ยึดเนื้อหมูแช่แข็ง 8 พันกิโลกรัม ลักลอบนำเข้า ส่งกระจายร้านอาหารทั่วอีสาน

7 ก.ย.2565 - ที่สำนักงานศุลกากรภาคที่ 2 อ.เมือง จ.หนองคาย นายพร้อมชาย สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรภาคที่ 2, นายกรณ์ชัย ปัญญาวัฒนพงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมทางศุลกากรพื้นที่ภาคที่ 2 พร้อมเจ้าหน้าที่ศุลกากร ได้ร่วมกันแถลงข่าวการตรวจยึดเนื้อสุกรแช่แข็ง ลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักร จำนวนรวม 8,000 กิโลกรัม มูลค่ากว่า 1.6 ล้านบาท พร้อมรถกระบะ 2 คัน

นายพร้อมชาย สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรภาคที่ 2 กล่าวว่า ฝ่ายสืบสวนและปราบปราม ส่วนควบคุมทางศุลกากร สำนักงานศุลกากรภาคที่ 2 นำโดยนายชนินทร์ ศุภรินทร์ ผู้อำนวยการส่วนควบคุมทางศุลกากร สำนักงานศุลกากรภาคที่ 2 และนายเรวัตน์ บางพา หัวหน้าฝ่ายสืบสวนและปราบปราม ร่วมกับหน่วยสืบสวนปราบปรามประจำพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ทำการลงพื้นที่สืบสวนติดตามการลักลอบนำเข้าและจำหน่ายเนื้อสุกรลักลอบในพื้นที่ภาคอีสานอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งวันที่ 7 ก.ย.65 ได้ทำการตรวจสอบรถยนต์กระบะบรรทุกเสริมคอกเป้าหมาย 2 คัน บริเวณตำบลขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม โดยพบว่ามีการซุกซ่อนเนื้อสุกรแช่แข็ง กำเนิดต่างประเทศ ลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักร จำนวน 8,000 ก.ก. มูลค่ากว่า 1.6 ล้านบาท จากการสอบสวนคนขับรถยนต์กระบะทั้งสองคันให้การว่า ได้รับการว่าจ้างให้ขับรถยนต์บรรทุกเนื้อสุกรดังกล่าว มาส่งลูกค้าปลายทางที่ จ.มหาสารคาม โดยเนื้อสุกรดังกล่าวนี้ถูกลักลอบนำเข้ามาตามแนวตะเข็บชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน ก่อนจะนำไปกระจายตามร้านอาหารในพื้นที่ต่าง ๆ

การลักลอบนำเข้าเนื้อสุกรแช่แข็ง เป็นการช่วยซ่อนเร้น จำหน่าย ซื้อเนื้อสุกร ลักลอบนำเข้าจากต่างประเทศนั้น เป็นความผิดตามมาตรา 246 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับเป็นเงิน 4 เท่าของราคาของรวมค่าอากรหรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 ประกอบ พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 เจ้าหน้าที่จึงได้ยึดของกลางทั้งหมด พร้อมทั้งควบคุมผู้ต้องหาส่งสำนักงานศุลกากรภาคที่ 2 เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป โดยเนื้อสุกรจากต่างประเทศนั้นประเทศไทยไม่อนุญาตให้มีการนำเข้าเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ASF และหลายประเทศยังมีการใช้สารเร่งเนื้อแดงที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค รวมถึงเป็นการปกป้องเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรภายในประเทศด้วย.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'จิราพร-จุลพันธ์' ลงพื้นที่ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมหนองคาย ย้ำรัฐบาลเร่งเยียวยาให้เร็วที่สุด

นางสาวจิราพร สินธุไพร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นำคณะผู้บริหารกรมประชาสัมพันธ์ กรมศุลกากร ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ลงพื้นที่ จ.หนองคาย

'นฤมล' รอประเมินตัวเลขเสียหายน้ำท่วมพื้นที่เกษตรกรรม เบื้องต้นคาด 3 พันล้าน

นางนฤมล​ ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์​ เปิดเผยถึงการเยียวยาพื้นที่การเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย​ว่า​ ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการประเมินกับเลขาฯ

AIS และ กสทช. ร่วมส่งกำลังใจ พร้อมดูแลเครือข่ายและเน็ตบ้านในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย หนองคายและภาคอีสานเต็มที่ในทุกมิติ เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารได้อย่างต่อเนื่อง

จากสถานการณ์ฝนตกหนักต่อเนื่อง และปริมาณแม่น้ำโขงหนุนสูง ล้นตลิ่ง ทำให้เกิดน้ำท่วม ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก ในหลายอำเภอของจังหวัดหนองคาย