'อำนาจเจริญ' โล่งสูดอากาศได้เต็มปอด หัวหน้า ปภ.จังหวัดรายงานฝุ่นพิษมากสุดต้องย้อนไปเมื่อช่วงต้นปี 2565
16 ก.พ.2566 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางขนิษฐา แห่งธรรม หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอำนาจเจริญ กล่าวผ่านรายการ “ผู้ว่าฯคุยกับประชาชน” ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดอำนาจเจริญว่า ในช่วงปลายฤดูหนาวของทุกปีประเทศไทย จะเกิดสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM 2.5) เกินมาตรฐานในหลายพื้นที่ โดยสถานการณ์ดังกล่าวมีสาเหตุหลักจากกิจกรรมต่างๆ ทั้งโดยธรรมชาติและจากกิจกรรมของมนุษย์ อาทิ การคมนาคม ขนส่ง การเผาในที่โล่ง การเกิดไฟป่า ภาคอุตสาหกรรม การก่อสร้าง และหมอกควันข้ามแดน
นางขนิษฐากล่าวเพิ่มเติมว่า สถานการณ์ด้านไฟป่าและหมอกควันจังหวัดอำนาจเจริญ ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ไม่มีสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันเกิดขึ้นแต่อย่างใด สถานการณ์ด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ปี 2564 - 2565 ที่ผ่านมา ปริมาณค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) สูงสุดที่วัดได้ มีค่าเท่ากับ 140 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จากหน่วยตรวจวัดคุณภาพอากาศ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสาร อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2565 และจุดที่วัดได้สูงเป็นลำดับถัดมา คือ หน่วยตรวจวัดคุณภาพอากาศสำนักงานสาธารณสุขอำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ วัดได้ 121 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565
“หากเกิดสถานการณ์ขึ้นในพื้นที่ ให้แจ้งไปที่ กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอำนาจเจริญ สายด่วน นิรภัย โทร. 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
คนกรุงอ่วม! ลมหนาวไม่มาแต่ฝุ่นพิษมาทุกพื้นที่
เพจกองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร
คนกรุงเทพฯ 13 พื้นที่ จมฝุ่นพิษ เกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม
ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร : ประจำวันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เวลา 07.00 น. ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร
คนกรุงทนร้อนอย่างเดียว! อากาศอยู่ในเกณฑ์ดี
เพจกรุงเทพมหานคร โพสต์กราฟฟิกพร้อมเนื้อหา
คนกรุงสูดอากาศได้เต็มปอดคุณภาพอากาศดี
เพจกรุงเทพมหานคร โพสต์กราฟฟิกพร้อมเนื้อหา
ปี 2566 ไทยมีคุณภาพอากาศแย่ติด 1 ใน 5 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
รายงานคุณภาพอากาศโลกปี 2566 ของ IQAir ระบุว่าประเทศไทยมีคุณภาพอากาศในระดับที่แย่เป็นอันดับที่ 5 จากทั้งหมด 9 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวัน