3 ต.ค. 2565 – ที่ จ.ชัยนาท สำนักงานชลประทานที่ 12 ได้เพิ่มการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาขึ้นอีก จาก 2,586 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เป็น 2,643 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่งผลให้ระดับน้ำท้ายเขื่อนที่ อ.สรรพยา สูงขึ้น 11 เซนติเมตร อยู่ที่ระดับ 16.23 เมตร (รทก.) และได้ปรับเพิ่มการผันน้ำเข้าระบบชลประทานด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ตามแผนบริหารจัดการน้ำ ที่กรมชลประทาน จะใช้ระบบชลประทานด้านเหนือเขื่อน ในการเร่งระบายน้ำเหนือ
โดยได้เพิ่มระบายน้ำ ที่ประตูระบายน้ำพลเทพ อ.วัดสิงห์ เข้าแม่น้ำท่าจีน จาก 35 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เป็น 50 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และเพิ่มระบายน้ำที่ประตูระบายน้ำบรมธาตุ อ.เมืองชัยนาท เข้าแม่น้ำน้อย จาก 120 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เป็น 150 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที รวมปริมาณน้ำผันเข้าระบบชลประทานสองฝั่งเจ้าพระยา 335 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่วนปริมาณน้ำที่ไหลผ่านสถานีวัดน้ำ C2 จ.นครสวรรค์ วันนี้มีปริมาณ 2,775 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 80 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที น้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท มีปริมาณ 2,978 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับน้ำเหนือเขื่อนอยู่ที่ 17.20 เมตร(รทก) สูงขึ้นจากวานนี้ (2 ต.ค.) 2 เซนติเมตร
และในวันนี้ เวลา 10.45 น. พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) จะเดินทางลงพื้นที่ไปตรวจราชการและติดตามการดำเนินการโครงการด้านทรัพยากรน้ำ และสรุปการดำเนินการของศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคกลาง ที่เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท จากนั้นจะเดินทางไปติดตามสถานการณ์น้ำท่วมที่ จ.พระนครศรีอยุธยา
ขณะที่ สถานการณ์น้ำท่วมใน อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ขยายวงกว้างมากขึ้น โดยพื้นที่ด้านฝั่งตะวันตก น้ำได้ล้นตลิ่งเข้าท่วม หมู่ 4 หมู่ 5 ต.โพนางดำตก บ้านเรือนกว่า 100 หลังคาเรือน ถูกน้ำท่วมสูง 50 เซนติเมตร ไปจนถึงกว่า 1 เมตร ชาวบ้านต้องใช้เรือสัญจร หลายครอบครัวต้องอพยพหนีน้ำออกไปอาศัยอยู่ริมถนนทางหลวงหมายเลข 311 น้ำยังล้นตลิ่งท่วมขึ้นไปบนถนนทางหลวง 311 ช่วงโค้งบางเสวย ประมาณ 200 เมตร เจ้าหน้าที่แขวงทางหลวงชัยนาท ได้นำกรวยจราจร ป้ายเตือน พร้อมสัญญาณไฟกระพริบ ไปติดตั้งเพื่ออำนวยความปลอดภัยให้กับชาวบ้านไปตั้งเต็นท์อยู่ริมถนน และเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ทางสัญจร
นายมนตรี สวนทอง ชาวบ้าน ม.5 ต.โพนางดำตก เล่าว่า น้ำเข้าบ้านมาตอนกลางดึก ชาวบ้านหลับกันหมดแล้ว ตอนแรกคิดว่าน้ำยังไม่ท่วม เพราะเห็นน้ำยังอยู่ต่ำกว่าตลิ่ง 1 ศอก ตั้งใจว่าตื่นเช้ามาจะเก็บของ แต่ก็ไม่ทัน น้ำขึ้นเร็วมาก ทะลักเข้าท่วมหมู่บ้านตอนตี 2 ชาวบ้านเก็บข้าวของกันแทบไม่ทัน ตอนนี้ตู้เย็น เครื่องสูบน้ำ เตาแก๊ส ตู้กับข้าว ของตนก็ยังจมอยู่ในน้ำ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โฆษกศปช. เผยกรณี 'น้ำผุด' อ.เชียงดาว มอบหน่วยงานลงพื้นที่ศึกษาแนวทางใช้ประโยชน์
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ตามที่ ศปช. ได้เคยประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้เฝ้าระวังฝนตกหนักในพื้นที่ระหว่างวันที่ 20-24 พ.ย.ไปแล้วก่อนหน้านี้
'ลุงป้อม' ร่วมลอยกระทง อวยพรคนไทย สุขสมหวัง สิ่งใดไม่ดีขอให้หลุดพ้น
พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ร่วมกับ นายสันติ พร้อมพัฒน์ พล.อ. กฤษณ์โยธิน ศศิพัฒนวงษ์ พล.ต.ท ปิยะ
พยากรณ์ 10 วันล่วงหน้า ตั้งแต่ 18 พ.ย. อากาศเริ่มเย็นลงอีกครั้ง
กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 15 -24 พ.ย. 67
กรมอุตฯ ประกาศเตือนพายุ 'โทราจี' ฉบับสุดท้าย
นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุ “โทราจี” ฉบับที่ 10 โดยมีใจความว่า