโอกาส ทำลายบรรยากาศท่องเที่ยว

17 เม.ย.2566 - ร้านอาหารในบริเวณหาดแห่หรือทะเลอีสาน แหล่งท่องเที่ยวกลางแม่น้ำโขง ต.น้ำก่ำ อ.ธาตุพนม จ.นครพนม กลายเป็นกระแสดรามาขึ้นมาทันที หลังมีผู้ไปท่องเที่ยวพักผ่อนรายหนึ่ง โพสต์ข้อความลงสื่อโซเซียล เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานเกี่ยวข้องช่วยตรวจสอบ กรณีช่วงเทศกาลสงกรานต์ ได้ไปเที่ยวทะเลอีสานที่ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดัง ที่มีประชาชนไปเที่ยวเล่นน้ำคลายร้อน พร้อมสั่งเมนูอีสานรับประทาน รวมถึงปลาน้ำโขง ยิ่งในช่วงฤดูร้อนจะกลายเป็นสถานที่รองรับผู้มาเที่ยวคลายร้อนเป็นจำนวนมาก สร้างเงินหมุนเวียนสะพัด วันละหลายแสนบาท โดยชาวบ้านในละแวกนั้น พร้อมใจกันจัดพื้นที่หาดทรายกลางน้ำโขง เป็นซุ้มร้านค้า ร้านอาหาร และบริการเช่าอุปกรณ์เล่นน้ำทุกชนิด จนได้ชื่อว่าทะเลอีสาน

ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวผู้ที่ออกมาโพสต์ข้อมูล ระบุข้อความว่าหลังสั่งเมนูอาหาร รวมประมาณ 5 รายการ แต่มีหนึ่งรายการอาหารที่คาใจมาก คือปลานิลเผา เจ้าของร้านเรียกเก็บตัวละ 400 บาท จึงนำสิ่งที่ตนเองประสบมาโพสต์ให้หน่วยงานเกี่ยวข้อง ให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริง และวางมาตรการป้องกันการฉวยโอกาสขึ้นราคาอาหารที่แพงเกินจริง

โดยผู้โพสต์ยืนยันไม่มีเจตนาทำลายภาพลักษณ์การท่องเที่ยว แต่ไม่อยากให้เสียชื่อเสียงแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัด เนื่องจากปลาเผาปกติราคาทั่วไปประมาณตัวละ 120-150 บาท หรือถ้าร้านอยู่ในแหล่งชุมชน ราคาจะอยู่ที่ตัวละ 200 บาทก็ถือว่าแพงสุดแล้ว ตนจึงมีความเห็นว่าแพงเกินจริง แต่ยินยอมที่จะจ่ายตามบิลที่แม่ค้าเรียกเก็บ จึงอยากให้มีการตั้งราคามาตรฐาน ไม่เอาเปรียบลูกค้ามากเกินไป

หลังกลายเป็นประเด็นในสื่อโซเซียล ล่าสุดทางด้านนายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม พร้อมเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานเกี่ยวข้อง ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้นำชุมชนท้องถิ่น ได้ลงพื้นที่ ตรวจสอบข้อเท็จจริง และร่วมวางมาตรการป้องกันแก้ไข แนะนำผู้ประกอบการ พร้อมประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้กับนักท่องเที่ยว ได้ทราบถึงแนวทางการบริหารจัดการในพื้นที่หาดแห่ ให้มีความมาตรฐานในการรองรับลูกค้า ประชาชน นักท่องเที่ยว

โดยนอกจากมาตรฐานความปลอดภัย จะต้องดูแลเกี่ยวกับการจำหน่ายสินค้าในราคาที่เหมาะสม พร้อมสั่งให้ติดตั้งป้ายแสดงราคาสินค้า ที่ชัดเจน และแจ้งให้นักท่องเที่ยวได้รับทราบถึงราคา ก่อนตกลงการซื้อขายอาหาร เครื่องดื่ม หรือเช่าแพริมหาด เพื่อป้องกันการฉวยโอกาสโก่งราคา ในช่วงเทศกาลท่องเที่ยว พร้อมยังได้กำชับให้ผู้นำท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในพื้นที่ร่วมกันกวดขัน ดูแล ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย จัดตั้งกองอำนวยการประจำหมู่บ้าน รับเรื่องร้องทุกข์ รวมถึงไกล่เกลี่ย หากพบการจำหน่ายสินค้าในราคาที่ไม่เหมาะสม หรือผู้ประกอบการไม่ได้ทำการแจ้งผู้ใช้บริการ หรือไม่มีการติดป้ายแสดงราคาที่ชัดเจน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของจังหวัดนครพนม และแสดงออกถึงความพร้อมในการต้อนรับนักท่องเที่ยว อันจะก่อให้เกิดรายได้ที่มั่นคง และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวของจังหวัดในอนาคต

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ร้องผู้ตรวจการฯ สอบ สทนช. ละเว้นปฏิบัติหน้าที่-ข้อมูลไม่ครบ แต่เดินหน้าจัดเวทีสร้างเขื่อนสานะคาม

ยื่นผู้ตรวจการแผ่นดินสอบ สทนช. ละเว้นปฎิบัติหน้าที่-ข้อมูลไม่ครบแต่เดินหน้าจัดเวทีโครงการสร้างเขื่อนสานะคาม

อลังการ! อุโมงค์ไฟดาวล้านดวง ชมแสงหลากสีระยิบระยับริมโขงรับลมหนาว

ลานกินลมชมวิว ริมแม่น้ำโขง ถนนสุนทรวิจิตร เขตเทศบาลเมืองนครพนม  นางสงวน มะเสนา รอง ผวจ.นครพนม นางสาวศุภพานี โพธิ์สุ นายก อบจ.นครพนม นายนิวัต เจียวิริยบุญญา นายกเทศบาลเมืองนครพนม นางสางนงนุช สีทาน้อย ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครพนม

จับล็อตใหญ่ริมน้ำโขง! ยาบ้าสูตรฟรุ้งฟริ้ง-ไอซ์ มูลค่ารวม 700 ล้านบาท

พล.ร.ต.ณรงค์ เอมดี ผบ.นรข. พ.อ.ปราโมทย์ เนียมสำเภา รองผู้บัญชาการกองกำลังสุรศักดิ์มนตรี (รอง ผบ.กกล.ฯ) นายวรวิทย์ พิมพนิตย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม น.อ.แมนรัตน์ บุญสวัสดิ์ ผู้บังคับการ นรข.เขตนครพนม (ผบ.นรข.เขตฯ)

ชาวบ้าน ผู้นำท้องถิ่น 3 อำเภอริมโขงเชียงราย แสดงพลังค้านเขื่อนปากแบง

ที่โฮงเฮียนแม่น้ำของ อ.เชียงของ จ.เชียงราย ชาวบ้าน ตัวแทนชุมชน ผู้นำสตรี และผู้นำท้องถิ่น อาทิ ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน นายกเทศมนตรี ตัวแทนองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)

อีสานสกูตเตอร์ เลาะตามสายแม่น้ำ 8 จังหวัด ปลดพันธนาการเขื่อนแม่น้ำโขง

กลุ่มแม่โขงอีสานสกูตเตอร์รณรงค์ผลกระทบจากการพัฒนาในแม่น้ำโขง  จากเขื่อนสานะคาม จ.เลย ถึง เขื่อนภูงอย จ.อุบลฯ ผ่าน 8 จังหวัดติดแม่น้ำโขงระยะทางกว่า 1,000 กิโลเมตร

แจงดราม่า! งานตักบาตรพระ 1 พันรูป ปล่อยนั่งตากแดด โยนออแกไนซ์รับผิด

จังหวัดนครพนม ได้รายงานข้อเท็จจริง กรณีงาน "มหาบุญแห่งศรัทธานครพนม" โดยตามที่ปรากฏข่าวบนสื่อสังคมออนไลน์ ประเด็น "ทัวร์ลงยับ นิมนต์พระ 1 พันรูป ปล่อยนั่งตากแดด" เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมานั้น