3 ธ.ค.2565 - ที่ศูนย์อบรมอาชีพชนบทจังหวัดหนองคาย อ.เมือง จ.หนองคาย ได้มีการจัดงานเวทีประชุมเครือข่ายประชาชนปกป้องแม่น้ำโขงอีสานเป็นวันที่สอง ซึ่งทางเครือข่ายภาคประชาชนได้มีการเชิญตัวแทนจากภาครัฐคือสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กรมชลประทาน สำนักผู้ตรวจการแผ่นดิน รองเลขาธิการผู้ตรวจการแผ่นดิน ตัวแทนพรรคการเมือง อาทิ พรรคเสรีรวมไทย พรรคไทยสร้างไทย เจ้าหน้าที่Pact Thailand และผู้แทนสถานทูตสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย เข้าร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
นายนิวัฒน์ ร้อยแก้ว ประธานกลุ่มรักษ์เชียงของ ได้นำเสนอปัญหาของแม่น้ำโขงภาคเหนือตอนบนที่ประสบกับผลกระทบทางความมั่นคงของอาหารโดยระบุว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันล้วนมาจากการสร้างเขื่อน ถึง 12 เขื่อนตอนบนประเทศจีน อีกทั้งยังมีอีก 11 เขื่อนที่รอสร้างในอนาคตซึ่งอยู่ในส่วนของแม่น้ำโขงตอนล่างในภาคอีสานยาวจนถึงกัมพูชา ปัญหาจากการสร้างโครงการเขื่อนใหญ่ ๆ นี้มันก่อให้เกิดปลาหายไป ระบบนิเวศน์พัง ยิ่งมีข่าวจะสร้างเขื่อนปากแบงจะทำให้เกิดน้ำท่วมและเกาะแก่งจมหายกระทบต่อพรมแดนร่องน้ำลึกระหว่างประเทศ และตนเองได้มีข้อเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีการแก้ระเบียบกฎหมายสิ่งแวดล้อมปี 2535 เพราะมีความล้าสมัย อีกทั้งกระบวนการ PNPCA ที่ยังเป็นปัญหาจากการไม่พยายามหยุดยั้งโครงการเขื่อน หรือแม้กระทั่งต้องแก้ไขและทบทวนวิธีการทำของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง
นายศิริศักดิ์ สะดวก กลุ่มลุ่มน้ำชี-มูนกล่าวว่าปัญหาเก่ายังไม่แก้ ปัญหาใหม่จะมาแล้วเพราะวิธีคิดของรัฐนั้นต่างจากคนในพื้นที่ โดยชาวบ้านมองน้ำเป็นวิถีชีวิตที่มีคุณค่าต้องรักษา แต่รัฐมองน้ำเป็นทรัพยากรที่พยายามควบคุมและจัดการทั้งภาคกฎหมาย ระบบนิเวศน์ในแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกันต้องดูแลแตกต่างกัน เพราะเขื่อนทำให้น้ำท่วมตอนนี้ไม่ได้มุ่งสู่การพัฒนา แต่นำมาซึ่งปัญหา
"การที่ภาคประชาชนเรียกร้องสิทธิ์เนื่องจากการที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจจัดการบริหารทรัพยากรน้ำร่วมกับภาครัฐ จึงมีข้อเสนออยากให้รัฐศึกษาความเหมาะสมปัญหาในแต่ละท้องที่ เคารพสิทธิ์ในการจัดการน้ำของชุมชน และหยุดโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่เพื่อแก้ไขปัญหาเดิมให้เรียบร้อยเสียก่อน”นายศิริศักดิ์ กล่าว
นายวทัญญู ทิพยมณฑา รองผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวว่า รู้สึกกังวลต่อปัญหาเรื่องการสร้างเขื่อนสานะคาม ยืนยันว่าเรื่องของชาวบ้านและเครือข่ายที่ร้องเรียนเข้ามาจะได้รับการรวบรวมข้อมูลและจะนำเสนอต่อ คณะรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรี ในวันข้างหน้า
นางสาววชิราภรณ์ กำเนิดเพชร จากสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กล่าวถึงการพยายามยื้อโครงการเขื่อนสานะคามโดยไม่รับข้อมูลเก่าของทางลาว ว่าเพราะมองเห็นถึงปัญหาผลกระทบทางพรมแดนและได้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็น พี่น้องประชาชน 8 จังหวัดที่ติดแม่น้ำโขง ปัญหาเรื่องการใช้ทรัพยากรนั้นตนเองเข้าใจดี แต่การมีเขื่อนพลังงานไฟฟ้านั้นมาจากการร่วมมือของประชาชนในประเทศ หากอยากให้มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นของสถานการณ์ในอนาคตข้างหน้าเรื่องการสร้างเขื่อน พี่น้องประชาชนจะต้องจัดการประหยัดและใช้ทรัพยากรให้เพียงพอต่อความต้องการโดยทั่วกันทั้งหมด โดยจะต้องทำให้ประชาชนทั่วไปรับรู้และเข้าใจถึงการใช้พลังงานให้เหมาะสมและพอดีจะได้ไม่เกิดความต้องพลังงานเพิ่มมากขึ้น
นายไพโรจน์ เตชะเจริญสุจีระ จากกรมชลประทาน ได้กล่าวว่าโครงการผันน้ำโขงเลยชีมูนนั้นไม่ได้ผันเข้ามาเพียงแค่เขื่อนอุบลรัตน์เพียงอย่างเดียว แต่ผันเข้ามาเพื่อกระจายให้แก่เขื่อนและแหล่งน้ำอื่น ๆ อีกด้วย กรมชลประทานดำเนินการตามแผนโครงการ 20 ปี พัฒนา 8.13 ล้านไร่มีการจัดเวทีรับฟังความเห็นอย่างจากทั้งโครงการขนาดกลางและใหญ่
หลังการประชุมเครือข่ายประชาชนปกป้องแม่น้ำโขงได้ไปรวมตัวกันใต้สะพานมิตรภาพไทย-ลาว เพื่ออ่านแถลงการณ์ และส่งตัวแทนประมาณ 10 คน ขึ้นไปบนสะพานมิตรภาพไทย-ลาว และปล่อยแผ่นผ้าที่มีข้อความว่า “เครือข่ายประชาชนปกป้องแม่น้ำโขง ไม่เอาโครงการผันน้ำโขง เลย ชี มูน” เพื่อแสดงเจตนารมณ์คัดค้านโครงการผันน้ำโขง เลย ชี มูน โดยตัวแทนอ่านแถลงการณ์
แถลงการณ์ระบุว่า โครงการผันน้ำ โขง เลย ชี มูน เป็นโครงการบริหารจัดการน้ำขนาดใหญ่ของรัฐบาลไทยเมื่อ 30 ปีก่อน ที่พยายามนำเสนอภาพฝันของการขจัดปัญหาความแห้งแล้งในภาคอีสานแบบถาวร โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาความ แห้งแล้งในพื้นที่สำคัญอย่างลุ่มน้ำชี-ลุ่มน้ำมูน แต่เวลาที่ล่วงเลยมาถึงปัจจุบันโครงการทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบนักวิชาการและประชาชนทั่วไป วิพากษ์วิจารณ์กันอย่าง กว้างขวาง ถึงปัญหาการบริหารจัดการน้ำที่ล้มเหลวของรัฐและความไม่คุ้มค่ากับการลงทุนในหลากหลาย มิติ
แถลงการณ์ระบุว่า จากวันนั้นจวบจนวันนี้โครงการ โขง ชี มูน เดินทางมานานกว่า 30 ปี และหลายลุ่มน้ำ ในภาคอีสาน ภาพฝันกับความจริงกลับไม่เป็นไปตามที่ผู้มีอำนาจกล่าวอ้างไว้ เพราะการรวมศูนย์อำนาจ การจัดการน้ำ และอำนาจการตัดสินใจทางนโยบายถูกกำหนดอยู่ภายใต้ผู้มีอำนาจที่ไม่ได้เข้าใจภูมินิเวศ ประชาชนไม่มีส่วนร่วม
แถลงการณ์ระบุข้อเสนอเร่งด่วนคือ 1) ยกเลิก นโยบาย โครงการพัฒนา “เก่า” และ “ใหม่” 2) ทบทวนบทเรียนโครงการพัฒนา “เก่า" ก่อนดาเนินโครงการพัฒนา “ใหม่” 3) การเยียวยาและฟื้นฟูเชิง นิเวศ สังคม และเศรษฐกิจ 4) การประเมินศักยภาพเชิงพื้นที่เพื่อเปิดพื้นที่การถกเถียงร่วมกัน
แถลงการยังระบุถึงข้อเสนอเชิงนโยบายว่า 1) พัฒนากฎหมายการมีส่วนร่วม 2) ทบทวนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ำ และนโยบายการพัฒนาพลังงาน 3) การแก้ไขกฎหมายสิ่งแวดล้อมและกฎหมายน้ำให้ครอบคลุมประเด็นปัญหาข้ามพรมแดน 4) การกระจายอำนาจการจัดการทรัพยากรให้ท้องถิ่น/ชุมชน 5) การส่งเสริมการพัฒนานโยบายการจัดการน้ำขนาดเล็กโดยท้องชุมชน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อีสานสกูตเตอร์ เลาะตามสายแม่น้ำ 8 จังหวัด ปลดพันธนาการเขื่อนแม่น้ำโขง
กลุ่มแม่โขงอีสานสกูตเตอร์รณรงค์ผลกระทบจากการพัฒนาในแม่น้ำโขง จากเขื่อนสานะคาม จ.เลย ถึง เขื่อนภูงอย จ.อุบลฯ ผ่าน 8 จังหวัดติดแม่น้ำโขงระยะทางกว่า 1,000 กิโลเมตร
แจงดราม่า! งานตักบาตรพระ 1 พันรูป ปล่อยนั่งตากแดด โยนออแกไนซ์รับผิด
จังหวัดนครพนม ได้รายงานข้อเท็จจริง กรณีงาน "มหาบุญแห่งศรัทธานครพนม" โดยตามที่ปรากฏข่าวบนสื่อสังคมออนไลน์ ประเด็น "ทัวร์ลงยับ นิมนต์พระ 1 พันรูป ปล่อยนั่งตากแดด" เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมานั้น
สิ้นท่า 'ท้าวตู้' ตัวตึงค้ายาฝั่งโขง ยอมแฉหมดเปลือกแลกอิสรภาพ
นครพนม-จู่โจมจับกลางลำน้ำ “ท้าวตู้ตัวตึงฝั่งโขง” พร้อมชาวประมงคนไทยรวม 2 ราย ทำทีหาปลาแฝงขนยาบ้า ลูกเล่นอ้างจะแฉชื่อเอเยนต์ เพื่อแลกกับอิสรภาพ
ทัวร์ลงยับ! นิมนต์พระ 1 พันรูป ตักบาตรริมโขง ปล่อยพระนั่งตากแดดจนเหงื่อชุ่ม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีผู้ใช้ชื่อ “Kittichai Kaenjan” โพสต์ในเฟซบุ๊กส่วนตัว มีข้อความว่า “มนต์พระมานั่งตากแดด จนหลวงพ่อเปียกเมิด บาดเจ้าของนั่งในฮ่ม (พระกะคนใด๋ ฮ้อนเป็นคือกัน) บางอำเภอมาตั้งแต่ตี 3 นั่งถ้าจนหกโมง
นายกฯอิ๊งค์ทัวร์ 'อุดรธานี-หนองคาย' 17 ต.ค.
นายกฯ บินหนองคาย 17 ต.ค. ตรวจฟื้นฟูเยียวยาหลังน้ำท่วมอีสาน พร้อมเปิดงานบั้งไฟพญานาค ชู 'ซอฟต์พาวเวอร์'