ไทยเจ๋ง! มข. เปิดตัวแบตเตอรี่จากแร่เกลือหิน 'โซเดียมไอออน' ครั้งแรกในอาเซียน

ม.ขอนแก่น เปิดตัว แบตเตอรี่ โซเดียมไอออนจากแร่เกลือหินในประเทศไทย ครั้งแรกในอาเซียน รองรับการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน และอุตสาหกรรมแบตเตอรีในอนาคต

15 พ.ย.2565 - ที่อาคารสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือ มข. รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมด้วย ดร. ธีรวุธ ตันนุกิจ ผู้แทนอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ร่วมเปิดตัวแบตเตอรี่ชนิดโซเดียมไอออนจากแร่เกลือหินในประเทศไทย ภายใต้โครงการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ชนิดโซเดียมไอออนจากแหล่งแร่เกลือหินเพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมศักยภาพ ซึ่ง มข.ร่วมกับกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ทำการวิจัยและทำการผลิตจนนำมาสู่การใช้งานได้จริง โดยมีนักวิชาการและผู้ที่สนใจในกลุ่มธุรกิจพลังงานทดแทน ร่วมเป้นสักขีพยานและชมผลงานวิจัยดังกล่าวกันอย่างคับคั่ง

รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า การพัฒนาแบตเตอรี่ชนิดโซเดียมไอออนจากแหล่งแร่เกลือหิน ซึ่งเป็นแบตเตอรี่ชนิดโซเดียมมไอออนต้นแบบซึ่งผลิตได้เป็นที่แรกในประเทศไทย และที่แรกในระดับภูมิภาคอาเซียน โดยทำการที่โรงงานแบตเตอรี่และพลังงานยุคใหม่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทั้งนี้โครงการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ชนิดโซเดียมไอออนจากแหล่งแร่เกลือหินเพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมศักยภาพ ถือเป็นกลไกลสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตวัตถุดิบให้สามารถผลิตวัตถุดิบคุณภาพสูง รองรับอุตสาหกรรมแบตเตอรี่แห่งอนาคต โดย มีสถานประกอบการในโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมการผลิตแบตเตอรี่ แห่งอนาคนแบบครบวงจรเข้าร่วมงานด้วย ไม่ว่าจะเป็นสถานประกอบการในระดับต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ประกอบด้วยโครงการเหมืองแร่โพแทช บริษัท ไทยคาลิ จำกัด และ บริษัท อาเซียนโปแตชชัยภูมิ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน รวมทั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าบริษัท วี.ซี.เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ผู้ผลิตและจำน่ายจักรยายนยนต์ไฟฟ้า บริษัท เอ็นเซิร์ฟ โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท อินโนวาแพค จำกัด บริษัท ทีแอนด์ที ไมโครโมบิล จำกัดเข้าร่วมชมผลงานด้วย


"ทีมนักวิจัย มข. ประสบความสำเร็จในการพัฒนาศึกษาวิจัยและทดลองแบตเตอรี่ชนิดโซเดียมไอออนจากแหล่งแร่เกลือหินในประเทศไทย เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ทางเลือกโดยการใช้วัตถุดิบที่มีภายในประเทศทดแทนแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออน ทั้งนี้ได้ดำเนินการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ทางเลือกในระดับเซลล์จากโรงงานแบตเตอรี่และพลังงานยุคใหม่ จนออกมาเป็นผลิตต้นแบบ (Prototype) และนำไปทดลองใช้งานจริงในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ใหม่ และระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System: ESS) ที่จะเป็นแบตเตอรี่สำหรับจักรยานไฟฟ้า แบตเตอรี่สำรองสำหรับระบบโซลล่าเซลล์ และ ไฟส่องสว่าง อย่างไรก็ตามจากความสำเร็จเหล่านี้ ส่งผลอุตสาหกรรมไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายหลักคือ อุตสาหกรรมการผลิตแบตเตอรี่แห่งอนาคตจากวัตถุดิบที่มีในประเทศ"

ขณะที่ ดร. ธีรวุธ ตันนุกิจ ผู้แทนอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กล่าวว่า ภาคอีสานเป็นแหล่งแร่สำรองที่มีปริมาณมหาศาลมาก ที่ทำให้ทุนสนับสนุนมหาวิทยาลัยขอนแก่นเพราะเล็งเห็นว่าโซเดียมไอออนแบตเตอรี่มีศักยภาพที่จะมาเป็นแบตเตอรี่ทางเลือกเพื่อจะทดแทนลิเทียมไอออนแบตเตอรี่เพราะต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ 100% ปีงบประมาณหน้าทาง มข. จากทำแบตเตอรี่โซเดียมไอออนให้มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมเพื่อที่จะมาเทียบกับแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนและตอนนี้ได้นำไปใช้กับ อีไบรท์หรือจักรยานยนต์ต้นแบบที่ใช้พลังงานจากโซเดียมไอออนซึ่งเป็นความสำเร็จจากโครงการครั้งนี้และเป้าหมายต้องการจะสร้างอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ครบวงจร ในส่วนตัวเกลือหินหรือเกลือสินเธาว์กิโลกรัมละไม่กี่บาทแต่พอมาทำเป็นตัววัตถุดิบตั้งต้นแบตเตอรี่โซเดียมไอออนตัวนี้จะยกระดับมูลค่าทางเศรษฐกิจแร่ตัวนี้อย่างมากในอนาคต และจะทำการต่อยอดให้เป็นอุตสาหกรรมต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง