คณะแพทยศาสตร์ มช. ห่วงโควิด-19 ระบาดหนัก นำทีมบุคลากร รพ.มหาราชฯ ออกมาตรการเชิงรุก นำร่องโครงการ Home Isolation ยอมรับเริ่มหนักเตียงแน่นผู้ป่วยเพิ่มทุกวัน
10 พ.ย.2564 - โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ยังพร้อมรับสถานการณ์ โควิด-19 รับดูแลผู้ป่วยระบบในหอผู้ป่วยโควิด ICU หอผู้ป่วย Cohort Ward และโรงพยาบาลสนามในความดูแล พร้อมนำทีมแพทย์ทำงานเชิงรุก นำร่อง Home Isolation ควบคู่กับการเร่งรณรงค์ให้ชาวเชียงใหม่เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้ครบ 100 %โดยเร็ว
โดยศาสตราจารย์เชี่ยวชาญพิเศษ นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า สถานการณ์โควิด-19 ในจังหวัดเชียงใหม่ในขณะนี้ยังไม่น่าไว้วางใจ มีการแพร่ระบาดเพิ่มอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ให้ความเป็นห่วง โดยเฉพาะการดูแลผู้ป่วยอาการหนัก และอัตราการครองเตียงในภาพรวมของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งสิ่งที่จะช่วยลดสถานการณ์ได้ส่วนหนึ่งคือความร่วมมือในการเฝ้าระวังของประชาชนและการรับวัคซีนครบ 100 % โดยภายในเดือนพฤศจิกายนนี้จะมีวัคซีนเข้ามาในจังหวัดเชียงใหม่อีก 7 แสนโดส เพื่อให้ชาวเชียงใหม่ได้ฉีดวัคซีนครบทั้ง 100 % ซึ่งจะช่วยให้วิกฤตโควิดคลี่คลายได้ในระยะยาว มีผลให้จำนวนผู้ป่วยหนักจะลดลง และโอกาสที่ทำให้สถานการณ์ในจังหวัดเชียงใหม่ดีขึ้นในระยะเวลารวดเร็วด้วย
ด้าน ผศ.นพ.นเรนทร์ โชติรสนิรมิต ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ กล่าวถึงภารกิจรับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับโควิด-19 ที่ รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ ขณะนี้ว่า มีหลายภารกิจ ทั้งคลินิกตรวจผู้ป่วยที่เข้าข่ายป็นโรคโควิด ซึ่งเป็นส่วนที่ดูแลการตรวจเชิงรุก หรือใช้ตรวจติดตาม โดยเป็นการตรวจ swab จมูก ซึ่งให้บริการในภาคประชาชน และบุคคลที่มีความเสี่ยง ภารกิจสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ การเตรียมพร้อมบริหารจัดการเตียงและดูแลผู้ป่วยติดเชื้อฯ เคสอาการหนัก (สีส้มและสีแดง) โดยสถานการณ์ขณะนี้ถือว่ากำลังอยู่ในช่วงวิกฤต เตียงที่ใช้รองรับผู้ป่วยหนัก เริ่มไม่เพียงพอแล้ว เนื่องจากแนวโน้มผู้ป่วยหนักเริ่มมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นทุกวันตามจำนวนของผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเวลานี้ ในส่วนของโรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ ล่าสุดเตียงที่รับผู้ป่วยเต็มทั้ง 10 เตียง โดยเป็นคนไข้หนักกลุ่มสีแดงทั้งหมด ตึกนิมมานเหมินท์-ชุติมา (ตึกโรคปอด) มีทั้งหมด 11 เตียง ขณะนี้เต็มเช่นเดียวกัน ส่วนโรงพยาบาลสงฆ์ แห่งโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ มี 24 เตียง ขณะนี้ว่างเพียง 2 เตียง ซึ่งทั้งหมดนี้อยู่ในความดูแลของ รพ.มหาราชฯกำลังเข้าระดับวิกฤตของเตียง
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เผยอีกว่า ขณะนี้โรงพยาบาลฯ ได้นำทีมแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ จัดทำโครงการ Home Isolation เพื่อดูแลผู้ป่วยติดเชื้อโควิดอีกทางหนึ่ง โดยหลักการสำคัญคือ การแยกกักตัวผู้ติดเชื้อฯ และรักษาที่บ้าน
"ขณะนี้คณะแพทยศาสตร์ มช. ได้เริ่มทำ Home Isolation โดยดำเนินการรับผิดชอบในเขตอำเภอเมือง เพราะเป็นพื้นที่ในเขตการรักษาพยาบาลของ รพ.มหาราช โดยรับผู้ป่วยติดเชื้อ Covid-19 ผู้ป่วยที่ไม่สามารถทำ Home Isolation คือผู้สูงอายุ(อายุมากกว่า 60 ปี) ผู้ที่ป่วยด้วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง เพราะมีความเสี่ยงสูง
สำหรับโครงการ Home Isolation ผู้ป่วยที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ดูแลจะเป็นผู้ป่วยที่พำนักในเขตอำเภอเมือง จ.เชียงใหม่ ไม่มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรค ซึ่งประกอบด้วย โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โดยมีอาการไม่รุนแรง และมีสมาร์ทโฟน (หรือมีผู้อื่นในบ้านที่มีสมาร์ทโฟน) สามารถเข้าระบบดูแลที่บ้านได้ (Home Isolation) โดยเมื่อพบว่าตัวเองป่วยจากโควิด-19 ให้แจ้ง Call Center ของ รพ. มหาราชนครเชียงใหม่ หมายเลข 053-934678 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีช่องทางการประสานผ่าน call center ของ สปสช. ที่หมายเลข 1330 ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลโดยทีมแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้ป่วยจะได้รับปรอทวัดไข้ และเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วมือ ยาฟาวิพิราเวียร์ สำหรับรักษาการติดเชื้อโควิด-19 และยาพื้นฐานอื่นๆ เพื่อช่วยบรรเทาอาการ ผู้ป่วยต้องวัดและส่งข้อมูลผลการวัดอุณหภูมิในร่างกาย ระดับความอิ่มตัวของ ออกซิเจน ชีพจร เข้ามาผ่านระบบ application ข้อมูลจะส่งเข้ามาที่ศูนย์บัญชาการ ทีมแพทย์ผู้รักษาประเมินอาการจากผลการตรวจวัดที่ได้รับ หากพบอาการผิดปกติ จะได้รับการประเมินอาการด้วย Chat , VDO call และโทรศัพท์ติดตามอาการ โดยขณะทำการรักษาแบบ Home Isolation ผู้ป่วยจะได้รับอาหาร 3 มื้อ (ส่งโดยไรเดอร์) หากมีอาการเปลี่ยนแปลงที่บ่งชี้ว่าติดเชื้อลงปอด จะทำการประเมินประสานส่งต่อเข้ารับการรักษาตัว เมื่อรักษาตัวครบ 10 วัน ก็จะสามารถออกจากการดูแลตัวเองที่บ้าน และใช้ชีวิตตามปกติได้ ซึ่งโครงการ Home Isolation ของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ดังกล่าว จะสามารถเป็นโครงการแบบอย่างให้หน่วยงานอื่น ทั้งภาครัฐและเอกชน นำไปเป็นแนวทางการจัดทำมาตรการ Home Isolation ของจังหวัดเชียงใหม่ในระยะต่อไป.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เปิดโปรแกรมทัวร์ 'ครม.สัญจรอิ๊งค์' นัดแรกที่เมืองเหนือ
เปิดโปรแกรม 'ครม.สัญจรอิ๊งค์' นัดแรก จัดที่แม่ริม เชียงใหม่ 29 พ.ย. ก่อนถก 'คลังสัญจร' เชียงราย ฟื้นฟูพื้นที่เศรษฐกิจ พร้อมพบประชาชน
'หมอยง' เผยสถาการณ์โควิดเปลี่ยนไปมากคำแนะนำก็ต้องเปลี่ยนตาม
ศ.นพ.ยง ภู่รวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก
'ดอยอินทนนท์' ต่ำสุด 10 องศา อุ่นขึ้นเล็กน้อย ชมความงาม หยดน้ำค้างบนยอดหญ้า
เพจเฟซบุ๊ก "อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่" โพสต์ภาพพร้อมข้อความว่า ดอยอินทนนท์อุ่นขึ้นเล็กน้อย แต่ยังคงอากาศหนาว
เปิดข้อมูล ‘ไวรัสโควิด’ สร้างได้ในห้องทดลอง มีจดสิทธิบัตรตั้งแต่ปี 2018
การสร้างไวรัสใหม่ชนิดนี้จะสามารถครอบคลุมไวรัสที่จะแพร่และเกิดโรคระบาดในมนุษย์ได้ทั้งสิ้น และสามารถที่จะสร้างวัคซีนให้มนุษย์ก่อนได้
ชมความสวยงามน้ำค้างแข็งเกาะใบหญ้าขาวโพลน บนยอดดอยอินทนนท์ อุณหภูมิต่ำสุด 10 องศา
บรรยากาศเช้านี้ บนยอดดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ อุณหภูมิต่ำสุด 10 องศา อยู่ในเกณฑ์อากาศหนาว โดยเช้านี้ก็ยังได้ชมความสวยงามของหยดน้ำค้าง
ประสบการณ์เฉียดตายของดารารุ่นใหญ่ ‘อัล ปาชิโน’
โควิด-19 เกือบคร่าชีวิตของเขา - อัล ปาชิโน นักแสดงชาวอเมริกัน ล้มป่วยหนักเมื่อปี 2020 หนักมากจนเขาแทบเอาชีวิตไม่รอด