ชาวเลเกาะหลีเป๊ะนับร้อยชุมชุมค้านนายทุนปิดเส้นทางไป ร.ร.แต่ไร้วี่แววข้าราชการสนใจ โลกโซเชียลรณรงค์หยุดเที่ยวจนกว่าธุรกิจหยุดคุกคามชาวบ้าน พล.อ.สุรินทร์แฉเบื้องหลังเอกสารสิทธิบนโกงกินกันมโหฬาร จี้นายอำเภอเร่งสาง ชาวบ้านร้อง กสม.
28 พฤศจิกายน 2565 - นายชาริฟ หาญทะเล ชาวเล-อูรักลาโว้ยเกาะหลีเป๊ะ จ.สตูล เปิดเผยว่า ตั้งแต่ช่วงเช้าเป็นต้นมาชาวเลกว่า 100 คน ได้รวมตัวเพื่อคัดค้านการปิดทางเข้า-ออกที่เดินไปสู่โรงเรียนบ้านเกาะอาดังโดยนายทุนกำลังกั้นรั้วเหล็กและทำเป็นประตูปิดตายและให้ผ่านเฉพาะผ่านบางคน ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนและออกมาร่วมคัดค้านเป็นวันที่สอง แต่จนถึงบัดนี้ยังไม่มีหน่วยงานราชการเข้ามาดูแล
“ผู้ใหญ่บ้านก็ไม่มา ทุกหน่วยงานแม้แต่ตำรวจที่เราไปแจ้งความแทบทุกวัน เขาก็ไม่มา อ้างว่าไม่มีอำนาจในการระงับเหตุการณ์เช่นนี้ อุทยานฯก็ไม่มา เราอยากร้องเรียนไปยังผู้บริหารประเทศเพราะตรงนี้เป็นเส้นทางหลักในพิธีลอยเรือ คนเจ็บป่วยไปอนามัยหรือเด็กๆก็ใช้เส้นทางนี้ไปโรงรียน เส้นทางนี้เป็นเส้นเดียวลงหาดบริเวณอื่นเป็นตกเป็นของรีสอร์ทและนายทุนหมดแล้ว เราไม่อยากให้เขาปิด อยากให้เขารื้อถอนรั้วเหล็กออก อยากให้มีการพิสูจน์สิทธิให้เสร็จสิ้น ตั้งแต่ผมเกิดมาก็ใช้เส้นทางนี้เข้าออกกลางเกาะไปหาดต่างๆ ปู่ย่าตายายใช้มานานกว่า 200 ปี”นายชาริฟ กล่าว
นายชาริฟกล่าวว่า เส้นทางที่ถูกปิดนี้เป็นทางเดินของชุมชน แต่คนที่อ้างเป็นเจ้าของที่ดินคนแรกบอกเป็นที่ของเขาแล้วนำไปขายต่อ ชาวบ้านไม่รู้ไม่เห็นเลยว่าพวกเขาซื้อขายกันตอนไหน และไม่เคยมีการนำเอกสารสิทธิมาให้ชาวบ้านดู ตอนนี้ทุกคนลำบากมากเพราะอยู่อย่างหวาดระแวงกลัวถูกทำร้ายร่างกายเพราะเขามีอิทธิพลและไม่รู้ว่าเขาจะปิดกั้นไม่ให้เข้าออกเลยตอนไหน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างการชุมนุมชาวบ้านได้เขียนป้ายด้วยข้อความต่างๆ เช่น เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีเข้ามาแก้ไขปัญหา ขณะที่เด็กๆถือป้าย “อย่าปิดเส้นทางไปโรงเรียนของหนู” ขณะเดียวกันได้มีกระแสในโซเชียลที่รณรงค์ให้หยุดเที่ยวเกาะหลีเป๊ะจนกว่าธุรกิจท่องเที่ยวหยุดคุกคามคนดั้งเดิม
ทั้งนี้ชาวบ้านได้ทำหนังสือร้องเรียนไปยังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อขอให้แก้ไขปัญหาการปิดกั้นเส้นทางสัญจรสาธารณะชุมชนเกาะหลีเป๊ะ โดยระบุว่าด้วยชาวเลอูรักลาโว้ยเกาะหลีเป๊ะ ได้รับความความเดือดร้อนอย่างรุนแรงจากกรณีการซื้อขายที่ดิน ของผู้ที่ครอบครองเอกสารนส.3 เลขที่ 11 นางดารา อังโชติพันธุ์ ได้ทําการขายที่ดินในแปลงดังกล่าวให้กับ นายคมศักดิ์ เอี่ยวเหล็ก ซึ่งพยายามเข้าครอบครองที่ดินที่เป็นบ้านชาวบ้านโดยฟ้องร้องเป็นคดีความ
ในหนังสือร้องเรียนระบุว่า เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 เวลา15.00 น. นายคมศักดิ์ได้ให้ลูกน้องมาเชื่อมเหล็กปิดกั้น เส้นทางสัญจรที่เป็นทางดั้งเดิมที่มีมาตั้งแต่ประมาณปีพ.ศ.2452เป็นต้นมาโดยชาวเลใช้เป็นเส้นทางสัญจรในการให้นักเรียนเดินเข้าโรงเรียน สัญจรเข้าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนเกาะหลีเป๊ะ ทางสัญจรเข้าสุสาน ชุมชนชาวเล และเป็นทางเดินของนักท่องเที่ยวที่มาเกาะหลีเป๊ะ ทําให้นักเรียน ชุมชน และ นักท่องเที่ยวรับผลกระทบโดยต้องปีนรั้วเพื่อสัญจรซึ่งเป็นภาพลักษณ์ที่เสื่อมเสียของจังหวัดสตูลและ ประเทศไทยอย่างมาก
“ชาวเลอูรักลาโว้ยเกาะหลีเป๊ะมีความเดือดร้อนที่สุดจึงขอให้ท่านเร่งดําเนินการประสานหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน พวกเราเกิดและอาศัยที่เกาะหลีเป๊ะมาอย่างช้านาน ได้ ใช้ประโยชน์ที่แห่งนี้อย่างยาวนานมากกว่า 113 ปี การกระทําเช่นนี้ส่งผลให้ชุมชนตลอดจนนักท่องเที่ยวผู้ร่วมใช้เส้นทางสาธารณะจํานวน 2,000 คน ได้รับความเดือดร้อนอย่างยิ่งเพราะไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข”ชาวบ้านระบุไว้ในหนังสือร้องเรียน
พลเอกสุรินทร์ พิกุลทอง อดีตประธานคณะกรรมการชาวเล สำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่า สมัยที่ยังดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการชุดดังกล่าว ได้ลงพื้นที่และประชุมตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยชาวเลกลุ่มนี้ในสมัยในหลวงรัชกาลที่ 5 ได้ย้ายมาจากเกาะลันตาและที่อื่นๆอีก 2 เกาะและพวกเขาอยู่กันอย่างชอบธรรมเพียงแต่ไม่ได้แจ้งการครอบครองสิทธิ จนกระทั่งปี 2517 ได้มีการประกาศเขตอุทยานฯทับพื้นที่หวงห้ามโดยหลักการแล้วชาวเลยังมีสิทธิเพียงแต่ไม่มีเอกสาร ต่อมาได้มีคนแจ้งครอบครองออกเอกสาร สค.1 และกลายเป็น นส.3 แต่ที่ดินบางแปลงกลับบวมขยายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆโดยเฉพาะที่ดินของนางดาราซึ่งแจ้งว่ามีคนอยู่ไม่กี่รายแต่ข้อเท็จจริงคือมีชาวเลอยู่ในพื้นที่นั้นมากกว่าที่แจ้ง
“เสียดายที่ผมต้องออกจากตำแหน่งก่อน แต่ทำประเด็นนี้ใกล้เสร็จแล้ว เพียงแต่ไม่มีใครทำต่อ จริงๆแล้วควรตรวจสอบให้ชัดเจนว่าตอน ออก สค.1 มีกี่ไร่ ออกเป็น นส.3 กี่ไร่ หากตรงไหนบวมหรือบานก็ให้เพิกถอนเพื่อนำที่ดินนั้นไปให้ชาวเลที่เดือดร้อนได้อยู่ต่อ ปัญหาคือมันมีการโกงกินกันเป็นระบบ ออกเอกสารสิทธิอะไรไปราชการต้องรู้ ที่ตรวจสอบเรื่องนี้ผมไม่ได้ทะเลาะกับชาวเล แต่ทะเลาะกับข้าราชการชั่ว เพราะเป็นไปได้อย่างไรปล่อยให้พื้นที่บานในเอกสารสิทธิเรื่อยๆ ควรยกเลิก นส. 3 ”พลเอกสุรินทร์ กล่าว
เมื่อถามว่าควรแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างไรเพราะทั้งสองฝ่ายกำลังเผชิญหน้ากัน พลเอกสุรินทร์ กล่าวว่าเรื่องนี้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอต้องเป็นคนกลางเข้าไปดูแล โดยเฉพาะเรื่องทางเดินและลำคลองสาธารณะ เพราะเอกสารสิทธิที่ออกไว้ทับคูคลองหมด ทำให้เกิดน้ำท่วมกลางเกาะหลีเป๊ะ
“หากผู้ที่อ้างว่าเป็นเจ้าของที่ดินปิดเส้นทางไปโรงเรียน ควรต้องฟ้องศาลบังคับให้เปิดทันทีเพราะออกเอกสารสิทธิผิดมาตั้งแต่ต้น หน่วยงานราชการควรทำหน้าที่ของตัวเอง ไม่ใช่อะไรผิดก็ปล่อยให้ผิดไปเรื่อยๆ”พลเอกสุรินทร์ กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'สนธิญา' ยื่น 'กสม.' สอบ 'ทักษิณ' ละเมิดสิทธิ์ หานักร้องเป็นหมา
ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) นายสนธิญา สวัสดี เดินทางยื่นหนังสือ พร้อมหลักฐานภาพข่าวการหาเสียงนายก องค์การ
เปิดฉบับเต็ม! รายงานกสม. มัดเรือนจำพิเศษกรุงเทพ-รพ.ตำรวจ เลือกปฏิบัติช่วยทักษิณ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน รายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน เรื่อง "การเลือกปฏิบัติและสิทธิของผู้ต้องขัง กรณีร้องเรียนว่า นายทักษิณ ชินวัตร ได้รับสิทธิรักษาพยาบาลดีกว่าผู้ต้องขังรายอื่น" กรณีผู้ร้อง(ปกปิดชื่อ) ผู้ถูกร้อง เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ที่ 1โรงพยาบาลตำรวจที่ 2
เกิดแผ่นดินไหวตอนเหนือของหมู่เกาะสุมาตรา ห่างจากจังหวัดสตูล 553 กม.
กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว รายงานเกิดสถานการณ์แผ่นดินไหวตอนเหนือของหมู่เกาะสุมาตรา
กสม.แถลงค้าน ปิดศูนย์เรียนรู้เด็กข้ามชาติ ชี้สถานศึกษาในพื้นที่ ยังไม่มีความพร้อม
ตามที่สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุราษฎร์ธานีประกาศปิดศูนย์การเรียนมิตตาเย๊ะ บางกุ้ง ตำบลบางกุ้ง อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
'ทวี' ขึงขัง! สั่ง 'กรมคุก' ตามดู 'นช.ทักษิณ' รักษาตัวชั้น 14 ละเมิดสิทธิผู้ต้องขังภาพรวมหรือไม่
ที่ทำเนียบรัฐบาล พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม กล่าวถึงกรณีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ส่งเรื่องให้
เอาแล้ว! ป.ป.ช.รับข้อมูล กสม. พิจารณา ปมเอื้อ ‘ทักษิณ’ รักษาตัวชั้น 14
เรื่องนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบ ข้อเท็จจริงรวบรวมพยานหลักฐานของคณะทำงานไต่สวนที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและทบทวนพยานหลักฐาน ซึ่งสุดตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (กสม.) ส่งรายงานการพิจารณาของกสม.มาให้ป.ป.ช.เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา