4 พ.ย. 2565 – ผู้สื่อข่าวจังหวัดยะลารายงานว่า ช่วงค่ำของวันที่ 3 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ร.ต.อ.สิทธิพงศ์ เหมกุสุมา นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ยะรม ได้มอบหมายให้นายแวดอยะ มะลี รองนายก อบต.ยะรม นายราซิดี แดบ๊อก เลขานุการนายก อบต.ยะรม พร้อมเจ้าหน้าที่กองช่าง และงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อบต.ยะรม เข้าตรวจสอบความเดือดร้อนจากอุทกภัย ในพื้นที่หมู่ที่ 3 จำนวน 2 จุด บริเวณใกล้ รพ.สต.บ้านยะรม และหลังมินิมาร์ท และในพื้นที่หมู่ที่ 8 จำนวน 2 จุด บริเวณหลังสนามบินเบตง และข้างโรงอิฐ บ้านบูเก๊ะดาราเซ หลังจากมีฝนตกหนักในช่วงเย็น
ร.ต.อ.สิทธิพงศ์ กล่าวว่า ได้ประสานในการบูรณาการหน่วยงานพลเรือน เครือข่ายอาสาสมัคร ประชาชนจิตอาสา เตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องจักรกลสาธารณภัย ให้พร้อมในการให้ความช่วยเหลือ และบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประขาชน ตลอด 24 ชั่วโมง และขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนัก ถึงหนักมาก ซึ่งอาจทําให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก และดินถล่มลงมาได้
ส่วนในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองเบตง นายสกุล เล็งลัคน์กุล นายกเทศมนตรีเมืองเบตง พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เจ้าหน้าที่กองช่าง และเจ้าหน้าที่งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลเมืองเบตง ลงพื้นที่ช่วยเหลือชาวบ้าน กาแป๊ะ กม.3 ที่ได้รับผลกระทบจากดินสไลด์ไหลลงมาจากเนินเขา และต้นไม้ล้มกีดขวางการจราจร ริมถนนสุขยางค์ ซึ่งเป็นเส้นทางไปด่านพรมแดนเบตง ส่งผลให้ผู้ใช้เส้นทางดังกล่าวได้รับความเดือดร้อน เจ้าหน้าที่ได้เร่งเคลียร์พื้นที่ถนน ตัดต้นไม้ออก พร้อมฉีดน้ำทำความสะอาดจนกลับใช้ถนนได้ตามปกติแล้ว
ด้านกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้ติดตามสภาพอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 4 – 5 พฤศจิกายน 2565 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนล่างเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศมาเลเซีย ทำให้ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีพื้นที่ต้องเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากภาคใต้ ช่วงวันที่ 4 – 6 พฤศจิกายน 2565 ได้แก่
1.จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อำเภอท่าฉาง กาญจนดิษฐ์ ดอนสัก เกาะสมุย และเกาะพะงัน) 2.จังหวัดนครศรีธรรมราช (อำเภอขนอม เมืองนครศรีธรรมราช สิชล จุฬาภรณ์ ท่าศาลา นบพิตำ พระพรหม เชียรใหญ่ เฉลิมพระเกียรติ ชะอวด หัวไทร และปากพนัง) 3.จังหวัดพัทลุง (อำเภอเมืองพัทลุง กงหรา ป่าบอน ศรีบรรพต บางแก้ว และเขาชัยสน) 4.จังหวัดสงขลา (อำเภอหาดใหญ่ กระแสสินธุ์ ระโนด สะเดา สทิงพระ สะบ้าย้อย และสิงหนคร) 5.จังหวัดยะลา (อำเภอยะหา และเบตง) 6.จังหวัดปัตตานี (อำเภอสายบุรี) 7.จังหวัดนราธิวาส (อำเภอจะแนะ ยี่งอ ระแงะ สุไหงปาดี).
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 3 เตือนฝนถล่มภาคใต้ คลื่นลมอ่าวไทย-อันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ฉบับที่ 3 (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567)
โฆษกศปช. เผยกรณี 'น้ำผุด' อ.เชียงดาว มอบหน่วยงานลงพื้นที่ศึกษาแนวทางใช้ประโยชน์
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ตามที่ ศปช. ได้เคยประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้เฝ้าระวังฝนตกหนักในพื้นที่ระหว่างวันที่ 20-24 พ.ย.ไปแล้วก่อนหน้านี้
ด้ามขวานป่วน! วางเพลิง-เผากล้องซีซีทีวี 'ยะลา-ปัตตานี'
คนร้ายพ้นสีสเปรย์สีแดง "PATANI MERDEKA" ป้ายโรงเรียนบ้านเตาปูน (ธนาคารกรุงเทพ 16) พร้อมเผากล้องวงจรปิดอีกหลายจุดในพื้นที่ จ.ยะลา
คนกรุงร้องเพลงรอลมหนาวต่อ 'ภาคใต้' เจอมรสุมฝนถล่มหนัก
กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าในลักษณะทั่วไป
'ยะลา' คุมเข้ม 24 ชม. ระวังคาร์บอมบ์ หลังสายข่าวเตือนมีป่วนช่วง 15-30 พ.ย.
พ.ต.อ.จิรวัฒน์ ดูดิง ผกก.สภ.เบตงได้อำนวยการสั่งการให้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ เพิ่มมาตรการเข้ม หลังมีการแจ้งเตือน ระหว่างวันที่ 15 – 30 พ.ย. 67 ให้เฝ้าระวั
พยากรณ์ 10 วันล่วงหน้า ตั้งแต่ 18 พ.ย. อากาศเริ่มเย็นลงอีกครั้ง
กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 15 -24 พ.ย. 67