ขับไล่ ผอ.โรงเรียน ปล่อยอาคารร้างปลวกแทะ จัดทอดผ้าป่าซื้อรถบัสส่อไม่โปร่งใส

10 ธ.ค.2565 - ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้า กรณีมีชาวบ้าน ผู้นำชุมชน ท้องถิ่น หมู่บ้าน ต.กุตาไก้ อ.ปลาปาก จ.นครพนม นำโดย นายจีรพล หมันที อายุ 59 ปี ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 4 บ้านกุตาไก้ ต.กุตาไก้ พร้อมด้วยตัวแทนผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ รวม 12 หมู่บ้าน กรรมการสถานศึกษา และตัวแทนนักเรียน ได้ออกมาประท้วงขับไล่ผู้อำนวยการโรงเรียนกุตาไก้วิทยาคม เรียกร้องให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม(สพม.นครพนม) มีการตั้งกรรมการสอบสวน และย้ายออกจากพื้นที่ พร้อมกับคู่หูซึ่งเป็นครูชำนาญการพิเศษ ปฏิบัติหน้าที่การเงิน สืบเนื่องจากมีการตรวจสอบพบเอกสารหลักฐาน เกี่ยวกับการค้างจ่ายเงิน ปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน ระหว่างปี 2561-2564 จากจำนวนนักเรียนที่จะต้องได้รับ ตามหลักเกณฑ์ รวมกว่า 800 ราย คิดเป็นเงินเกือบ 2.5 ล้านบาท โดยที่ผ่านมามีการบ่ายเบี่ยงไม่มีการชี้แจงข้อเท็จจริงแก่ผู้ปกครอง

เบื้องต้น ดร.พิศุทธิ์ กิติศรีวรพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม(ผอ.สพม.นครพนม) ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบ ตั้งคณะกรรมการสืบข้อเท็จจริง และสั่งผู้อำนวยการโรงเรียนไปปฏิบัติราชการชั่วคราวที่ สพม.นครพนม ในกิจกรรม”ประวัติศาสตร์อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ ค้ำคูณนครพนม แดนดินแห่งศรัทธาจากตำนานอุรังคธาตุสู่นาคราชบูชา” ระหว่างวันที่ 26-27 ธันวาคมที่จะถึงนี้ โดยในหนังสือดังกล่าวระบุว่าบุคคลทั้งสองมีความรู้ในเรื่องแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยปฏิบัติหน้าที่ราชการชั่วคราวที่กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สพม.นครพนม ระหว่างวันที่ 8-31 ธันวาคม 65 หรือจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง

ทางด้าน นายจีรพล หมันที อายุ 59 ปี ผู้ใหญ่บ้านกุตาไก้ หมู่ 4 ต.กุตาไก้ พร้อมตัวแทนผู้นำชุมชนทั้ง 12 หมู่บ้าน ออกมาเปิดเผยถึงปัญหาการบริหารงานภายในโรงเรียนอีกว่า ตลอดระยะเวลาที่ผู้อำนวยการโรงเรียนมาบริหารงานเกือบ 5 ปี ตรวจสอบจากสภาพทั่วไปของโรงเรียน นอกจากการบริหารงานไม่โปร่งใส เคยมีการทักท้วงจากกรรมการสถานศึกษาแต่มีการบ่ายเบี่ยงมาตลอด หากไม่มีการชุมชุมขับไล่ คงไม่มีหน่วยงานมาดูแลแก้ไข

นอกจากปัญหาการบริหารจัดการทุนการศึกษาเด็กยากจน ค้างมานาน 3 ปี ยังมีปัญหาการพัฒนา พบว่าอาคารหลังเก่าที่ก่อสร้าง มาในช่วงก่อตั้งสถานศึกษา เป็นอาคารปูนชั้นเดียวจำนวน 5 ห้องเรียน หลังสร้างอาคารหลังใหม่ ก็ใช้เป็นอาคารเรียนนาฏศิลป์ และทำกิจกรรมของนักเรียน ปัจจุบันถูกปล่อยทิ้งร้าง กลายเป็นที่เก็บของเหมือนโรงขยะ ปล่อยให้ปลวกแทะกิน ทั้งอุปกรณ์การเรียนการสอนได้รับความเสียหาย รวมถึงประตูหน้าต่างอาคารเรียนบางส่วนชำรุดพังเสียหาย ไม่มีการพิจารณาซ่อมแซม น่าเสียดายงบประมาณแผ่นดิน หากมีการซ่อมแซมเชื่อว่าจะสามารถใช้ประโยชน์ได้อีกหลายอย่าง สงสารโรงเรียนอื่นที่ขาดแคลนงบประมาณสร้างอาคาร แต่ที่มีอยู่แล้วกลับไม่ดูแล อีกทั้งสภาพทั่วไปของโรงเรียนไม่เคยปรับปรุงภูมิทัศน์ รั้วโรงเรียนยังเป็นรั้วลวดหนาม ปล่อยให้หญ้าขึ้นรกร้าง ตามพื้นที่โรงเรียนไม่มีนโยบายให้ ครู นักเรียน ร่วมกันพัฒนา ที่สำคัญตู้ยามหน้าโรงเรียน เป็นหน้าเป็นตาของโรงเรียน ยังปล่อยให้ร้างเป็นอาหารปลวกแทะกินเสียหาย น่าอับอายคนผ่านไปมา

นายจีรพล หมันที กล่าวอีกว่า อีกเรื่องที่ต้องการให้ สพม.นครพนม มีการตรวจสอบ ให้ผู้อำนวยการโรงเรียนชี้แจง คือ ปัญหาเกี่ยวกับการจัดซื้อรถบัสโดยสารโรงเรียน หลังจากคณะศิษย์เก่าร่วมกับทางชุมชนจัดทำผ้าป่าสามัคคี เพื่อนำเงินสมทบทุนซื้อได้เงินจำนวน 1.4 ล้านบาท สุดท้าย ผู้อำนวยการโรงเรียนไม่เคยชี้แจงบัญชีรายจ่าย และนำเงินไปซื้อรถบัสโดยสาร ตั้งแต่ปี 2562 โดยไม่มีการหารือและชี้แจงกับชุมชน ที่สำคัญรถบัสโดยสารคันดังกล่าวเสียตั้งแต่ซื้อมาวันแรก ต้องนำไปจอดซ่อมนานกว่า 1 ปี จึงนำใช้งานได้ แต่ปัจจุบันยังไม่มีการชี้แจงกับชุมชนว่า จัดซื้อมาในราคาเท่าไหร่ จึงต้องการให้ทาง สพม.นครพนม ช่วยตรวจสอบเพื่อความโปร่งใส แต่สิ่งหนึ่งที่กลุ่มผู้ปกครองและผู้นำหมู่บ้าน เชื่อว่าการจัดซื้อรถบัสคันนี้มีคนในพื้นที่เป็นผู้นำท้องถิ่นบางคนรู้เห็นเป็นใจด้วย เพราะเท่าที่สังเกตผู้นำท้องถิ่นคนนี้มีอาการลุกลี้ลุกลน มาร่วมสังเกตการณ์อย่างเสียไม่ได้ และไม่ยอมให้รายละเอียดใดๆ จากนั้นก็หลบหน้าหายไปจากโรงเรียน

ขณะเดียวกัน นางธัญญารัตน์ เหลาหนาด อายุ 42 ปี เปิดเผยว่า เกี่ยวกับกรณีปัญหาการจ่ายเงินปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจนของหลานชาย ที่เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปกติจะต้องได้รับเงินเทอมละ 1,500 บาท ผ่านมา 4 เทอม ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพิ่งได้รับแค่ 1,500 บาทเมื่อเดือนที่ผ่าน คงเหลืออีก 3 เทอม เป็นเงินจำนวน 4,500 บาท ที่ยังไม่ได้รับ ไม่รู้เป็นเพราะสาเหตุใด ยอมรับว่าจำนวนเงินดังกล่าวสามารถใช้ประโยชน์ได้มาก สำหรับครอบครัวหลานชายเพราะตนต้องดูแล หลังพ่อแม่แยกทางกันไปทำงานต่างจังหวัด จึงฝากให้ทางผู้บริหารพิจารณาหาทางแก้ไข เพราะถือเป็นสิทธิ์ของนักเรียนที่จะได้รับ และถือว่ามีค่ากับนักเรียนที่ฐานะยากจน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แก๊งยาเสพติดข้ามชาติ ยัดผงขาว-ไอซ์ มูลค่ากว่า 100 ล้าน ในองค์พระพุทธรูป

ที่หน้ากองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 237 กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 23 (ร้อย ตชด.237 กก.ตชด.23) พล.ต.ฉัฐชัย มีชั้นช่วง ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 210 (มทบ.210) และ  รองผู้บัญชาการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด

'นครพนม' ขานรับ 'ธวัชบุรีโมเดล' นำร่อง อ.ศรีสงคราม เส้นทางโจรลำเลียงยาบ้าเข้าตอนใน

พล.ท.บุญสิน พาดกลาง แม่ทัพภาคที่ 2 (มทภ.2) ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 2 (ผอ.กอ.รมน.2) ผู้บัญชาการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด สารตั้งต้น และเคมีภัณฑ์ชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 24 (ผบ.นบ.ยส.24)

ตม.นครพนม คุมเข้มสกัด 'แก๊งสแกมเมอร์ทิพย์' ปมเจ๊อ้อยโอนเงิน 39 ล้าน

กรณี ตำรวจกองปราบปราม กองบังคับการ 3 ร่วมกับชุดสืบสวนของกองกำกับการ 5 ตำรวจทางหลวง นำกำลังเข้าสกัดจับกุม ทนายตั้ม-นายษิทรา เบี้ยบังเกิด อายุ 43 ปี ในคดีหลอกลวงเงิน น.ส.จตุพร อุบลเลิศ หรือ เจ๊อ้อย ตามหมายจับศาลอาญา

พี่สาวร่ำไห้ตามหา 'ครูวี' เจอมรสุมชีวิตทับถม ชิงลาออกไปเป็นกรรมกรก่อสร้าง

กรณีมีข่าวลือหนาหูว่ามีครูชำนาญการพิเศษ ลาออกไปเป็นกรรมกรก่อสร้างในกรุงเทพฯ หลังประสบมรสุมชีวิตอย่างเดียวดาย และล้มป่วยสารพัดโรค ก่อนจะตัดสินใจลาออก เพื่อรับเงินบำเหน็จ นำไปใช้หนี้เงินกู้

แจงดราม่า! งานตักบาตรพระ 1 พันรูป ปล่อยนั่งตากแดด โยนออแกไนซ์รับผิด

จังหวัดนครพนม ได้รายงานข้อเท็จจริง กรณีงาน "มหาบุญแห่งศรัทธานครพนม" โดยตามที่ปรากฏข่าวบนสื่อสังคมออนไลน์ ประเด็น "ทัวร์ลงยับ นิมนต์พระ 1 พันรูป ปล่อยนั่งตากแดด" เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมานั้น

สิ้นท่า 'ท้าวตู้' ตัวตึงค้ายาฝั่งโขง ยอมแฉหมดเปลือกแลกอิสรภาพ

นครพนม-จู่โจมจับกลางลำน้ำ “ท้าวตู้ตัวตึงฝั่งโขง” พร้อมชาวประมงคนไทยรวม 2 ราย ทำทีหาปลาแฝงขนยาบ้า ลูกเล่นอ้างจะแฉชื่อเอเยนต์ เพื่อแลกกับอิสรภาพ