อาลัย 'อ.ทองร่วง เอมโอษฐ' ศิลปินแห่งชาติ ครูช่างปูนปั้นเมืองเพชร เสียชีวิตในวัย 80 ปี

13 เม.ย.2566 - เมื่อเวลา 00.15 น. วันนี้ ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่า อาจารย์ทองร่วง เอมโอษฐ ศิลปินแห่งชาติ ได้เสียชีวิตลงที่บ้านพักในตำบลช่องสะแก อำเภอเมืองเพชรบุรี ซึ่งเป็นที่ตั้งศูนย์การเรียนรู้ศิลปะปูนปั้นเมืองเพชร บ้านศิลปินแห่งชาติ หลังเข้าพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลเพชรรัตน์ และร้องขอให้ภรรยาพากลับบ้านก่อนจะเสียชีวิตอย่างสงบในบ้านพัก นับเป็นความสูญเสียอย่างยิ่งใหญ่ ที่ศิลปินแห่งชาติอย่างอาจารย์ทองร่วง ได้เสียชีวิตลง

สำหรับ นายทองร่วง เอมโอษฐ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประณีตศิลป์ – ศิลปะปูนปั้น) เป็นศิลปินปูนปั้นและผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะปูนปั้น มีฝีมือยอดเยี่ยมและจินตนาการอันบรรเจิดที่มีรูปแบบในการปั้นและสูตรเฉพาะตัวในการตําปูน ที่สืบทอดและอนุรักษ์ศิลปะปูนปั้นดั้งเดิม ของช่างเมืองเพชร มีผลงานปูนปั้นที่ซุ้มประตู ซุ้มหน้าต่าง ศาลาการเปรียญ และพระอุโบสถตามวัดในจังหวัดเพชรบุรีและต่างจังหวัดมากมาย เช่น วัดมหาธาตุวรวิหาร วัดพลับพลาชัย วัดโคก และวัดเขาบันไดอิฐ

ทั้งนี้ ได้สร้างสรรค์ผลงานอย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผลงานมีทั้ประเภทความงามด้านประเพณีช่างโบราณ เช่น ช่อฟ้า ใบระกา ซุ้มประตู ซุ้มหน้าต่าง หน้าบัน คันทวย อย่างสวยงาม และประเภทแนวสร้างสรรค์สังคม โดยการปั้นรูปล้อเลียนบุคคลทางการเมืองในแต่ละยุคสมัยนอกจากนี้ผลงานปั้นยังสอดแทรกคติธรรม ข้อคิดต่าง ๆ เป็นการผ่อนคลายความเครียดและสะท้อนภาพสังคมในยุคนั้น ๆ และยังก่อให้เกิดอรรถรสในการชมงานศิลปะปูนปั้น ทําให้ดูมีชีวิตชีวา ให้ความรู้สึกถึงความจริงแห่งวิถีในสังคมไทย ซึ่งเป็นการสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่าเพื่อให้ได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ และสังคมวัฒนธรรมไทย

นอกจากนี้ ยังเป็นกรรมการตัดสินการประกวดศิลปะปูนปั้นแห่งประเทศไทย และเป็นวิทยากรพิเศษสอนศิลปะปูนปั้นสกุลช่างเมืองเพชรให้กับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วประเทศ นับว่าเป็นอาจารย์สอนศิลปะปูนปั้นต้นแบบที่สามารถถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้แก่ผู้สนใจวิชาศิลปะปูนปั้นได้อย่างดียิ่ง และอุทิศตนให้กับสังคม ดําเนินชีวิตอย่างมีคุณค่าเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคมและอนุชนรุ่นหลังได้สืบทอดมรดกภูมิปัญญาอันทรงคุณค่าของไทยต่อไป

นายทองร่วง เอมโอษฐ จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (ประณีตศิลป์ – ศิลปะปูนปั้น) พุทธศักราช ๒๕๕๔

ประวัติชีวิต นายทองร่วง เอมโอษฐ เกิดเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๘๖ ที่ตําบลบางกระบือ อําเภอบางคนทีจังหวัดสมุทรสงครามเป็นบุตรคนที่ ๒ ในจํานวนพี่น้อง ๔ คน ของนายยศ เอมโอษฐ และนางสําลี เอมโอษฐ สมรสกับนางบุญเรือน เอมโอษฐ มีบุตร ๒ คน ชาย ๑ คน หญิง ๑ คน

ประวัติการศึกษา จบนักธรรมชั้นเอก จากวัดอัมพวันเจติยาราม จังหวัดสมุทรสงคราม ปริญญากิตติมศักดิ์ จากสถาบันราชภัฏเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี

ประวัติการทํางาน เริ่มทํางานปูนปั้นตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๔ จนถึงปัจจุบัน โดยปั้นงานให้กับวังและวัดต่างๆ ในจังหวัดเพชรบุรีและในต่างจังหวัด

พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้รับเชิญจากกรมศิลปากรในฐานะผู้เชี่ยวชาญพุทธศิลป์สถาปัตยกรรมและประติมากรรมไทย ในโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระบรมมหาราชวัง ในช่วงเตรียมการฉลอง ๒๐๐ ปีกรุงรัตนโกสินทร์

ประวัติการสร้างสรรค์ผลงาน ครูทองร่วงเมื่อวัยเด็กหลังจากจบการศึกษาชั้นประถมศึกาปีที่ ๔ บิดามารดาก็ให้บวชเป็นสามเณรอยู่ที่วัดบางใหญ่ ในอําเภอบางคนทีจังหวัดสมุทรสงคราม ระหว่างนั้นก็ได้รับความเมตตาจาก พระมหาเสวกจันทร์แดงสอนการคัดลายมือการเขียนลายไทยและการเขียนสีน้ํามัน เพื่อการเขียนป้ายต่างๆในวัดสามเณรน้อยตั้งใจศึกษาเล่าเรียน จนสามารถสอบนักธรรมตรีได้แล้วจึงย้ายไปวัดอัมพวันเพื่อศึกษาระดับนักธรรมโท และนักธรรมเอกต่อไป

ต่อมา สามเณรทองร่วง ได้พบกับครูพิณ อินฟ้าแสง ช่างปั้นชั้นครูผู้ซึ่งกลายมาเป็นครูคนแรกที่สอนงานและถ่ายทอดแนวคิดต่าง ๆ ในงานศิลปะปูนปั้นให้จึงเกิดความประทับใจจนกลายเป็นความศรัทธาหลังลาสิกขาบทขณะอายุได้ ๑๘ ปีหนุ่มน้อยทองร่วงจึงได้ใช้การเรียนรู้แบบครูพักลักจําจากการเฝ้าสังเกตดูครูพิณทํางานและทดลองปั้น พร้อมทั้งได้รับเอาวิธีการ เช่น ตําปูน ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องใช้ความมานะพยายามอย่างมากเพราะกว่าจะได้ปูน ๑ กระป๋องต้องใช้เวลาตําถึง ๓ วัน รูปแบบ การแก้ปัญหา และแนวความคิดในการสร้างสรรค์งานแบบอย่างครูพิณไว้ได้อย่างครบถ้วน จนสามารถก้าวขึ้นเป็นศิลปินปูนปั้นแถวหน้าของจังหวัดเพชรบุรีและได้รับการยอมรับนับถือจากช่างปูนปั้นทั้งเก่าและใหม่ในที่สุด

ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ครูทองร่วงได้ทํางานออกแบบพระพุทธรูป โบสถ์และงานปูนปั้นสําคัญ ๆ มากมาย รวมทั้งออกแบบฐานพระประธาน พระพุทธชินราช และโบสถ์หลังใหญ่ วัดโตนดหลวงอําเภอชะอํา จังหวัดเพชรบุรีลวดลายของโบสถ์และเจดีย์วัดกลางบางแก้ว อําเภอนครชัยศรีจังหวัดนครปฐมทําให้ชื่อเสียงของครูทองร่วง เป็นที่รู้จักแพร่หลายของคนทั่วไปทั้งในจังหวัดเพชรบุรีและต่างจังหวัดมากยิ่งขึ้น

งานหัตถกรรมปูนปั้นของครูทองร่วงแบ่งเป็น ๓ ประเภท ได้แก่ ประเภทความงาม เช่นงานปั้น ประเพณีลวดลายโบราณ ดังเช่นที่ปรากฏในวัดพระแก้ว งานประเภทแฝงธรรมะที่ประดับตกแต่งตามวัดวาอารามต่าง ๆ และประเภทความคิดซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์ของครูทองร่วง ดังจะเห็นได้จากงานปั้นล้อเลียนการเมืองหรือเหตุการณ์ปัจจุบันในแนวการ์ตูน เช่นงานปั้นหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เมื่อครั้งเข้ารับตําแหน่งนายก รัฐมนตรีในปีพ.ศ. ๒๕๑๘ ตามมาด้วยรูปบุคคลสําคัญทั้งในและต่างประเทศอีกหลายท่านรวมถึงงานปูนปั้น ประดับ "ศาลานางสาวอัมพร บุญประคอง” ในวัดมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งครูทองร่วงได้นําเรื่องราวจากวรรณคดี "พระอภัยมณี” มาผนวกกับเหตุการณ์การเรียกร้องประชาธิปไตย ๑๔ตุลาคม ๒๕๑๖ และเหตุการณ์๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ แล้วถ่ายทอดมาเป็นงานปูนปั้นอย่างมีแง่คิดและสวยงาม

ครูทองร่วงบอกเสมอว่า "ผลงานที่ภาคภูมิใจที่สุดในชีวิตคือการที่ได้รับเชิญจากกรมศิลปากรในฐานะผู้ เชี่ยวชาญด้านพุทธศิลป์สถาปัตยกรรมและประติมากรรมไทยในโครงการ บูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระบรมมหาราชวัง ในช่วงเตรียมการฉลอง ๒๐๐ ปีกรุงรัตนโกสินทร์”ในครั้งนั้นครูทองร่วงได้เป็นผู้ออกแบบและควบคุมช่างนับ ร้อยให้ทํางานจนสําเร็จลุล่วงไปอย่างดียิ่ง นับเป็นเกียรติประวัติของชีวิต ตลอดจนเป็นการฝากงานฝีมือให้คนรุ่นหลังได้เห็นความสวยงามและซาบซึ้งในศิลป หัตถกรรมปูนปั้นที่ทรงคุณค่าของไทย

ปัจจุบัน ครูทองร่วงซึ่งได้ตัดสินใจที่จะบ่มเพาะช่างรุ่นหลังๆไว้สืบทอดศิลปะแขนงนี้จึงมุ่งเน้นการสอนเพียงอย่างเดียว ครูค่อยๆฝึกคนทํางานทีละ ๔ – ๕ คน เพื่อหัดทําปูนปั้นลวดลายง่ายๆ พอชํานาญสามารถทําลวดลายที่ยากขึ้น ครูก็จะเปิดโอกาสให้ลูกศิษย์ไปรับงานเองได้ เวลาใดที่มีงานใหญ่ครูก็จะระดมบรรดาลูกศิษย์มาร่วมกันทําและต่อยอดด้วยการสอนคนใหม่ๆ เพิ่มขึ้น

วันนี้นอกจากงานศิลปะปูนปั้นลอยตัวที่งดงามราวกับมีชีวิตซึ่งครูทองร่วงได้ ทุ่มเทพลังเพื่อสร้างสรรค์คู่วัดวาอารามด้วยความตั้งใจทําเป็นพุทธบูชา ก็เป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่าครูทองร่วงยังได้มุ่งมั่นอนุรักษ์หัตถกรรมปูน ปั้นแบบดั้งเดิมของช่างเพชรบุรีให้อยู่คู่กับประเทศไทยตลอดไป

ประวัติการแสดงผลงาน

พ.ศ. ๒๕๑๒ ปูนปั้นหน้าบันศาลาการเปรียญ วัดเขาบันไดอิฐ ด้านทิศใต้ซึ่งเกิดจากแนวคิดที่ว่า ภาพจิตรกรรมยังเขียนเป็นเรื่องได้งานปูนปั้นก็น่าจะทําได้จึงปั้น"ตอนทศกัณฐ์ออกศึก”

พ.ศ. ๒๕๑๘ ปั้นฐานพระวัดมหาธาตุวรวิหาร โดยปั้นเป็นภาพล้อบุคคลและเหตุการณ์เมืองที่แฝงแง่คิดต่างๆ

พ.ศ. ๒๕๒๒ ปั้นหน้าบัน ช่อฟ้า ใบระกา ศาลหลักเมือง จังหวัดเพชรบุรี

พ.ศ. ๒๕๒๓ ปั้นรูปพระพิฆเนศ พระวิษณุกรรม หน้าพระวิหารวัดมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี

พ.ศ. ๒๕๒๔ ปั้นฐานเสมา วัดสนามพราหมณ์จังหวัดเพชรบุรี

พ.ศ. ๒๕๒๕ ปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระบรมมหาราชวัง ในการสมโภช กรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี

พ.ศ. ๒๕๒๖ ปั้นมังกรที่ศาลเจ้าจีน จังหวัดเพชรบุรี

พ.ศ. ๒๕๒๗ ปั้นหน้าบันวัดโคกกรอย จังหวัดพังงา

พ.ศ. ๒๕๒๘ ร่วมดําเนินการก่อสร้างพระเมรุมาศเพื่อใช้ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิง พระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารําไพพรรณีพระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗

พ.ศ. ๒๕๒๙ ปั้นภาพเหตุการณ์๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ตกแต่งศาลานางสาวอัมพร บุญประคอง วัดมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี

พ.ศ. ๒๕๓๐ งานปั้นหน้าบันศาลานางสาวอัมพร บุญประคอง วัดมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี

พ.ศ. ๒๕๓๑ เทวดาแต่งองค์ปรางค์ที่ทําการปฏิสังขรณ์ใหม่ ประติมากรรมรูปยักษ์แต่งองค์ปรางค์ วัดมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี

พ.ศ. ๒๕๓๒ ประติมากรรมรูปยักษ์แต่งองค์ปรางค์ที่ทําการปฏิสังขรณ์ใหม

พ.ศ. ๒๕๓๓ ปั้นภาพสุนทรภู่ วรรณคดีเรื่องพระอภัยมณีวัดมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี

พ.ศ. ๒๕๓๕ ปั้นภาพ "พฤษภาทมิฬ”

พ.ศ. ๒๕๔๐ ปั้นซุ้มท้าวพระพรหม สถานีรถรางไฟฟ้าเคเบิลคาร์ (เขาวัง) จังหวัดเพชรบุรี

พ.ศ. ๒๕๔๓ งานปั้นภาพพระมหาชนกใช้กระเบื้องตกแต่ง ที่ร้านขนมหม้อแกงแม่กิมไล้จังหวัดเพชรบุรี

พ.ศ. ๒๕๔๔ หน้าบันพระอุโบสถ วัดกลางบางแก้ว อําเภอนครชัยศรีจังหวัดนครปฐม

พ.ศ. ๒๕๔๖ งานปูนปั้นฐานชุกชีพระอุโบสถ วัดกลางบางแก้ว อําเภอนครชัยศรีจังหวัดนครปฐม

พ.ศ. ๒๕๔๗ – ๒๕๔๘ งานปูนปั้นฐานพระประธาน พระอุโบสถวัดกลางบางแก้วอําเภอนครชัยศรีจังหวัดนครปฐม

พ.ศ. ๒๕๔๙ ปั้นซุ้มเทวกําเนิดเทวดา เพื่อนําไปร่วมจัดงานพระราชพิธีฉลองสิริราชย์สมบัติ๖๐ ปีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช โดยได้นําไปจัดซุ้มแสดงที่หน้าโรงแรมรัตนโกสินทร์ ถนนราชดําเนิน กรุงเทพมหานคร
รางวัลและเกียรติคุณที่ได้รับ

พ.ศ. ๒๕๒๘ รับมอบเกียรติบัตรการปฏิบัติงานกับโครงการปฏิสังขรณ์พระอุโบสถและปูชนียสถานวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จากนายสนั่น สมฟื้น ผู้อํานวยการฝ่ายปฏิบัติการพิเศษช่างสิบหมู่

พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้รับรางวัลผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมภาคกลางจากสํานักงานคณะกรรมการ
วัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.)

พ.ศ. ๒๕๒๘ รับเกียรติบัตรในการร่วมงานซ่อมเครื่องประกอบพระเมรุเพื่อใช้ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารําไพพรรณีพระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗

พ.ศ. ๒๕๓๒ เข้ารับพระราชทานเข็มสิรินธร จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ของ สถาบันราชภัฏเพชรบุรี (สาขาศิลปศาสตร) ์
จากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

พ.ศ. ๒๕๔๒ รับเกียรติบัตรจากสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก เนื่องจากทําคุณประโยชน์ต่อ
พระพุทธศาสนาในด้านส่งเสริมวิชาชีพ

พ.ศ. ๒๕๔๒ เข้ารับรางวัลพระราชทานเสมาธรรมจักร (สาขาส่งเสริมวิชาชีพ)จากพลตรีสนั่น ขจรประศาสน์

พ.ศ. ๒๕๔๙ เข้ารับรางวัลพระราชทานรางวัลบุคคลดีเด่น "ด้านการอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่น”
ประจําปีพ.ศ. ๒๕๔๙ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี

พ.ศ. ๒๕๔๙ เข้ารับรางวัลพระราชทานรางวัล "ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม สาขาศิลปะ(การช่างฝีมือ)” ประจําปีพ.ศ. ๒๕๔๙ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อาลัย ‘สันติ ลุนเผ่’ ศิลปินแห่งชาติ นักร้องเสียงทรงพลังอมตะ ผู้ขับร้องเพลงปลุกใจรักชาติ

10 ธ.ค.2567 - นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กล่าวว่า ได้รับการประสานงานจากผู้ดูแลของเรือตรี สันติ ลุนเผ่ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) พ.ศ.2558 ว่า เรือตรี สันติ ลุนเผ่ ถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม

พระราชทานเพลิงศพ 'ชรินทร์ นันทนาคร'

งานพระราชทานเพลิงศพ ชรินทร์ นันทนาคร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ที่จากไปอย่างสงบด้วยโรคชรา ในวัย 91 ปี เมื่อช่วงวันที่ 20 สิงหาคม ที่ผ่านมา จัดขึ้น ณ วัดธาตุทอง พระอารามหลวง เขตวัฒนา กรุงเทพ

ผลงาน'ตรี อภิรุม' ราชานิยายลึกลับสยองขวัญ

21 พ.ย.2567 - นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กล่าวว่า นายเทพ ชุมสาย ณ อยุธยา ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (นวนิยาย) พุทธศักราช 2562  นามปากกา “ตรี อภิรุม” หรือ “นายเทพ ชุมสาย ณ อยุธยา” เจ้าของผลงาน “นาคี” 

อาลัย! สิ้น 'เทพ ชุมสาย ณ อยุธยา' ศิลปินแห่งชาติ ราชานวนิยายลึกลับสยองขวัญของไทย

แฟนเพจ "ตรี อภิรุม" แจ้งข่าวการเสียชีวิตของ "อ.เทพ ชุมสาย ณ อยุธยา" ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ.2562

'น้าหงา' เขียนถึง ฝรั่งนักล่าอาณานิคม ปล้นชิงเอาสิ่งมีค่า กระทบต่อโลกอย่างไม่คาดไม่เห็นมาก่อน

น้าหงา สุรชัย จันทิมาธร ศิลปินแห่งชาติ โพสต์ข้อความว่า คิดๆเขียนๆไปงั้นแหละครับ ในยุคล่าอาณานิคมที่คนส่วนหนึ่งที่เรียกตัวเอ

ศิลปินแห่งชาติ ชี้บ่อนกาสิโน สิ่งที่ได้คือ เงิน เผยสิ่งที่เสียไป ประเทศชาติพังแน่

วินทร์ เลียววาริณ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กว่า ผมเกิดในยุคจอมพล ป. โตในยุคจอมพลสฤษดิ์และจอมพลถนอม