‘กรมทางหลวง’ ซาวด์เสียงชาวบุรีรัมย์ หวังแก้ไขปัญหาจราจร พบช่วงเทศกาลปริมาณจราจรหนาแน่น เดินหน้าขยาย4 เลนปรับปรุงถนนทางเลี่ยงเมืองนางรอง (ด้านใต้) เพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมขนส่ง คาดสรุปผลศึกษาภายในต้นปี66
9 ธ.ค.255-นางสาวเพชรรัตน์ ภูมาศ นายอำเภอนางรอง เป็นประธานเปิดการประชุมสรุปผลการคัดเลือกรูปแบบการพัฒนาโครงการ (สัมมนา ครั้งที่ 2) โครงการจ้างวิศวกรที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบทางหลวง 4 ช่องจราจรทางเลี่ยงเมืองนางรอง (ด้านใต้) เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าผลการศึกษา และสรุปผลการคัดเลือกรูปแบบทางเลือกที่เหมาะสม พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการศึกษาของโครงการ เพื่อนำไปพิจารณาประกอบการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรธุรกิจเอกชน และภาคประชาชนเข้าร่วมการประชุม
สำหรับ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นเมืองที่มีอัตราการขยายตัวด้านเศรษฐกิจสูง เนื่องจากมีการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ที่มีแนวโน้มมากขึ้นทุกปี ส่งผลให้ความต้องการเดินทางในโครงข่ายทางหลวงและถนนในเขตเมืองนางรองสูงมากยิ่งขึ้น จึงต้องเตรียมความพร้อมด้านโครงข่ายถนนเพื่อรองรับปัญหาการจราจรและขนส่งในอนาคต โดยมีแนวคิดในการก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองนางรอง เพื่อให้เกิดโครงข่ายถนนทางเลือกสำหรับผู้เดินทางระยะไกลที่ไม่จำเป็นต้องผ่านเขตเมืองนางรอง ใช้เป็นเส้นทางเลี่ยงเมือง และช่วยลดปริมาณรถบรรทุกจากภาคตะวันออกเข้าเขตเมืองรวมทั้งเชื่อมโยงกับถนนเส้นต่างๆ ในท้องถิ่น ก่อให้เกิดพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ สร้างรายได้และอาชีพแก่คนในพื้นที่
อย่างไรก็ตาม กรมทางหลวง จึงได้ดำเนินการว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท เอ 21 คอนซัลแตนท์ จำกัด สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง และบริษัท ลูเซ่ ครีเอชั่น จำกัด ดำเนินการศึกษาโครงการจ้างวิศวกรที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบทางหลวง 4 ช่องจราจร ทางเลี่ยงเมืองนางรอง (ด้านใต้) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายคมนาคมให้การเดินทางสะดวกรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และปลอดภัยแก่ประชาชนผู้สัญจร
สำหรับการจัดประชุมในครั้งนี้ ที่ปรึกษาโครงการฯ ได้นำเสนอแนวคิดเบื้องต้นในการพัฒนาแนวเส้นทางโครงการ โดยมีจุดเริ่มต้นโครงการบนทางหลวงหมายเลข 24 บริเวณ กม.117+500 และมีจุดสิ้นสุดโครงการที่ บนทางหลวงหมายเลข 218 โดยได้กำหนดแนวเส้นทางเลือกไว้ 5 แนวเส้นทางเลือก โดยจากการพิจารณาเปรียบเทียบแนวเส้นทางที่เหมาะสมใน 3 หลัก ประกอบด้วย ด้านวิศวกรรมและจราจร ด้านเศรษฐกิจและการลงทุน และด้านผล กระทบสิ่งแวดล้อม พบว่า แนวเส้นทางเลือกที่ 2 มีความเหมาะสมที่สุด
โดยแนวเส้นทางมุ่งไปทางทิศใต้ ประมาณ 2.7 กิโลเมตร ตัดผ่านพื้นที่เกษตรกรรมบริเวณบ้านหนองโบสถ์ จากนั้นมุ่งเบี่ยงไปทิศตะวันออก ตัดผ่านพื้นที่เกษตรกรรมซึ่งอยู่ทางด้านทิศใต้ของวัดสองพี่น้อง มีระยะห่างจากแนวเส้นทางประมาณ 280 เมตร ตัดผ่านทางหลวงหมายเลข 348 ประมาณ กม.136+400 บริเวณข้างทางเป็นพื้นที่โล่ง ตัดผ่านคลองกำเปรตและลำนางรอง จากนั้นตัดผ่านทางหลวงชนบท บร.3001 ประมาณ กม.22+270 ข้างทางมีอาคารที่อยู่อาศัยบางส่วน และตัดผ่านลำท้องเรือ จากนั้นมุ่งเบี่ยงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งแนวเส้นทางทับกับแนวเส้นทางเลือกที่ 1 จนถึงจุดสิ้นสุดโครงการเชื่อมกับทางหลวงหมายเลข 218 กม.48+000 รวมระยะทาง 17.95 กิโลเมตร
ส่วนรูปแบบการพัฒนาถนนทั่วไปของโครงการ ได้พิจารณาออกแบบ 2 ช่วง ประกอบด้วย ช่วงที่ 1 ช่วงถนนทั่วไป ออกแบบเป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจร ไหล่ทางด้านนอก กว้าง 2.5 เมตร ในเขตทาง 60 เมตร และมีเกาะกลางรูปแบบกำแพงกั้น (Barrier Median) กว้าง 3 เมตร ช่วงที่ 2 ช่วงพื้นที่ชุมชน ออกแบบเป็นจุดกลับรถใต้สะพาน โดยมีถนนเส้นทางหลักบนสะพาน 6 ช่องจราจร ทางขนาน 4 ช่องจราจร (เดินรถฝั่งละ 2 ทิศทาง) ในเขตทาง 70 เมตร
สำหรับการคัดเลือกรูปแบบจุดตัดทางแยก จำนวน 3 แห่ง มีรายละเอียดดังนี้ 1.จุดตัดทางหลวงหมายเลข 24 จุดเริ่มต้นโครงการ พบว่า รูปแบบทางเลือกที่ 2 สะพานยกระดับและจุดกลับรถ (Overpass and U-Turn) มีความเหมาะสมที่สุด โดยเป็นสะพานยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 24 เดิม เพื่อรองรับรถที่ต้องการเดินทางไปอำเภอหนองกี่ (1 ทิศทาง) โดยยกข้ามถนนนทิศทางเลี้ยวขวา ทำให้เข้าสู่ถนนโครงการได้อย่างอิสระ โดยไม่ตัดกระแสจราจร และทิศการเดินออกจากถนนโครงการ ที่ต้องการเลี้ยวขวาไปอำเภอนางรอง ให้ไปใช้จุดกลับรถ
2.จุดตัดทางหลวงหมายเลข 348 พบว่า รูปแบบทางเลือกที่ 2 สะพานลอยข้ามทางแยกระดับพื้นและวงเวียน (Overpass and Roundabout) มีความเหมาะสมที่สุด โดยเป็นรูปแบบสะพานยกระดับและวงเวียนระดับพื้น โดยเป็นสะพานยกระดับบนถนนโครงการ เพื่อรองรับรถที่ต้องการเดินทางไปอำเภอหนองกี่ และไปอำเภอเมืองบุรีรัมย์ และทางแยกระดับพื้นเป็นลักษณะวงเวียน เพื่อรองรับรถทางตรงและเลี้ยวขวาทุกทิศทาง
3.จุดตัดทางหลวงหมายเลข 24 ด้านทิศตะวันออก พบว่า รูปแบบทางเลือกที่ 1 สะพานยกระดับแบบต่อเชื่อมโดยตรงข้ามทางแยกระดับพื้นลักษณะวงเวียน (Directional and Roundabout) มีความเหมาะสมที่สุด โดยเป็นสะพานยกระดับบนถนนโครงการข้ามทางหลวงหมายเลข 24 เพื่อรองรับรถที่ต้องการไปอำเภอเมืองบุรีรัมย์และอำเภอประคำ (2 ทิศทาง) และสะพานยกระดับแบบต่อเชื่อมโดยตรง (Directional Ramp) เชื่อมต่อจากสะพานขาไปอำเภอเมืองบุรีรัมย์เพื่อรองรับรถที่ต้องการเลี้ยวขวาไปอำเภอประโคนชัยและทางแยกระดับพื้นมีลักษณะเป็นวงเวียน เพื่อรองรับรถเลี้ยวขวาทุกทิศทาง และ 4.จุดตัดทางหลวงหมายเลข 218 จุดสิ้นสุดโครงการ พบว่า ทางแยกระดับพื้นยังสามารถรองรับปริมาณจราจรได้ในอนาคต จึงออกแบบเป็น รูปแบบทางแยกระดับพื้นควบคุมด้วยสัญญาณไฟจราจร
สำหรับการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในช่วงที่ผ่านมา ที่ปรึกษาได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูล สำรวจและเก็บตัวอย่างด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อนำมาประกอบการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น หรือ IEE เพื่อ
คัดกรองปัจจัยที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญครอบคลุม 4 ด้าน ได้แก่ ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ทรัพยากรสิ่งแวดลอมทางชีวภาพ คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ และคุณค่าต่อคุณภาพชีวิต สำหรับนำไปศึกษาในชั้น EIA พบว่ามี 24 ปัจจัย โดยลำดับถัดไป ที่ปรึกษาโครงการฯ จะนำทั้ง 24 ปัจจัยนี้ มาประเมินผลกระทบรายละเอียดพร้อมทั้งกำหนดมาตรการป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม และแผนการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในปัจจัยที่มีผลกระทบต่อไป
อย่างไรก็ตามภายหลังการประชุมครั้งนี้ กรมทางหลวง และบริษัทที่ปรึกษาจะรวบรวมความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วนนำมาพิจารณาประกอบการศึกษาของโครงการ พร้อมทั้งจะดำเนินการจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อประชาสัมพันธ์รายละเอียดข้อมูลโครงการไปสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่โครงการได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้อง
ทั้งนี้โดยมีกำหนดจัดการประชุมกลุ่มย่อย ครั้งที่ 2 ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม 2566 การประชุมสรุปผลการศึกษาโครงการ (สัมมนา ครั้งที่ 3) ในช่วงประมาณเดือน มีนาคมหรือเมษายน 2566 เพื่อนำเสนอสรุปผลการศึกษาในทุกด้านให้ประชาชนได้รับทราบรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินงานต่อไป โดยผู้สนใจสามารถติดตามความคืบหน้าและรายละเอียดของโครงการฯ ได้ 2 ช่องทาง ได้แก่ 1.เว็บไซต์ www.nangrongbypass-south.com 2.Line : @nangrongbypass-south
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รัฐบาลโอ่ผลงานยกระดับเส้นทางสู่ภาคตะวันออกเชื่อมโยงอีอีซี
รัฐบาลยกระดับเส้นทางสู่ภาคตะวันออก เพิ่มประสิทธิภาพการจราจร เชื่อมโยงอีอีซี ล่าสุดกรมทางหลวงขยาย 4 ช่องจราจร ทล.3481 ตอน บ้านหัวไผ่ - การเคหะฯ จังหวัดปราจีนบุรี แล้วเสร็จ
ป้า 67 ป่วยหลายโรค หาบเร่ขายของเลี้ยงชีพ หวังได้เงินหมื่น เฟส 2 หวั่นตกหล่น บัตรคนจนก็ไม่มี
บุรีรัมย์ ป้า 67 ป่วยความดัน มีก้อนเนื้อที่คอ แต่ต้องหาบเร่ขายของเลี้ยงชีพและลูกพิการ หวังได้เงินหมื่น เฟสสอง มาแบ่งเบา
ไก่ตายปริศนา คืนเดียว 12 ตัว พบพฤติกรรมคล้ายพังพอน ป้ายังเชื่อฝีมือผีกระสือ
ปศุสัตว์ จ.บุรีรัมย์ พร้อมปศุสัตว์อำเภอละหานทราย กำนัน และ ผญบ. ลงพื้นที่ตรวจสอบไก่ตายปริศนาคืนวันพระคืนเดียว 12 ตัว
ชาวนารับจ้างอัดก้อนฟางข้าว โกยรายได้งามช่วงหาซื้อยาก ราคาแพง
ชาวนาที่ จ.บุรีรัมย์ นำรถไถนาขนาดใหญ่ มาดัดแปลงติดตั้งเครื่องอัดฟาง ออกบริการรับจ้างอัดก้อนฟางข้าว จากชาวนาเพื่อนบ้าน
ชาวนาต้นทุนกระฉูด! ปุ๋ยคนละครึ่งไม่ตอบโจทย์
บุรีรัมย์ ชาวนา เรียกร้องให้รัฐบาล ช่วยค่าเก็บเกี่ยวไร่ละพัน แบ่งเบาภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้น แต่ยังขายได้ราคาต่ำ