นักกฎหมายแนะกรมการปกครองเสนอกฎหมายแปลงสัญชาติ แยกให้ชัด ฝรั่ง-ชาวเขาดั้งเดิม พ่อเฒ่าแม่เฒ่าอาข่าปลื้มได้บัตรประชาชน มอบไข่แดงมงคลให้ผู้ที่ช่วยเหลือ
30 พฤศจิกายน 2565 - ที่ศูนย์การเรียนรู้บนดอย อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พชภ.) โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดเวทีเสวนาเรื่องถอดบทเรียนการปรับกระบวนการแปลงสัญชาติทั้งระบบเพื่อสังคมไทยที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วยนายพิธาสรวง จันทร์ฉายฉัตร ผู้แทนอธิบดีกรมการปกครอง นายวราดิศร อ่อนนนุช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ผู้แทนนายอำเภอแม่ฟ้าหลวง นางศศินันท์ สุชนวงศ์ ผู้ช่วยจ่าจังหวัดเชียงราย นายชุติ งามอุรุเลิศ นักวิชการ นางเตือน ใจดีเทศน์ อดีตสมาชิกวุฒิสภาเชียงราย ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นส.รุ่งทิวา ปัญญาอุด เจ้าหน้าที่มูลนิธิ พชภ. และดำเนินรายการโดย น.ส.เพียรพร ดีเทศน์ เลขาธิการมูลนิธิ พชภ.
ก่อนการเสวนาบรรดาพ่อเฒ่าและแม่เฒ่าชาวอาข่า บ้านป่าคาสุขใจ และผู้เฒ่าจากอำเภอเชียงของซึ่งเป็นผู้เฒ่ากลุ่มแรกที่ได้รับการแปลงสัญชาติจากชนกลุ่มน้อยเป็นไทย ได้นำไข่ต้มสีแดงและข้าวซึ่งเป็นอาหารสิริมงคลชาวอาข่า มอบเพื่อขอบคุณบุคคลที่เกี่ยวข้องที่ช่วยดำเนินการแปลงสัญชาติจนได้รับบัตรประชาชนไทย
ทั้งนี้คนเฒ่าไร้สัญชาติได้พูดแสดงความรู้สึกถึงการได้รับบัตรประชาชนว่า ขอบคุณทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่ทำให้ได้บัตรประชาชน รู้สึกภาคภูมิใจที่ได้บัตรประชาชนและรู้สึกรักผืนแผ่นดินไทย ตอนนี้สามารถเดินทางไปไปเยียมญาติพี่น้องนอกพื้นที่ได้โดยไม่ต้องกลัวตำรวจ
นายวราดิศร อ่อนนนุช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาสถานบุคคลเป็นนโยบายของกรมการปกครองโดยจังหวัดเชียงรายเป็นพื้นที่ชายแดนมีกลุ่มชาติพันธุ์กว่า 20 กลุ่มทำให้ยุ่งยาก ยิ่งในช่วงเศรษฐกิจไม่ดีทำให้มีประชาชนจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาเป็นระยะๆ และประชากรกลุ่มเป้าหมายอาศัยอยู่ไม่เป็นหลักแหล่งทำให้ยากในการสำรวจและทำทะเบียนประวัติ รวมถึงการสอบสวนข้อมูล อย่างไรก็ตามจังหวัดเชียงรายได้เร่งดำเนินการโดยเฉพาะผู้ที่ได้รับความเดือนร้อนเร่งด่วนให้ได้รับสิทธิเพื่อประกอบอาชีพสุจริตและทำนิติกรรมต่างๆ โดยคนที่อายุ 60 ปีขึ้นไปส่วนใหญ่แปลงสัญชาติตามมาตรา 10 ซึ่งดำเนินการไปได้ 78% และทยอยส่งให้ส่วนกลางในการยืนยันการตรวจสอบ
“การแปลงสัญชาติให้ผู้สูงอายุ ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจาก พชภ. ต้องยอมรับว่าในระบบราชการงานด้านสัญชาติเป็นเรื่องยาก เพราะหากผิดพลาดมีบทลงโทษสูง เมื่อพชภ.มีเจ้าหน้าที่มาช่วยรวบรวมเอกสารก็เป็นการช่วยให้เร็วขึ้น” นายวราดิศร กล่าว
นางเตือนใจ ดีเทศน์ อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า ผู้เฒ่าเป็นกลุ่มที่เปราะบางที่สุด ในอดีตคนเหล่านี้ไม่เคยคิดว่าการเป็นพลเมืองสัญชาติไทยเป็นเรื่องสำคัญเพราะอยู่แต่ในหมู่บ้าน แต่เมื่อมีกฎหมายให้ผู้สูงอายุได้รับเบี้ย ทำให้คิดว่าคนกลุ่มนี้ควรได้รับสิทธิ อีกทั้งเป็นผู้ร่วมฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธารและทำคุณประโยชน์เพื่อบ้านเมือง จึงได้จัดงานวันผู้เฒ่าไร้สัญชาติขึ้นมา และมีการขับเคลื่อนนำไปสู่การแก้ปัญหาระดับนโยบาย ทั้งเรื่องการบันทึกการเกิดผิด และเรื่องการแปลงสัญชาติซึ่งเดิมยากมากเพราะเกณฑ์ของกระทรวงมหาดไทยเป็นไปอย่างเข้มงวด พชภ.จึงต้องทำงานร่วมกับนักกฎหมายและสื่อมวลชน ทำให้รัฐมนตรีมหาดไทยเห็นชอบแก้ไขเกณฑ์การพิจารณา จนกระทั่งผู้เฒ่าได้สัญชาติ จึงอยากถอดบทเรียนเพราะกระบวนการ 16 ขั้นตอน ทำอย่างไรถึงลดขั้นตอนลงได้อีกหรือไม่ ระยะเวลาสั้นอีกได้หรือไม่ และทางกระทรวงมหาดไทยควรมีการปรับกลไกในระดับจังหวัดเพื่อเอื้อต่องาน
ดร.พันธุ์ทิพย์ กล่าวว่า กล่าวว่า ควรออกกฎระเบียบให้ชัด ควรช่วยเหลือคนที่อยู่ในทะเบียนราษฎร จึงเสนอให้กรมการปกครองตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณา และยกร่างกฎหมายสำหรับคนแปลงสัญชาติ ให้ครอบครัวที่ลูกหลานมีสัญชาติไทยแล้ว สาเหตุที่ต้องการให้เสนอเป็น พรบ.ฉบับใหม่เพราะจะได้ก้าวข้ามอุปสรรคเดิมโดยเฉพาะทัศนคติของระบบเดิม
นายพิธาสรวง จันทร์ฉายฉัตร ผู้แทนอธิบดีกรมการปกครอง กล่าวว่า ทุกวันนี้มีหน่วยงานจับจ้องคนทำงานเรื่องสัญชาติ ดังนั้นจึงควรดูบริบทกันใหม่ เพราะถนนทุกสายต่างมุ่งเรื่องสัญชาติและอยู่ที่ พรบ.สัญชาติอย่างเดียว ทั้งๆ ที่ฝรั่งและชาวเขาเป็นคนละกลุ่มกัน ซึ่งทุกวันนี้มีคนอยากเป็นคนไทยเยอะมากโดยเฉพาะฝรั่ง ซึ่งแตกต่างจากคนที่อยู่ในไทยมานานจึงควรแยกแยะให้ชัดเจน และกลุ่มที่อยู่ในไทยในการพิจารณาก็ไม่ควรมีขั้นตอนมากมาย เสื้อตัวเดียวไม่สามารถตัดให้ใส่ได้ทุกคน ดังนั้นควรมีเฉพาะแต่ละกลุ่ม
นางศศินันท์ สุชนวงศ์ ผู้ช่วยจ่าจังหวัดเชียงราย กล่าวว่าอำเภอแม่ฟ้าหลวงมียอดส่งเรื่องขอแปลงสัญชาติคนเฒ่าไร้สัญชาติแล้ว 389 ราย โดยไม่ได้ดำเนินการชักช้าเลย โดยเฉพาะเมื่อมีหนังสือสั่งการผ่อนปรนเงื่อนไข ทำให้ดำเนินการได้ทันที แม้สื่อสารกันด้วยภาษาพูดไม่เข้าใจแต่ใช้ภาษาใจ จึงขอแสดงยินดีด้วยกับผู้เฒ่าที่ได้รับการแปลงสัญชาติ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ณฐพร' ซัด 'มหาดไทย' ยุค 'ศรีธนญชัย' ฟันธง 'ที่ดินเขากระโดง' จะถูกโทษเช่นเดียวกับคดีจำนำข้าว
ดร.ณฐพร โตประยูร อดีตที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เผยแพร่ข้อความกรณี กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย ไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ดินเขากระโดง ว่า
'อนุทิน' ยันไม่คิดเอาคืนใคร ปมที่ดินเขากระโดงอย่าโยงการเมือง ไม่อย่างนั้นก็หมดสภาฯ
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงข้อพิพาทพื้นที่เขากระโดงระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และกรมที่ดิน ซึ่งกระทรวงคมนาคมยืนยันสิทธิ์ตามกฎหมาย
“ผู้ประกอบการ ราชบุรี” ชม “อนุทิน” ฟื้นกีฬาวัวลาน ให้แข่งตอนกลางคืน มั่นใจ เป็นงานเฟสติวัลระดับโลก
จากกรณีที่กระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวง ให้การแข่งขันวัวลานจัดขึ้นในเวลากลางคืน ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2567 โดยล่าสุด นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้เดินทางไปเปิดการแข่งขันวัวลานที่
กมธ.ที่ดินฯ วืดสอบเขากระโดง องค์ประชุมไม่ครบ
กรรมาธิการ(กมธ.)ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำโดยนายพูนศักดิ์ จันทร์จำปี สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะประธานกมธ. , นายฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล สส.ภูเก็ต พรรคประชาชน ในฐานะโฆษกกมธ
มท.2 คิ๊กออฟปล่อยคาราวานโครงการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินในพื้นที่ 69 จังหวัด
วันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 ณ บริเวณอาคารรังวัดและทำแผนที่ กรมที่ดิน อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) พร้อมด้วย นายสมเกียรติ กิจเจริญ คณะทำงานฯ
'อนุทิน' ลุย 'เกาะกูด' ยันของไทย ไม่มีวันยอมเสียดินแดนให้ใคร
'อนุทิน' ลงพื้นที่เกาะกูด ลั่นรัฐบาลนี้ไม่มีวันยอมเสียดินแดนแม้แต่ตารางนิ้วเดียว พร้อมขอบคุณก๋งวัย 92 ปี ยืนยันเป็นของไทย 100%