ปภ.แจ้งจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และ 12 จังหวัดภาคใต้ เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำหลาก ดินถล่ม อ่างเก็บน้ำเสี่ยงน้ำล้น และน้ำล้นตลิ่งช่วงวันที่ 26 - 30 พ.ย.
25 พ.ย.2564 - กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ได้รับแจ้งจากศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่ภาคใต้ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ว่าได้ประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำจากฝนคาดการณ์ (ONE MAP) ของกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์กรมหาชน) ร่วมกับคณะทำงานอำนวยการบริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคใต้ พบว่า พื้นที่เสี่ยงตามประกาศฉบับที่ 2/2564 ลงวันที่ 19 พ.ย. 2564 ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง จึงขอเน้นย้ำพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังสถานการณ์ภัย ในช่วงวันที่ 26 – 30 พ.ย.2564 กอปภ.ก จึงได้แจ้งจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และ 12 จังหวัดภาคใต้ เฝ้าระวังสถานการณ์ภัย ในช่วงวันที่ 26 - 30 พฤศจิกายน 2564 ดังนี้
1. พื้นที่เฝ้าระวังน้ำหลาก ดินถล่ม ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ระนอง ตรัง ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
2. พื้นที่เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำล้นกระทบพื้นที่บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำในภาคกลาง ได้แก่ เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ภาคใต้ ได้แก่ สุราษฎรานี กระบี่ ระนอง ภูเก็ต ตรัง และนราธิวาส
3. เฝ้าระวังระดับน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ ได้แก่ บริเวณคลองบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, คลองชุมพร คลองหลังสวน และคลองสวี จังหวัดชุมพร, คลองอิปัน แม่น้ำตาปี จังหวัดสุราษฎร์ธานี, คลองท่าดี จังหวัดนครศรีธรรมราช, ทะเลสาบสงขลา และคลองอู่ตะเภา จังหวัดสงขลา, แม่น้ำปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี, แม่น้ำโก-ลก และคลองตันหยงมัส จังหวัดนราธิวาส และพื้นที่ลุ่มต่ำบริเวณปากอ่าวเนื่องจากจะมีระดับน้ำทะเลหนุนยกตัวสูงกว่าปกติในช่วงเวลาดังกล่าว ประมาณ 0.5 – 1.0 เมตร
โดยได้ประสานให้จังหวัดเสี่ยงภัยและศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยทราบล่วงหน้า รวมถึงจัดเตรียมเครื่องมือเครื่องจักรกลสาธารณภัยและทีมปฏิบัติการเข้าประจำพื้นที่เสี่ยงให้พร้อมเผชิญเหตุและช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ทันที หากประเมินแล้วมีแนวโน้มจะเกิดสถานการณ์รุนแรงในพื้นที่ ให้จังหวัดดำเนินการตามแผนเผชิญเหตุอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนติดตามพยากรณ์อากาศ สถานการณ์ภัย และข้อมูลข่าวสารจากทางราชการอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ให้เตรียมความพร้อมมือสถานการณ์ภัยที่อาจเกิดขึ้น หากได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัยสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และแอปพลิเคชัน “พ้นภัย”รวมถึง สายด่วนนิรภัย1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
25 จังหวัด ศปช.เตือนเฝ้าระวัง 'ดินถล่ม - น้ำป่า'
ศปช.รายงานสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลันที่ อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี บ่ายนี้น้ำลดปกติแล้ว ส่งทุกหน่วยงานเข้าฟื้นฟู ส่วนอากาศจากจีนส่งไทยแปรปรวนยังคงต้องแจ้งเตือน 25 จังหวัดระวังดินถล่มและน้ำป่า ทยอยจ่ายเงินเยียวยา ขณะที่เชียงรายล้างโคลนบ้านเรือน ปชช.พรุ่งนี้เสร็จเรียบร้อย
'ศปช.' สรุป 5 ข้อหลัก น้ำท่วมเชียงใหม่-เชียงราย ยันเป็นเหตุไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) แถลงผลการประชุมว่าที่ประชุมมีการประมวลวิเคราะห์สถานการณ์
'ศปช. ส่วนหน้า' เตือนเชียงใหม่รับน้ำอีกรอบ ประกาศพื้นที่เสี่ยง 7 โซน
'ศปช. ส่วนหน้า' เตือนเชียงใหม่เตรียมรับน้ำอีกรอบ ประกาศพื้นที่เสี่ยง 7 โซน ด้าน ปภ. ระดมกำลังเสริมเข้าพื้นที่ เชียงรายน้ำลดเร่งฟื้นฟู
เชียงใหม่ยังวิกฤต! มวลน้ำป่าทะลักลงแม่ปิงค่ำนี้ เพิ่มสูงส่อทุบสถิติใหม่
สถานการณ์น้ำท่วมตัวเมืองเชียงใหม่ยังคงวิกฤตต่อเนื่อง แม้ระดับน้ำปิงที่จุด p1 จะขึ้นสูงสุดช่วงตีสองที่ผ่านมา 4.81 เมตร
ทุ่งบางระกำโมเดล เก็บน้ำแล้ว 112% ชาวพรหมพิราม เดือดร้อนขาดฟางข้าว-ต้นหญ้าเลี้ยงสัตว์
สถานการณ์น้ำที่ จ.พิษณุโลก วันนี้เริ่มดีขึ้น แม่น้ำลำคลองทุกสายเริ่มลดระดับลงอีกครั้ง แม้มีฝนตกในพื้นที่อยู่บ้างก็ตาม ขณะทุ่งบางระกำโมเดล เก็บน้ำเข้าทุ่ง 449 ล้าน ลบ.ม คิดเป็น 112%
น้ำเต็ม 100% ทุ่งบางระกำโมเดล ระดับน้ำเพิ่มสูง เริ่มกระทบชาวบ้าน-เส้นทางสัญจร
ทุ่งบางระกำโมเดล ในจังหวัดพิษณุโลกและสุโขทัย รับน้ำเต็มๆมีน้ำอยู่ในทุ่งแล้ว 440 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของความจุเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน