เปิดอาชีพเสี่ยงตาย! เลี้ยงต่อหัวเสือ คว้ารายได้งาม

สุดระทึก ! ชาวบ้านนครพนมเลี้ยง “ต่อหัวเสือ” อาชีพเสี่ยงตาย  สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ รังตัวต่อลูกค้ากว้านซื้อ เชื่อเป็นเครื่องรางของขลัง

11 ก.ย.2565 – ผู้สื่อข่าวได้รายงานจากจังหวัดนครพนม ในช่วงนี้ถือว่าเป็นโอกาสทองของชาวบ้านในพื้นที่ อ.ปลาปาก,อ.นาแก และ อ.วังยาง ที่มีอาชีพสุดเสี่ยงในการเลี้ยงต่อหัวเสือ เพื่อสร้างรายได้ แต่ถือเป็นอาชีพจากภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่มีการสืบทอดจากอดีตจวบถึงปัจจุบัน และยังเป็นอาชีพเสี่ยงตายที่สามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ เฉลี่ยปีละนับแสนบาทต่อครอบครัว เพราะเป็นเมนูหายาก และเป็นที่ต้องการของตลาด โดยเฉพาะสายเปิบพิสดาร นำขึ้นโต๊ะเป็นเมนูเด็ดอีสาน อาทิ ก้อยลูกต่อ,แกงตัวต่อ,หมกตัวต่อ,ยำลูกต่อหัวเสือ และอีกสารพัดเมนู ยิ่งช่วงไหนหายาก โดยห้วงอากาศแล้ง จะส่งผลให้รังต่อหายาก จึงมีราคาถีบตัวสูงขึ้น ปีนี้ตกราคากิโลกรัมละประมาณ 2,000 บาท 

โดยชาวบ้านจะเริ่มเลี้ยงตัวต่อหัวเสือตอนต้นฤดูฝน คือราวเดือน มิถุนายนของทุกปี ใช้วิธีปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติประมาณ 3-4 เดือน จะสามารถเก็บผลผลิตออกสู่ท้องตลาด นำมาปรุงเป็นเมนูเด็ด ซึ่งตัวต่อหัวเสือจะให้ผลผลิตมากสุดราวหลังออกพรรษา ปีนี้ก็ประมาณเดือนตุลาคม และเป็นช่วงสุดท้ายในการเก็บผลผลิต ผู้เลี้ยงบางรายสามารถสร้างรายได้ปีละนับแสนบาท

ทั้งนี้ชาวบ้านอาชีพเสี่ยงต่อเลี้ยงต่อหัวเสือ ให้มีการพัฒนาต่อยอดจากภูมิปัญญาชาวบ้านที่เก็บผลผลิต จากเดิมใช้วิธีการเผารังต่อ แต่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ จึงได้คิดค้นประดิษฐ์ชุดล้วงรังต่อ ที่มีความปลอดภัยสูง ในการล้วงรังต่อ เพื่อลดการสูญพันธุ์แทนการเผาด้วยไฟหรือรมควัน ทำให้สามารถเก็บผลผลิตเพิ่มขึ้นได้รังละ 2-3 รอบ

โดยผลผลิตตัวต่อนอกจากจะขายแม่ตัวต่อและลูกต่อหัวเสือ ยังสามารถขายต่อยกทั้งรัง เพราะมีบางคนมีความเชื่อ ไปทำเป็นเครื่องรางของขลัง นำไปประดับแขวนไว้หน้าบ้าน ร้านค้า ร้านอาหาร เชื่อกันว่าเป็นการต่อเงิน ต่อทอง ต่อยอดลูกค้า โดยขายได้ถึงรังละ 3,000-5,000 บาท แล้วแต่รูปแบบความสวยงามของรังต่อ

ด้าน นายบัญชา ศรีชาหลวง นายก อบต.พิมาน อ.นาแก จ.นครพนม เปิดเผยว่า พื้นที่ ต.พิมานถือเป็นอีกหมู่บ้านที่ตนเองและชาวบ้าน ได้นำอาชีพภูมิปัญญาชาวบ้าน มาพัฒนาต่อยอด ส่งเสริมการเลี้ยงต่อหัวเสือสร้างรายได้เสริมในช่วงฤดูฝน และนำผลผลิตลูกต่อส่งขายในช่วงใกล้งานประเพณีออกพรรษา ราวเดือนกันยายน-ตุลาคม เป็นฤดูกาลที่ต่อให้ผลลิตมากสุด ถือเป็นอาชีพภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่สร้างรายได้ดีเป็นอย่างมาก ปัจจุบันมีราคาตกกิโลกรัมละ 2,000 บาท ปีไหนหายากยิ่งมีราคาแพง

นายบัญชา ระบุว่า ซึ่งชาวบ้านจะใช้ความชำนาญ ในการล่าตัวหัวเสือตามป่าทุ่งไร่ทุ่งนาที่ทำรังตามธรรมชาติ ด้วยการนำเหยื่อประเภท เนื้อสัตว์ แมลงไปล่อ แล้วตามไปหารังต่อ ก่อนเคลื่อนย้ายมารักษาไว้ตามหัวไร่ปลายนาในที่ปลอดภัย ใช้เวลาเลี้ยงแบบธรรมชาติ ประมาณ 4-5 เดือน ก่อนเก็บผลลิตขาย เดิมใช้วิธีรมควัน แต่พัฒนาคิดค้นชุดล้วงรังต่อ เพื่อป้องกันต่อสูญพันธุ์ และเก็บผลผลิตได้หลายครั้ง บางรังสามารถเก็บผลผลิตได้ 2-3  ครั้ง หากรมควันจะได้เพียงครั้งเดียว บางรายสามารถหารังต่อได้เยอะ ก็สร้างรายได้ 50,000-1 แสนบาทต่อปี

นายบัญชา กล่าวว่า ส่วนเมนูเด็ดชาวบ้าน จะนำไปปรุงเป็นก้อยลูกต่อ คั่วต่อหัวเสือ หมกต่อ แกงต่อ ยำลูกต่อ สารพัดเมนู ถือเป็นเมนูเด็ดที่หากินยาก 1 ปีมีครั้งเดียว จึงทำให้มีราคาแพง นอกจากนี้ลูกค้าบางรายมีการสั่งซื้อยกรัง เพื่อนำรังที่แม่ต่อทิ้งรังร้าง ไปทำเป็นเครื่องรางของขลังตามความเชื่อ ขายได้ราคาสูงตกรังละ 3,000-5,000 บาท ส่วนการดูแลจะต้องมีความชำนาญ และต้องเลี้ยงในที่ปลอดภัย เพราะต่อหัวเสือถือเป็นแมลงที่มีพิษร้ายแรง หากถูกรุมต่อยจำนวนมากอาจอันตรายถึงชีวิต จึงต้องมีความชำนาญในการเลี้ยงดูแล ผู้คิดจะเลี้ยงต้องศึกษาวิธีให้ดีก่อน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หนังเค็มอีสาน ดังไกลข้ามโลก เมืองนอกสั่งออเดอร์ โกยเดือนละแสน

หนังเค็มผลิตมาจากหนังควาย คือการถนอมอาหารตามแบบภูมิปัญญาชาวอีสาน มาหลายชั่วอายุคน เหมือนเป็นมรดกสืบทอดวัฒนธรรมการกิน ส่งจากรุ่นสู่รุ่นถึงปัจจุบัน โดยชาวอีสานมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย รวมถึงอาหารก็จะกินอย่างง่ายๆ และเพื่อให้สอดคล้องกับธรรมชาติ ชาวอีสานจึงรู้จักแสวงหาอาหารในท้องถิ่น

แก๊งยาเสพติดข้ามชาติ ยัดผงขาว-ไอซ์ มูลค่ากว่า 100 ล้าน ในองค์พระพุทธรูป

ที่หน้ากองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 237 กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 23 (ร้อย ตชด.237 กก.ตชด.23) พล.ต.ฉัฐชัย มีชั้นช่วง ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 210 (มทบ.210) และ  รองผู้บัญชาการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด

'นครพนม' ขานรับ 'ธวัชบุรีโมเดล' นำร่อง อ.ศรีสงคราม เส้นทางโจรลำเลียงยาบ้าเข้าตอนใน

พล.ท.บุญสิน พาดกลาง แม่ทัพภาคที่ 2 (มทภ.2) ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 2 (ผอ.กอ.รมน.2) ผู้บัญชาการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด สารตั้งต้น และเคมีภัณฑ์ชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 24 (ผบ.นบ.ยส.24)

ตม.นครพนม คุมเข้มสกัด 'แก๊งสแกมเมอร์ทิพย์' ปมเจ๊อ้อยโอนเงิน 39 ล้าน

กรณี ตำรวจกองปราบปราม กองบังคับการ 3 ร่วมกับชุดสืบสวนของกองกำกับการ 5 ตำรวจทางหลวง นำกำลังเข้าสกัดจับกุม ทนายตั้ม-นายษิทรา เบี้ยบังเกิด อายุ 43 ปี ในคดีหลอกลวงเงิน น.ส.จตุพร อุบลเลิศ หรือ เจ๊อ้อย ตามหมายจับศาลอาญา

พี่สาวร่ำไห้ตามหา 'ครูวี' เจอมรสุมชีวิตทับถม ชิงลาออกไปเป็นกรรมกรก่อสร้าง

กรณีมีข่าวลือหนาหูว่ามีครูชำนาญการพิเศษ ลาออกไปเป็นกรรมกรก่อสร้างในกรุงเทพฯ หลังประสบมรสุมชีวิตอย่างเดียวดาย และล้มป่วยสารพัดโรค ก่อนจะตัดสินใจลาออก เพื่อรับเงินบำเหน็จ นำไปใช้หนี้เงินกู้

แจงดราม่า! งานตักบาตรพระ 1 พันรูป ปล่อยนั่งตากแดด โยนออแกไนซ์รับผิด

จังหวัดนครพนม ได้รายงานข้อเท็จจริง กรณีงาน "มหาบุญแห่งศรัทธานครพนม" โดยตามที่ปรากฏข่าวบนสื่อสังคมออนไลน์ ประเด็น "ทัวร์ลงยับ นิมนต์พระ 1 พันรูป ปล่อยนั่งตากแดด" เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมานั้น