ภาคปชช.ด้ามขวาน ยื่นหนังสือร้อง 'บิ๊กตู่' ยุติสร้างเขื่อนกันคลื่น รับประชุมครม.กระบี่

วอนเคารพสิทธิการพัฒนาของคนใต้ ยุติโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่น ภาคประชาชนด้ามขวานยื่นหนังสือถึง "บิ๊กตู่" รับประชุม ครม.สัญจร จ.กระบี่

15 พ.ย.2564 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่จังหวัดกระบี่ในวันที่ 16 พฤศจิกายน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และบรรดารัฐมนตรีต่างลงพื้นที่ ขณะเดียวกันที่บริเวณสำนักงานธนารักษ์พื้นที่กระบี่ ประชาชนภาคใต้กลุ่มต่าง อาทิ สภาประชาชนภาคใต้ เครือข่ายประชาชนภาคใต้ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งอย่างยั่งยืน ได้เดินทางมารวมตัวกันเพื่อยื่นหนังสือ 2 ฉบับ ถึงนายกรัฐมนตรี โดยมีนายเสกสกล อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักรัฐมนตรี เป็นตัวแทนในการรับหนังสือ

ทั้งนี้ในหนังสือฉบับแรกที่ส่งถึงพล.อ.ประยุทธ์ เป็นเรื่องขอให้เคารพสิทธิการพัฒนาของประชาชนในพื้นที่ภาคใต้เรื่อง โดยระบุว่าการพัฒนาใดๆที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ ประชาชนต้องมีส่วนร่วมสำคัญในการรับรู้และกำหนดทิศทางหรือรูปแบบการพัฒนานั้นด้วย บนพื้นฐานของสิทธิการพัฒนาบนฐานศักยภาพของภาคใต้ และต้องคำนึงถึงความมั่นคงยั่งยืนของฐานทรัพยากร สังคมวิถีวัฒนธรรม และมีข้อเสนอประกอบด้วย 1.รัฐบาลต้องยอมรับ “สิทธิและการเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาประเทศ” ของประชาชน ที่ไม่ใช่แค่ผู้รอการพัฒนาที่รัฐหยิบยื่นให้เท่านั้น แต่ประชาชนต้องมีสิทธิและมีส่วนร่วมในการพัฒนาในทุกระดับ

2.รัฐบาลต้องปฏิรูปกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) ให้เป็นองค์กรที่มีความก้าวหน้าทันสมัย เพื่อสร้างสังคมแนวใหม่ให้ปรากกฎ มิใช่มุ่งแค่การทำงานเชิงสงเคราะห์ จนลืมหลักการในการการพัฒนาสังคมที่ต้องสร้างความมั่นคงของมนุษย์ ที่จะต้องมีความเข้มแข็งและสามารถจัดการแก้ไขปัญหาของตนเองได้

3.รัฐบาลต้องส่งเสริมและสร้างกลไกให้ภาคประชาชนได้มีส่วนร่วมสำคัญในการจัดการและออกแบบการแก้ไขปัญหาผลกระทบที่เกิดจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ช่วงที่ผ่านมาในทุกมิติ  โดยเฉพาะการฟื้นฟูด้านอาชีพ เศรษฐกิจชุมชน และการเข้าถึงแหล่งผลิตอาหารในท้องถิ่น โดยต้องปรับระบบงบประมาณและกองทุนเงินกู้ให้สอดคล้องตามแนวทาง

4.รัฐบาลต้องเร่งทบทวนโครงการต่างๆที่กำลังส่งผลกระทบในพื้นที่ภาคใต้ อย่างเช่น โครงการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลภาคใต้ ,โครงการเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคตอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ,โครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลอำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช 

5.รัฐบาลต้องสร้างกลไกร่วมระหว่างภาครัฐ(ฝ่ายการเมืองและข้าราชการ) กับภาคประชาชน และภาคีพัฒนาอื่นๆ ในระดับภาค เพื่อเป็นกลไกในการพัฒนาและแก้ปัญหาเชิงรุก โดยให้นำสาระสำคัญของข้อเสนอเบื้องต้นทั้งหมดไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้เกิดเป็นรูปธรรม

ส่วนหนังสืออีก 1 ฉบับเป็นเรื่องข้อเสนอของภาคประชาชนต่อการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างยั่งยืน โดยมีเนื้อหาระบุว่า จากสถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่งทะเลในประเทศไทยที่ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างเนื่อง สาเหตุหลักมาจากการแทรกแซงกระบวนการทางธรรมชาติของหาดทราย ด้วยโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเล และ การแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ที่ไม่คำนึงถึงระบบธรรมชาติของทะเล ส่งผลให้หาดทรายเกิดการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรงต่อเนื่อง เมื่อพิจารณาแล้ว ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่กล่าวมานั้น มีต้นตอของปัญหาจากการดำเนินนโยบายของภาครัฐในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง โดยมีปัญหาเชิงนโยบายที่เห็นได้อย่างประจักษ์ชัดเจน โดยเฉพาะการเพิกถอนกำแพงกันคลื่นออกจากโครงการที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) ทำให้เกิดการระบาดของกำแพงกันคลื่นในหลายพื้นที่ชายหาด

ในหนังสือร้องเรียนระบุว่า จากข้อมูลที่มีการรวบรวมมาพบว่า ตั้งแต่ปี 2556 – 2562 หลังการเพิกถอนกำแพงกันคลื่นออกจากโครงการที่ต้องทำ EIA มีโครงการกำแพงกันคลื่นทั้งหมด 74 โครงการ ระยะทางรวม 34.875 กิโลเมตรตลอดแนวชายฝั่ง งบประมาณรวม 6,967,853,620 บาท เครือข่ายประชาชนภาคใต้ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งอย่างยั่งยืน มีความเห็นร่วมกันว่า เพื่อการฟื้นฟู แก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลของประเทศไทยอย่างยั่งยืน รัฐบาลควรต้องเร่งดำเนินการให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำโครงการหรือกิจการประเภทกำแพงกันคลื่น กลับเข้าไปเป็นโครงการที่ต้องจัดทำ EIA และ ให้กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระงับการดำเนินการโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ชายหาดทั่วประเทศไทย ที่กำลังมีการดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน เพื่อป้องการทำลายชายหาดด้วยโครงสร้างป้องกันชายฝั่งของรัฐ และไม่ให้เกิดการใช้งบประมาณอย่างฟุ่มเฟือย โดยรัฐบาลต้องส่งเสริม และผลักดันให้มีการใช้มาตรการที่เป็นมิตรกับชายหาด เช่น การเติมทราย การกำหนดแนวถอยร่น การรื้อถอนโครงสร้างป้องกันชายฝั่งที่ไม่จำเป็น และการป้องกันการกัดเซาะตามวิถีภูมิปัญญาดั้งเดิม

“รัฐบาลต้องสนับสนุนให้ประชาชนและชุมชนชายฝั่งสามารถกำหนดเจตจำนงของตนเอง ในการใช้ประโยชน์ทรัพยากรชายหาดอย่างสมดุลและยั่งยืน รวมทั้งการส่งเสริมให้ความรู้และรับรองสิทธิชุมชน กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการจัดการ ใช้ประโยชน์ และบำรุงรักษาทรัพยากรชายหาด รัฐบาลควรเร่งตั้งคณะกรรมการศึกษาสภาพปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง เพื่อรวบรวมการใช้ประโยชน์ และจำแนกประเภทการกัดเซาะชายฝั่ง รวมทั้งการการศึกษาหาแนวทางที่เหมาะสมในการป้องกัน แก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างยั่งยืน”ในหนังสือระบุ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ระอุ สนามอบจ.อุบลฯ เร่งสอบร้องเรียน 3 เรื่อง

'แสวง' เผย 'เลือกตั้ง อบจ.อุบลฯ' มีคนร้องเรียน 3 เรื่อง กรณีคนมาช่วยหาเสียง บอก อยู่ระหว่างตรวจสอบ คาดราบรื่น หากคะแแนนไม่สูสี 4 ทุ่มคืนนี้ รู้ผล

ชาวบาบ๋าอันดามันเตรียมฉลอง 'เคบายา' ขึ้นทะเบียนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้

ในเวทีประชุมองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) จะมีการประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลเพื่อการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ครั้งที่ 19 ในวันที่ 3 ธ.ค.นี้ ณ นครอซุนซิออน ประเทศปารากวัย หรือตรงวันที่ 4 ธ.ค.นี้ ของไทย

ประกาศพื้นที่สุขภาวะต้นแบบ 'ควนแลเล' จ.กระบี่ ลดปัจจัยเสี่ยงต่อยอดสู่เมืองสปา

อิมเมจิน ไทยแลนด์ รวมพลังเครือข่าย ประกาศพื้นที่สุขภาวะต้นแบบ “ควนแลเล” ต.คลองพน มุ่งลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ ต่อยอดสู่ “เมืองสปา” แหล่งท่องเที่ยวประจำ จ.กระบี่

ชงม.152สกัดม็อบ ‘นพดล’ ชูใช้สภา ถกปม ‘MOU44’ นายกฯ วอนสนธิ

"นายกฯ อิ๊งค์" วอนอย่าก่อม็อบ หวั่นกระทบท่องเที่ยว บอก “สนธิ” ยื่นหนังสือต้องเป็นตามกระบวนการ ลั่นเกิดแผ่นดินไทยไม่มีทางเห็นประเทศไหนดีกว่า “นพดล” ชงใช้มาตรา 152