ตรังยังอ่วม! น้ำป่าเทือกเขาบรรทัดไหลหลากรอบ 2 เข้าท่วมแล้ว 3 อำเภอ กว่า 300 หลังคาเรือนเดือดร้อน ต้องหอบลูกอ่อนหนีน้ำอาศัยบ้านญาติ ด้าน ตชด.ระดมกำลังนำยาแจกชาวบ้าน ส่วนผู้ว่าฯ ลงพื้นที่สั่งกำชับท้องถิ่น เร่งแก้ปัญหาระยะสั้น
19 พ.ย.2564 - ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วม 3 อำเภอได้แก่ อ.นาโยง , อ.กันตัง และ อ.เมืองตรัง ได้ขยายวงกว้างมากขึ้น หลังจากฝนตกหนักเมื่อคืนที่ผ่านมา ทำให้น้ำป่าจากเทือกเขาบรรทัดไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนริมเชิงเขาและที่ลุ่มต่ำในอำเภอนาโยงเป็นรอบที่ 2 และทำให้ถนนเพชรเกษมสายตรัง-พัทลุง เส้นทางไปยัง จ.พัทลุงบริเวณสี่แยกท่าปาบ ต.นาโยงใต้ อ.เมืองตรัง รถยนต์สามารถวิ่งได้ช่องทางเดียว เป็นระยะทางยาวเกือบ 1 กิโลเมตร
โดยที่ตำบลนาโยงเหนือ อ.นาโยง มีบ้านเรือนถูกน้ำท่วมรวม 4 หมู่บ้านจำนวน 203 หลังคาเรือน ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนกว่า 300 คน ระดับน้ำท่วมสูงตั้งแต่ 50 เซนติเมตร-2 เมตร โดยนายขจรศักดิ์ เจริญโสภา ผู้ว่าราชการ จ.ตรังพร้อมด้วยนายอำเภอนาโยง ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดและฝ่ายปกครอง เร่งลงพื้นที่เพื่อให้กำลังใจชาวบ้าน
ส่วนที่หมู่ที่ 2,3,4,5,6,7 และ 8 ตำบลนาโยงใต้ อ.เมือง จ.ตรังถูกน้ำท่วมทั้งตำบล ยกเว้นหมู่ที่ 1 เพียงหมู่บ้านเดียว โดยมีบ้านเรือนถูกน้ำท่วมรวม 140 หลังคาเรือน โดยที่หมู่ที่ 4 ต.นาโยงใต้ ชาวบ้านที่มีลูกอ่อนได้หอบลูกหนีไปอาศัยอยู่กับญาติชั่วคราว เพื่อความปลอดภัย โดยมี ตชด.ที่ 435 จ.ตรังนำยาและเวชภัณฑ์ต่าง ๆไปแจก เพื่อป้องกันโรคที่มากับน้ำและแก้แมลงสัตว์กัดต่อย ส่วนที่หมู่ 7 ต.นาโยงใต้ มีน้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตรจำนวนหลายสิบหลังคาเรือน คาดหากฝนหยุดตกและไม่มีน้ำทะเลหนุน สถานการณ์น้ำท่วมจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 1-2 วันนี้
ด้านนายขจรศักดิ์ เจริญโสภา ผู้ว่าราชการ จ.ตรังกล่าวว่า เมื่อวานนี้มีฝนตกหนักที่ อ.นาโยงและ อ.เมือง โดยเฉพาะที่ อ.นาโยงมีฝนตกเกือบ 100 มิลลิเมตรบวกกับน้ำจากภูเขา ทำให้พื้นที่ลุ่มต่ำเกิดน้ำท่วมรวม 3 อำเภอ 5 ตำบล 11 หมู่บ้านกว่า 300 หลังคาเรือนโดยที่ตนมาสำรวจอยู่นี้มีเป็นที่ที่มีน้ำท่วมประจำ ส่วนพื้นที่ที่มีน้ำท่วมซ้ำซากได้ให้อำเภอกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาแก้ไขปัญหาระยะสั้น ในการเร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ ส่วนระยะยาวอาจจะต้องทำคูระบายน้ำเพิ่ม.
ทางด้าน นางเยาวรัตน์ แสงแก้ว 116/1 ต.นาโยงเหนือ อ.นาโยง จ.ตรัง กล่าวว่า ปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นคือมันไม่มีทางน้ำให้ระบายออกไป มันจึงมาขังอยู่ พอถมพื้นที่ขึ้น 2 ปีก็ไม่ท่วม แต่หลังจากนั้นก็ท่วมน้ำก็กลับมาท่วมอีกไหลผ่านเข้ามาจากในครัวออกมาหน้าบ้าน น้ำท่วมบ่อยมากปีที่แล้วท่วม 4-5 ครั้ง ปีนี้เป็นครั้งแรก ถ้าน้ำท่วมมากสูงถึงขอบหน้าต่าง ครั้งนี้ถือว่ายังไม่หนักเท่าไหร่ พอน้ำมาจะเข้าท่วมในครัวและห้องน้ำก่อนเพราะด้านหลังบ้านเป็นคลอง ซึ่งตนเองคาดว่าครั้งต่อไปคงจะท่วมหนักกว่าเดิมถ้าฝนยังตกไม่หยุด แผนการอพยพข้าวของตอนน้ำท่วม ตู้เย็น เครื่องซักผ้า ยกเก็บขึ้นไว้บนโต๊ะหินอ่อนแบบถาวรเพราะหวั่นว่าหากน้ำมาตอนกลางคืนจะเก็บขนย้ายไม่ทัน หากทางราชการจะแก้ไขก็ขอให้ทำทางระบายน้ำให้ออกไป แต่ตนก็ไม่รู้ว่าจะทำได้แบบไหนเพาะน้ำมันท่วมมาหลายปีแล้วยังแก้ไขไม่ได้สักที
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ผอ.ศปช. สั่งเกาะติดฝนถล่มภาคใต้สัปดาห์นี้ เสี่ยงวาตภัยน้ำท่วมฉับพลันใน 10 จังหวัด
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า หลังวานนี้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ คือ อ.เมือง และ ศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง
โฆษกศปช. เผยกรณี 'น้ำผุด' อ.เชียงดาว มอบหน่วยงานลงพื้นที่ศึกษาแนวทางใช้ประโยชน์
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ตามที่ ศปช. ได้เคยประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้เฝ้าระวังฝนตกหนักในพื้นที่ระหว่างวันที่ 20-24 พ.ย.ไปแล้วก่อนหน้านี้
พยากรณ์ 10 วันล่วงหน้า ตั้งแต่ 18 พ.ย. อากาศเริ่มเย็นลงอีกครั้ง
กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 15 -24 พ.ย. 67
กรมอุตฯ ประกาศเตือนพายุ 'โทราจี' ฉบับสุดท้าย
นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุ “โทราจี” ฉบับที่ 10 โดยมีใจความว่า