29 ต.ค.2565 - เวลา 11.00 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ผอ.ศรชล.) ได้มอบหมายให้ พล.ร.อ.เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) ในฐานะ รองผู้อำนวยการ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (รอง ผอ.ศรชล.) เดินทางมาปฏิบัติหน้าที่แทนในการต้อนรับ เรือสเปคตรัม ออฟ เดอะ ซีส์ (Spectrum of the seas) เป็นเรือสำราญสัญชาติอมริกาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่ให้บริการในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีจุดทิ้งสมอ ณ อ่าวป่าตอง อำเภอกะทู้จังหวัดภูเก็ต และขึ้นฝั่งที่ ท่าเทียบเรือ Patong Jetty Docking Service หาดป่าตอง อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต
การต้อนรับอย่างเป็นทางการในส่วนของฝ่ายไทย ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูงจากส่วนกลาง นำโดย พล.ร.อ.เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผบ.ทร./รอง ผอ.ศรชล. และผู้บริหารระดับสูงของ จังหวัดภูเก็ต นำโดย นายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ผู้แทนส่วนราชการ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตและเขตจังหวัดชายทะเลอันดามัน และผู้แทนหน่วยงานในสังกัด ศรชล. ทั้ง 7 หน่วยงาน ประกอบด้วย กองทัพเรือ กรมประมง กรมเจ้าท่า กรมศุลกากร กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กองบังคับการตำรวจน้ำ และกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน ร่วมให้การต้อนรับอย่างเป็นทางการ ในการเดินทางมาประเทศไทยของเรือ Spectrum of the seas โดยมี ผู้บังคับการเรือ Spectrum of the seas และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของบริษัท Royal Caribbean International รอให้การต้อนรับบนเรือ ดังนี้
1. Captain Wu Hui Min - Captain, Spectrum of the Seas
2. Angie Stephen - Vice President, Royal Caribbean International-Asia
Pacific
3. Wendy Sze Yin Yamazaki - Assistant Vice President Government
Relations, Asia
4. James Ngui - Senior Manager, Port Operations-Southeast Asia
5. Martina Konickova - Manager, Destination Development Asia Pacific
การต้อนรับเรือสำราญขนาดใหญ่ในวันนี้(29 ต.ค.)เพื่อสร้างความประทับใจ แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยได้เห็นความสำคัญของทางเรือเป็นอย่างมาก และสร้างความมั่นใจให้กับทางเรือในทุกด้าน และ ประชาสัมพันธ์ ถึงการเดินทางเข้ามาของเรือสำราญ Spectrum of the seas สู่ประเทศไทย ให้ผู้ประกอบการกิจการต่าง ๆ รวมถึงองค์กร ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่จะต้อง Creative ตัวเองเพื่อรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมากับเรือสำราญ ช่วยกันผลักดันให้มีเรือสำราญลำอื่น ๆ เข้ามาสู่ประเทศไทย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้ง เป็นการสร้างโอกาสอันดีที่ผู้บริหารระดับสูงของทั้งฝ่ายไทย และฝ่ายเรือ ได้หารือถึงแนวทางการพัฒนาร่วมกันในการกระตุ้นเศรษฐกิจ และดึงดูดเรือสำราญบริษัทอื่น ๆ ให้เดินทางเข้ามาสู่ประเทศไทย
เรือสำราญ "Spectrum of the seas" มีขนาด 169.379 ตัน ความยาว 347 เมตร ความกว้าง 49.24 เมตร สามารถรองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 4,905 คน มีห้องพักมากถึง 2,100 ห้อง มีความเร็วในการเดินทาง 22 น็อต (ไมล์ต่อชั่วโมง) นับเป็นเรือสำราญขนาดใหญ่ ชั้นควอนตัม อัลตรา ลำแรกที่แล่นผ่านเข้ามาท่องเที่ยวทางทะเลฝั่งอันดามัน และทิ้งสมอจุดหมายปลายทางที่อ่าวป่าตอง จังหวัดภูเก็ต เป็นเรือสัญชาติอเมริกัน ภายใต้บริษัท รอยัล คาริเบียน อินเทอร์เนชันแนล (Royal Caribbean International) สร้างขึ้นโดยอู่ต่อเรือเมเยอร์ เวิร์ฟ ในประเทศเยอรมนี เริ่มให้บริการอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกตั้งแต่เดือนเมษายน 2562 เป็นต้นมา
พลเรือโท อาภากร อยู่คงแก้ว ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3/ผู้อำนวยการศรชล.ภาค 3 กล่าวว่า หลังสถานการณ์โควิด-19 เรือสำราญขนาดใหญ่ในจังหวัดภูเก็ตได้หายไป ปัจจุบันเริ่มมีความหวังมีชีวิตชีวามากขึ้น โดย ก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 สถิติการเดินทางเข้ามาทางน้ำของนักท่องเที่ยวโดยเรือสำราญ ในปี 2562 ของจังหวัดภูเก็ต จำนวน 154 ลำ คนประจำเรือพร้อมผู้โดยสาร รวม 485,598 คน โดยที่แต่ละคนจะใช้จ่ายในการท่องเที่ยวประมาณคนละ 6,000 บาท คิดเป็นเงิน 2.9 พันล้านบาทเศษ (ข้อมูลจากการท่องเที่ยวและกีฬา) ซึ่งจะเห็นว่าเป็นเม็ดเงินจำนวนมหาศาล
ในช่วงที่เรือมาจอดแวะที่จังหวัดภูเก็ต ครั้งนี้ คาดว่าเม็ดเงินเข้าภูเก็ต ครั้งละไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาท โดยจะเข้ามาสัปดาห์ละ 1 ครั้ง จนถึงสิ้นปี 2565 ฝั่งอันดามันจะเริ่มจากภูเก็ตโดยตอนนี้มีเรือที่เข้าภูเก็ต
ทุกสัปดาห์จะมีเรือจากบริษัท Royal Caribbean International เริ่ม ตุลาคม 2565 คือเรือ spectrum of the seas ที่กําลังมาร่วมงาน โดยเดือน ต.ค.65 เข้า สัปดาห์ละ 1 ลํา และ เพิ่มเป็น สัปดาห์ละ2 ลำ ตั้งแต่ พ.ย.65 และ เรือจากบริษัทที่ 2 คือ บริษัท Genting Cruise เริ่ม ลําแรกใน พฤศจิกายน 2565 และกำลังจะพัฒนาไปสู่การวางกำหนดการเข้ามาทั้งปี สัปดาห์ละ 1 ลําเป็นอย่างน้อย
ดังนั้น ถ้าหากทุกภาคส่วนร่วมแรงร่วมใจกัน สร้างบรรยากาศการท่องเที่ยวที่สวยงาม สร้างความมั่นใจให้กับบริษัทเรือสำราญว่าจะได้รับการบริการที่ดี สร้างความมั่นใจในด้านความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว หวังว่า บรรยากาศการท่องเที่ยวด้วยเรือสำราญและสถิติต่าง ๆ จะกลับมาเทียบเท่าในปี 2562 อย่างแน่นอน
ทั้งนี้ หลังจากวันที่ 29 ตุลาคม 2565 ศรชล.ภาค 3 ยังคงดำรงบทบาทตามที่กำหนดในขั้นตอนมาตรฐานสำหรับการรับเรือสำราญขนาดใหญ่ หรือ SOP for Cruise Ship ที่จะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวไทยทางฝั่งทะเลอันดามัน เพื่อบูรณาการการปฏิบัติของทุกภาคส่วนภายใต้แนวทางเดียวกันในการสร้างความมั่นใจต่อความปลอดภัยการท่องเที่ยวไทย อีกทั้งยังมีบทบาทในการดูแลในเรื่องของความปลอดภัยทางน้ำตลอดเวลาที่เรือสำราญอยู่ในน่านน้ำไทยฝั่งอันดามัน โดยทาง ศรชล.ภาค 3 มีศูนย์ปฏิบัติการอยู่ที่ เกาะภูเก็ต ที่จะคอยช่วยเหลือนักท่องเที่ยวทางทะเลตลอด 24 ชั่วโมง โดยแจ้งผ่านสายด่วน 1465
ทางด้าน นายณชพงศ ประนิตย์ ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค สาขาภูเก็ต กล่าวว่า นักท่องเที่ยวเดินทางมากับเรือทั้งหมด 4,487คน 52 สัญชาติ เดินทางลงจากเรือ Spectrum of the seas จำนวน 3,732 คนแบ่งเป็น กรุ๊ปทัวร์ 750 คน ส่วนตัว 2,982 คน ที่เหลืออยู่บนเรือฯ ประมาณ 760 คน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ทร. เตรียมจัดเสวนาเรื่องเส้นเขตแดนทางทะเล ปม MOU 44 หวังสื่อสารให้สังคมเข้าใจ
พล.ร.อ.จิรพล ว่องวิทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) กล่าวภายหลังทำพิธีวันสถาปนากองทัพเรือ ครบรอบ 118 ปี เมื่อถามว่า อดีต ผบ.ทร. ได้ฝากถึงกรณี MOU 44
อเมริโก เวสปุชชี เรือสำเภาในตำนานจอดเทียบท่าที่ภูเก็ต กระชับความสัมพันธ์ไทย-อิตาลี
เรือสำเภาอันทรงเกียรติสัญชาติอิตาลีที่ได้ชื่อว่าสวยที่สุดในโลก อเมริโก เวสปุชชี (Amerigo Vespucci) เข้าจอดเทียบท่าที่ภูเก็ตเป็นครั้งแรกระหว่างวันที่ 6-10 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา โดย
ฝากถาม ‘บิ๊กอ้วน’ ถ้าเรือท่องเที่ยวเขมร ชูแผนที่MOU จอดเกาะกูดเอาคนมาเล่นน้ำ จะให้ทหารเรือปฏิบัติอย่างไร
ฝากทหารเรือถาม รมต.กลาโหม กรณีถ้าเรือท่องเที่ยวปักธงเขมร ชูแผนที่ MOU4 ที่มีลายเซ็นฝ่ายไทยเซ็นกำกับรับรอง
รวบแล้ว 9 หนุ่มนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษ ซิ่งป่วนเมืองภูเก็ต
สภ.ฉลอง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2567 เวลา 01.04 น. มีพลเมืองดีได้แจ้ง ศูนย์ 191 มีชายชาวต่างชาติรวมกลุ่มรถประมาทหวาดเสียว
ศรชล.-ทรภ.3 ร่วมดูแลเรือใบอิตาลี สวยที่สุด อายุเก่าแก่ เทียบท่าเรือน้ำลึกภูเก็ต
ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 3 (ศรชล.ภาค3) เปิดเผยว่า พลเรือโทสุวัจ ดอนสกุล ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 (ผบ.ทรภ.3)/ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 3 (ผอ.ศรชล.ภาค 3)