แขวงทางหลวงภูเก็ตเร่งแก้ไขจุด ‘โค้งหักศอกควนสะตอ’ จ.ภูเก็ต

แขวงทางหลวงภูเก็ต เร่งแก้ปัญหาโค้งหักศอกควนสะตอ จ.ภูเก็ต เส้นทางสัญจรไปยังแห่งท่องเที่ยวสำคัญ หลังเกิดเกิดอุบัติเหตุซ้ำซาก-ดินสไลด์ คาดหากได้ตัวผู้รับจ้างภายในเดือน ธ.ค.นี้ จะเริ่มก่อสร้างได้เดือน ม.ค.65

29 พ.ย.2564-นายสมัคร เลือดวงหัด ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงภูเก็ต  เปิดเผยภายหลังศาสตราจารย์อิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์ ผู้ตรวจการแผ่นดิน พร้อมด้วยนายกีรป กฤตธีรานนท์ เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน และคณะลงพื้นที่จังหวัดภูเก็ตร่วมกับ ผู้แทนผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ บริเวณโค้งควนสะตอ  เพื่อติดตามการแก้ไขปัญหาเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งจากเส้นทางขึ้น-ลงเขา บนหลวงหมายเลข 4028 ตอนห้าแยกฉลอง-กะรน บริเวณทางโค้งควนสะตอ จังหวัดภูเก็ต ซึ่งถนนเส้นทางดังกล่าวประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวต่างชาติใช้ในการเดินทางสัญจรเส้นรอบเกาะไปยังหาดกะตะ,หาดกะรน ,หาดป่าตอง และเชื่อมไปยังหาดกมลาได้

สำหรับแนวทางในการแก้ไขปัญหาบริเวณถนนหักศอก เนื่องจากพบว่ามีปัญหาซ้ำซ้อนเรื่องของดินสไลด์ โดยได้วางแผนว่าภายในในปี 2565 จะเริ่มดำเนินการซ่อมถนนเส้นนี้ให้สามารถกลับมาใช้ได้เป็นปกติ สำหรับถนนดังกล่าวมีความกว้างขนาน 4 ช่องจราจร ระยะทางเกือบ 1 กิโลเมตร คาดว่าจะเริ่มหาตัวผู้รับจ้างได้ภายในเดือนธ.ค.นี้  เมื่อหาผู้รับจ้างได้แล้วขั้นตอนต่อไปจะเดินหน้าเริ่มก่อสร้างได้ภายในเดือน ม.ค.2565 คาดว่าจะใช้เวลาในการก่อสร้าง 210 วัน หรือประมาณ 7 เดือน หลังจากที่ได้มีการลงนามสัญญา ส่วนงบประมาณในการดำเนินการ 70 ล้านบาท เป็นงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรคในปี2565

นายสมัคร กล่าวว่า การเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่ดังกล่าวเกิดจากรถบรรทุกขนส่งวัสดุที่มาจากนอกพื้นที่ขับขี่อาจจะไม่มีความชำนาญและรถมอเตอร์ไซค์ของนักท่องเที่ยวที่เช่ามาขับขี่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดเหตุในช่วงที่มีฝนตกเนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมีลักษณะเป็นทางโค้งหักศอกลาดชันทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ส่วนการจราจรในเส้นทางดังกล่าวในช่างฤดูกาลท่องเที่ยวมีรถสัญจรวันละเกือบ 1 หมื่นคันต่อวัน ทั้งนี้เชื่อว่าเมื่อแก้ไขบริเวณโค้งควนสะตอแล้ว จะทำให้ประชาชนได้รับความสะดวกสบายและลดการเกิดอุบัติเหตุในการสัญจร ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคมและนายสราวุธ ทรวงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง

ทั้งนี้ในระหว่างที่มีการปรับปรุงซ่อมแซ่มเส้นทางดังกล่าว ได้มีการวางแผนบริหารจัดการในระหว่างที่มีการก่อสร้าง ซึ่งปัจจุบันยังเกิดการสไลด์ของดิน ทำให้เหลือผิดจราจรที่สามารถใช้ได้ 3 ช่องจราจร แบ่งเป็นขาขึ้นเขา 1 ช่องจราจร ขาลง 2 ช่องจราจร สำหรับการแก้ไขเรื่องโค้งหักศอก ทางผู้ตรวจการแผ่นดินได้เร่งให้กรมทางหลวงรีบดำเนินการ ซึ่งหลังจากนี้ทำการสำรวจออกแบบ ขณะเดียวกันต้องดูว่าจะต้องมีการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(EIA) ด้วยหรือไม่

นายสมัคร กล่าวว่า ผู้ตรวจการแผ่นดินได้ฝากให้ตรวจเช็ค แนวทางแก้ไขป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดจากปัญหาถนนที่ทรุดตัว ควรเข้มงวดในการตรวจจำกัดน้ำหนักของรถ ณ ปัจจุบัน เช่น รถบรรทุก รถทัวร์ท่องเที่ยว ที่น้ำหนักเกินพิกัด รวมถึงการหาเส้นทางอื่นๆ ให้ประชาชน นักท่องเที่ยวใช้สัญจรเป็นเส้นทางเบี่ยงก่อน  2.ให้ดำเนินการเพิ่มอุปกรณ์นำทาง เช่นเป้าสะท้อนแสง ในบริเวณเกาะกลาง เพื่อเป็นสัญลักษณ์นำทิศทางการขับขี่ของประชาชน เพื่อลดอุบัติเหตุ และ3 ติดตั้งป้าย แนะนำความลาดชันชัน และเตือนเส้นทางโค้งหักศอก เพื่อให้ผู้ขับขี่เกิดความระวัง โดยที่ผ่านมาแขวงทางหลวงฯได้ดำเนินการตามข้อปฎิบัติการดังกล่าวอยู่แล้ว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ระดมสมองฟื้นฟูเชียงราย ชงข้อเสนอนายกฯอิ๊งค์ เร่งเคลียร์ให้จบก่อนเปิดฤดูท่องเที่ยว

ภาคประชาสังคม-นักธุรกิจ-นักวิชาการเชียงราย ชงข้อเสนอให้นายกรัฐมนตรีแก้ปัญหาหลังภัยพิบัติ จี้เร่งเคลียร์พื้นที่ให้จบโดยเร็วก่อนเปิดเมือง 1 พ.ย.-จัดกิจกรรมใหญ่ท่องเที่ยวให้ทันฤดูกาลหวังพลิกฟื้นเศรษฐกิจ

แห่ถอนเงินหมื่น วันที่สอง ชาวบ้านอยากให้นายกฯอิ๊งค์อยู่กับคนไทยไปนานๆ

บริเวณหน้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาขอนแก่น หรือ ธ.ก.ส. ถ.รื่นรมย์ เขตเทศบาลนครขอนแก่น ซึ่งเป็นวันที่สอง ของการโอนเงิน 10,000 บาท

นครพนม ประกาศพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม 6 อำเภอ นาข้าวเสียหายกว่าแสนไร่

จ.นครพนม ได้ประกาศเป็นเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย และเขตให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยกรณีฉุกเฉิน อุทกภัย ล่าสุดรวม 6 อำเภอ ประกอบด้วย  1.อำเภอศรีสงคราม

'แม่น้ำน่าน' เพิ่มต่อเนื่อง ขึ้นสูงสุดในรอบปี เขื่อนสิริกิติ์-แควน้อยฯ ปรับลดการระบายน้ำ

เขื่อนสิริกิติ์ ปรับลดการระบายน้ำลงเหลือวันละ 14 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนเขื่อนแควน้อยบำรุงแดนปรับลดลงเหลือ วันละ 600,000 ลูกบาศก์เมตร เ

ผู้ว่าฯ อ่างทองแจ้งชาวบ้านเตรียมรับมือเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มระบายน้ำ

ผู้ว่าฯ แจ้งเตือนน้ำเจ้าพระยาสูงขึ้นต่อเนื่อง เตือน "เขื่อนเจ้าพระยา" เพิ่มปริมาณการระบายน้ำในอัตรา 1,500 - 2,000 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ชาวบ้านในพื้นได้เตรียมพร้อมรับสถานการณ์

น้ำปิงท่วมทำสถิติใหม่สูงกว่าเมื่อปี 2554

ระดับน้ำปิงทำสถิติน้ำท่วมสูงกว่าทุกปี ขยายพื้นที่ท่วมวงกว้างหลายหน่วยระดมช่วยเหลือชาวบ้านเร่งระบายน้ำ ล่าสุดน้ำปิงเริ่มลดระดับต่อเนื่อง