พระขอนแก่นแจง มีบัญชีส่วนตัว แต่ไม่ได้เอาเงินวัด ด้านกำนันเชื่อ หากหน่วยงานเป็นตัวกลางพูดคุย น่าจะจบปัญหาพระกับชาวบ้านได้
28 ม.ค.2566 - ที่ศาลาการเปรียญ วัดโพธิ์ทอง บ้านเขวา ม.15 ต.กุดเค้า อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น พระมหาปิยพงษ์ ภิขุปาโล อายุ 41 ปี พระลูกวัด วัดโพธิ์ทอง ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ภายหลังจากถูกกำนันตำบลกุดเค้าร้องเรียน กล่าวหาว่าเอาเงินทำบุญเข้าบัญชีส่วนตัวนำไปใช้ส่วนตัว และการบูรณะอุโบสถของวัดที่ไม่มีการแจ้งชาวบ้าน และเงินที่มีผู้จริจาคให้บูรณะอุโบสถ 700,000 บาท ชาวบ้านข้องใจว่าเงินอยู่ไหน ทำไมพระจึงไม่ให้ชาวบ้านและกรรมการวัดรับรู้ด้วย
โดยพระมหาปิยพงษ์ ภิขุปาโล ได้นำบันทึกรายการการเดินบัญชีธนาคารหรือสเตทเม้นท์ ของธนาคารกรุงไทย ซึ่งเป็นบัญชีเงินฝากส่วนตัว รวมถึงบัญชีนอกที่บริหารจัดการโดยสมาชิก ชมรม ช.ก.ว.(ชมรมกัลยาณมิตรวัดโพธิ์ทองในพระบรมราชูปถัมภ์) และภาพถ่ายที่ทำกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา และกิจกรรมบริจาคน้ำดื่มในช่วงน้ำท่วมในปีที่ผ่านมา นำมาแสดงต่อสื่อมวลชนด้วย
พระมหาปิยพงษ์ กล่าวว่า เป็นคนบ้านเขวา บวชและจำพรรษาที่วัดโพธิ์ทองมาหลายปี มีการจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาหลายโครงการ รวมถึงนำญาติโยมที่เป็นสายบุญรวมถึงญาติโยมที่ร่วมอยู่ในชมรม ช.ก.ว.ไปแสวงบุญ ในเทศกาลต่างๆ เพื่อให้ญาติโยมได้กราบไหว้ครูบาอาจารย์ และร่วมบุญกันตามศรัทธา เพราะทุกครั้งที่ไปทำบุญหรือทำกิจกรรมทางพระพุทธศาสนานั้น ไม่ได้เรียกร้องปัจจัยหรือขอเรี่ยรายปัจจัยจากสายบุญแต่อย่างใด โดยเงินที่ดำเนินการในการไปทำกิจกรรม หรือการแสวงบุญนั้น เป็นปัจจัยที่ได้จากศิษย์ที่เป็นสายบุญร่วมบริจาคมา ก็ดำเนินการจัดกิจกรรมต่างๆ ซึ่งดำเนินการเช่นนี้ติดต่อกันมาหลายปีแล้ว และก่อนจะดำเนินกิจกรรมก็มีการเชิญชวนชาวบ้านและคนที่ร่วมในชมรม ช.ก.ว.ไปด้วย ใครจะไปก็ได้ไม่ได้ก็ได้ เพราะไม่ได้ให้ใครมาเสียค่าใช้จ่ายให้
"ในส่วนของการเปิดบัญชีส่วนตัวนั้น ยอมรับว่าเปิดจริง เพราะในบางครั้งก็ต้องไปเป็นอาจารย์สอนหนังสือให้ลูกศิษย์ ก็จะมีค่าตอบแทนเข้ามา และจ่ายเข้าบัญชีส่วนตัว ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิด เพราะเป็นรายได้จากอาชีพสุจริต ไม่ได้เรี่ยรายหรือรีดไถใครมา และหากมีการนำไปใช้ส่วนตัวก็ไม่น่าจะเกิดปัญหาใดๆ ส่วนบัญชีนอก หรือรายได้ที่เกิดจากการทำบุญและการบริจาคจากสายบุญต่างๆ ก็มีสมาชิกของชมรม ช.ก.ว. ดูแล และไม่ได้น้ำเงินส่วนนี้มาใช้ส่วนตัวแต่อย่างใด ส่วนบัญชีของวัด ก็มีคณะกรรมการวัดช่วยกันดูแล พระไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย"
พระมหาปิยพงษ์ กล่าวต่อว่า มีจดหมาย ลงวันที่ 25 ธ.ค. 2565 ส่งมาหาที่วัด รายละเอียดในจดหมายเขียนว่าเขียนจากที่ทำการกำนันตำบลกุดเค้า มีมติที่ประชุมแจ้งเพื่อทราบเรื่องที่มหาปิยพงษ์ ขอบูรณะหลังคาอุโบสถ วัดโพธิ์ทองบ้านเขวาและขอเบิกเงินบัญชีวัดโพธิ์ทอง 100,000 บาท เพื่อไปดำเนินการซ่อมแซมหลังคาอุโบสถ ทางชาวบ้านทั้ง 2 หมู่บ้าน ยังไม่เข้าใจในรายละเอียด ทางผู้นำจึงได้มาปรึกษาหารือแก้ไขปัญหา เพื่อที่จะแก้ปัญหาทั้งสองฝ่าย ขอให้พระมหาปิยะพงษ์นำรายละเอียดเพื่อเปิดประชุมทำความเข้าใจกับชาวบ้านตามรายละเอียดดังนี้ 1. หาแปน(ช่าง) 2. เสนอเวลาการซ่อมแซมอุโบสถ 3. ค่าใช้จ่ายรายรับรายจ่าย เพื่อเสนอชาวบ้าน หมายเหตุบูรณะเฉพาะหลังคาอุโบสถเท่านั้น
“รายละเอียดในจดหมายดังกล่าวนั้น เกิดจากความไม่เข้าใจกัน และยังไม่ได้ชี้แจงรายละเอียด ก็เกิดเรื่องขึ้นก่อน เนื่องจากว่า ตนได้ทำกฐินส่วนตัวที่บ้านพับญาติโยม และนำเงินยอดกฐิน 300000 มาให้วัดโพธิ์ทองและคณะกรรมการวัดก็นำเงินไปเก็บแล้ว จึงได้แจ้งไปว่าจะทำการนำเงินส่วนนี้ไปทำการบูรณะอุโบสถ แค่เงินกฐินคงไม่พอ แต่ยังมีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคมาให้อีก 700,000 บาท ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวนั้นยังอยู่ และยังไม่ลงมือบูรณะอุโบสถ เพราะตั้งใจว่าจะบูรณะในช่วงบุญผะเหวด แต่ก็ยังไม่ได้ชี้แจงให้ชาวบ้านทราบก็เกิดเรื่องร้องเรียนขึ้นก่อน ซึ่งก็ไม่ได้กลัวหรือวิตกกังวลแต่อย่างใด เพราะที่ถูกกล่าวหานั้นมีหลักฐานและสามารถชี้แจงได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่จากสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดขอนแก่น รวยมถึงวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น และเจ้าคณะอำเภอมัญจาคีรีก็จะลงพื้นที่มาตรวจสอบซ้ำอีกครั้งในวันที่ 2 กพ.ที่จะถึงนี้ หลังจากมีการตรวจสอบผ่านไปแล้ว 1 ครั้ง”
ขณะที่นายปรีชา ช่างภา อายุ 58 ปี กำนันตำบลกุดเค้า อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น กล่าวว่า การร้องเรียนเรื่องพระมหาปิยพงษ์ นั้น เกิดจากชาวบ้านได้เดินทางไปร้องเรียนต่อสำนักพระพุทธศาสนา จากนั้นก็มาร้องเรียนตนในฐานะผู้นำชุมชนให้ตรวจสอบบัญชีส่วนตัวตัวและบัญชีต่างๆ ของพระ เพราะชาวบ้านเชื่อว่านำเงินทำบุญของวัด เข้าบัญชีส่วนตัวและนำไปใช้ส่วนตัว ในฐานะผู้นำจึงได้เรียกประชุมชาวบ้าน ทำให้รู้ว่าวบ้าน แบ่งกันเป็น 2 ฝ่าย คือฝ่ายที่เข้าชมรมกับพระ และชาวบ้านทั่วไป แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ขอให้ตรวจสอบทางการเงินของพระ เพราะหลังจากทำกฐิน ถวายเงินให้วัด แต่ยังมาเบิกเงินของวัดออกไปใช้ เพื่อดำเนินการบูรณะอุโบสถ จำนวน 100,000 บาท ชาวบ้านจึงรู้ว่าจะมีการบูรณะอุโบสถ ซึ่งในความจริงพระต้องแจ้งกรรมการ แจ้งให้ชาวบ้านและผู้นำในพื้นที่ทราบเรื่องว่าจะดำเนินการบูรณะอุโบสถ เพราะมันต้องมีขั้นตอน และการบูรณะอุโบสถ มันต้องมีแบบแปลน มีช่าง มีค่าใช้จ่าย ทุกคนต้องรู้ แต่พระไม่แจ้ง ชาวบ้านจึงข้องใจ ให้มีการตรวจสอบเส้นทางการเงินของพระรูปดังกล่าว
“ในฐานะที่เป็นผู้นำ ต้องลดความขัดแย้งของชาวบ้านกับพระสงฆ์ จึงได้ทำหนังสือถึงพระ ให้ชี้แจงแต่ยังไม่มีการชี้แจงก็มีเรื่องร้องเรียนกันขึ้นมา จึงคิดว่า ชาวบ้านกับพระน่าจะคุยกันไม่ได้แล้ว ควรจะมีหน่วยงานราชการ มาช่วยพูดและไกล่เกลี่ยให้ทุกฝ่ายเข้าใจกัน ปัญหาจะได้จบและไม่มีความขัดแย้งกันอีก”
ขณะที่นาง รนิดา โสชาลี อายุ 46 ปี สายบุญและสมาชิกชมรม ช.ก.ว. กล่าวว่า การร้องเรียนพระนั้น ก็พอเข้าใจความคิดและความรู้สึกของชาวบ้าน เพราะเขาไม่ได้เข้ามาอยู่ในชมรมและไม่ได้เดินทางไปร่วมกิจกรรมต่างๆกับพระ จึงไม่เข้าใจ พระมีแต่สร้าง และไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับเงินวัด เพราะการทำบุญและการจัดกิจกรรมเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆนั้น พระๆไม่ได้ขอเงินจากชาวบ้าน ไม่ได้เรี่ยรายเงินจากชาวบ้าน เพราะทุกอย่างจัดเป็นโครงการขึ้นมา ตามกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา และพระก็ไม่ได้เรียกเก็บเงินจากคนร่วมกิจกรรมแม้แต่บาทเดียว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
วธ.จัดมหกรรม‘ปลาร้า หมอลำอีสาน’ ยกระดับวัฒนธรรมพื้นบ้านให้ดังก้องโลก
กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ร่วมกับจังหวัดขอนแก่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และภาคเอกชนระดับประเทศ อาทิ หอการค้าไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย บริษัท
นายกอิ๊งค์ควง 2 รมต.หญิงลง 'ขอนแก่น-มหาสารคาม' ติดตามแก้น้ำท่วม-น้ำแล้ง-ตัดริบบิ้นเปิดงาน
นายกฯ เร่งสปีดนโยบายรัฐบาล ลงขอนแก่น-มหาสารคาม 20 ธ.ค. แก้ไขน้ำท่วม-น้ำแล้ง พร้อมติดตามโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน พร้อมตัดริบบิ้นเปิดงานซอฟพาวเวอร์ของไทย
'ชูศักดิ์' สั่งสำนักพุทธฯ ศึกษากฎหมายรัฐธรรมนูญ มีมาตรการป้องกันทำลายพระพุทธศาสนา
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวถึงกรณีปัญหาพระออกมาเรี่ยรายเงินจะประสานพศ.แก้ปัญหาอย่างไรว่า
'ไพศาล' วอนหยุดทำลายท่าน ว.วชิรเมธี ได้แล้ว ชี้ใส่ร้ายพระสงฆ์เป็นบาปหนักถึงขั้นตายโหง
นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย และอดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า พอได้แล้วโยม การเบียดเบียนทำร้ายพระสงฆ์เป็นบาปหนัก
รองเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น ยันไม่มีพระสงฆ์ในปกครองร่วมลงทุนแชร์แครอท
พระราชพัฒนวัชรบัณฑิต,รศ.ดร.รองเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น เจ้าอาวาสวัดธาตุ พระอารามหลวง รองอธิการบดีฯวิทยาเขตขอนแก่น เปิดเผยว่า กรณีที่มีพระสงฆ์ 2 รูป ซึ่งเป็นพระสงฆ์ในบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ขับเคลื่อนแอป "เณรกล้า โภชนาดี" แก้ปัญหาทุพโภชนาการ...สามเณร
พระสงฆ์และสามเณร เป็นประชากรกลุ่มหนึ่งที่มีแนวโน้มมีปัญหาสุขภาพมากขึ้น โดยพบว่าปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคของพระสงฆ์ คือภาวะไขมันในเลือดสูง