วิจารณ์ขรม! วัดดังเชียงใหม่ จุดพลุบนโบราณสถาน กรมศิลป์เงื้อง่าราคาแพง (มีคลิป)

28 พ.ย.- เพจเฟซบุ๊ก สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ กรมศิลปากร ชี้แจงคืบหน้ากรณีที่มีการเสนอคลิปวิดีโอการจัดงานประเพณียี่เป็ง(ลอยกระทง) ที่ผ่านมา โดยคณะกรรมการวัดเจดีย์เหลี่ยม เวียงกุมกาม อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีกิจกรรมการจุดดอกไม้ไฟและพลุบนองค์พระธาตุฯ และมีประชาชนจำนวนมากเข้ามาแสดงความคิดเห็นต่อคลิปนี้และมีความห่วงใยในโบราณสถานองค์พระธาตุฯ เกรงจะได้รับความเสียหายจากเหตุดังกล่าวได้
 
สำนักฯได้เข้าไปสำรวจตรวจสอบสภาพองค์พระธาตุฯแล้ว พบว่า มีการนำดอกไม้ไฟประเภทแสง(ธารน้ำตก) และพลุนำแสงขนาดเล็ก แขวนและบังคับทิศทางด้วยลวด พันเกาะกับองค์พระธาตุฯ แล้วใช้สายชนวนเป็นตัวบังคับการจุด ส่วนพลุขนาดใหญ่ที่มีเสียงดังสนั่นนั้น เป็นการตั้งกระบอกพลุบริเวณฐานพื้นด้านนอกกำแพงแก้ว ไม่ได้ติดตั้งหรือจุดชนวนบนองค์พระธาตุฯ
 
จากการตรวจสอบองค์พระธาตุฯ ไม่พบความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการจุดดอกไม้ไฟหรือพลุในครั้งนี้ พบเพียงคราบเขม่าที่ผิวปูนฉาบบนคราบเชื้อราดำบางส่วนเท่านั้น  
 
ทั้งนี้ได้ถวายความรู้ คำแนะนำเบื้องต้นในความเหมาะสม การควรหรือไม่ควรกระทำสิ่งใดต่อโบราณสถานที่อยู่ในการครอบครองของวัด ตลอดจนวิธีบำรุงรักษา ดูแลรักษาโบราณสถานเบื้องต้น ให้กับท่านเจ้าอาวาสวัดได้ทราบแล้ว
 
หลังจากนี้ทางสำนักฯ จะมีหนังสือกราบนมัสการเจ้าอาวาสวัดต่างๆ ที่มีโบราณสถานตั้งอยู่ในวัด ถึงเรื่องแนวทางในการดำเนินงานต่างๆที่เหมาะสมและไม่เหมาะสมกับโบราณสถาน และในอนาคตสำนักฯ จะจัดอบรมถวายความรู้แด่พระสังฆาธิการและฆราวาสผู้สนับสนุนวัด ในโอกาสต่อไป
 
ทั้งนี้ มีผู้เข้ามาสอบถามว่า "แสดงว่าต่อไปนี้ วัดไหนมีโบราณสถานก็สามารถทำได้ เพียงแค่แจ้งกรมศิลปเท่านั่น ใช่ไหมครับ ?"
 
เพจดังกล่าวตอบว่า ไม่ใช่ครับ งานนี้เป็นการจัดงานที่ไม่ได้แจ้ง หารือถึงความเหมาะสมในการจัดงานครับ
 
ด้าน นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์และนักเทววิทยา โพสต์คลิปเหตุการณ์ดังกล่าวพร้อมข้อความว่า กรมศิลปากรไม่รู้ ไม่เห็น ไม่มีใครบอก คนทำมันสารเลวได้โล่

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พัฒนาแหล่งโบราณคดีโคราช สู่หมุดหมายระดับโลก

จังหวัดนครราชสีมาเป็นเมืองมรดกโลกที่คนทั่วโลกรู้จักจากผืนป่าดงพญาเย็นเขาใหญ่  ถิ่นโคราชยังมีความโดดเด่นทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม มีแหล่งโบราณคดีเป็นวัตถุดิบชั้นดีใน

ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค สุดวิจิตรประณีตศิลป์ไทย

เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  มีกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติทั่วประเทศไทย งานพระราชพิธีสำคัญที่จะเกิดขึ้นการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน พุทธศักราช 2567 ณ วัดอรุณราชวรารามฯ

อันตราย! ทุนต่างชาติรุกเขมือบค้าไม้เถื่อน

หน่วยเฉพาะกิจพญาเสือ ติดตามไม้มีค่าจากแหล่งซุกซ่อน บุกรวบผู้ต้องหาค้าไม้เถื่อนคาโรงงาน ส่งดำเนินคดีอย่างเฉียบขาด ขยายผลเอาผิดทุนต่างชาติ

ซ่อมเรือพระราชพิธีใกล้เสร็จ

21 มิ.ย. 2567 - เวลา 9.15  น. นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ตรวจเยี่ยมการซ่อมแซมและตกแต่งเรือพระราชพิธี ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี และเยี่ยมชมการฝึกซ้อมฝีพาย ณ แผนกเรือราชพิธี กองเรือเล็ก กรมการขนส่งทหารเรือ กองทัพเรือ เ

วันนี้ 'วันครีษมายัน' กลางวันยาวสุดของปี พระอาทิตย์อยู่บนท้องฟ้าเกือบ 13 ชม.

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) แจ้งว่า ในวันที่ 21 มิถุนายน 2567 เป็น “วันครีษมายัน”

สหรัฐเตรียมส่งคืนเสาสลักหินทราย'ปราสาทพนมรุ้ง'กลับไทย

18 มิ.ย.2567 - นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า สถาบันศิลปะแห่งนครชิคาโก (The Art Institute of Chicago) สหรัฐอเมริกา แจ้งความประสงค์ส่งคืนโบราณวัตถุให้กับกรมศิลปากร จำนวน 1 รายการ ได้แก่ ชิ้นส่วนเสาติดผนังสลักจากหินทรายรูปพระกฤษณะยกเขาโควรรธนะ